5 ส.ค. 2020 เวลา 14:54 • ประวัติศาสตร์
MovieTalk มูฟวี่ตะลอน:
ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา ตอนที่ ๔
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดนิทรรศการเฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
ในปี ๒๕๖๓ ได้นำฟิล์มกระจกชุดถัดไปมาจัดแสดงในนิทรรศการชุด “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา”
โดยนิทรรศการในครั้งนี้ ผู้ชมจะเสมือนหนึ่งได้ร่วมเดินทางไปในการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างสงบ ผ่อนคลาย และเป็นส่วนพระองค์ แม้ในท้ายนที่สุดการเสด็จประพาสต่าง ๆ จะจบลงด้วยเหตุการณ์ชวนสลด อันเป็นสัญญาณสะท้อนความเปลี่ยนนแปลงที่เกิดขึ้นในสยามเวลานั้น
ผู้ชมจะได้ร่วมเดินทางไปกับบ้านเมือง เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๗ ซึ่งเคลื่อนผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน
นิทรรศการได้จัดแบ่งเป็น ๔ ช่วงเวลา ได้แก่
ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว Travels of King Chulalongkorn
 
ทุติยบรรพ สยามอันสุขสงบในรอยต่อของกาลเวลา Calm Interlude in Siam
ตติยบรรพ ตะวันออกบรรจบตะวันตก East Meets West
และ
จุตตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า Moving Forwoard
โดย มูฟวี่ตะลอนจะนำเสนอจนครบทุกภาพในนิทรรศการนี้ พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เพื่อน ๆ ที่ไม่สามารถเดินทางมาชมนิทรรศการด้วยตนเอง ได้มีโอกาสร่วมดื่มด่ำ และเก็บบรรยากาศความงามแห่งสยามในวันวารได้อย่างครบถ้วน โดยจะนำเสนอแบ่งเป็นตอนตามลำดับช่วงเวลาครับ
สำหรับบทความนี้จะเป็นตอนที่ ๔ ตอนสุดท้ายของซีรีย์ส
จุตตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า Moving Forwoard
ความตื่นเต้นดูราวจะอบอวลในอากาศเมื่อสยามก้าวเร่งรุดไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง หัวรถจักรไอน้ำพาเราเดินทางจากบางกอกไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ตามทางรถไฟที่เริ่มแผ่ขยายออกไปจากพระนคร
กิจการรถไฟแรกมีในสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์โดยเชื่อมโยงระบบและเส้นทางทั้งหมดให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน
การสร้างทางรถไฟนี้สะท้อนอิทธิพลของตะวันตกทั้งในเชิงภาพและแนวคิดอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนจากการนำเข้าวัสุดและวิทยาการจากตะวันตกเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ การสร้างทางรถไฟเป็นประจักษ์พยานของสำนึกเรื่อง “รัฐชาติ” อันเป็นแนวคิดจากตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อชนชั้นปกครองของเอเชียในสมัยนั้น ในอันที่จะเชื่อมหัวเมืองใหญ่น้อยเข้ากับเมืองหลวงอันเป็นศูนย์กลาง เพื่อเสริมสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์ ทั้งในเชิงวัฒนธรรมและการบริหารบ้านเมือง สยามประเทศจึงเริ่มกลายเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ขยายออกจากพระนคร
ท่ามกลางสารพัดความทันสมัยและความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งมวล ชาวสายามก็ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป คร่ำเคร่งกับเอกสารต่าง ๆ ในที่ทำงาน แล้วก็ไปพักผ่อนหย่อนใจด้วยการชมภาพยนตร์ฝรั่งที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย
การตกแต่งภายในสถานที่ทำการ หรือสำนักงานขนาดใหญ่ เห็นอุปกรณ์สมัยใหม่ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด โคมไฟฟ้า และพัดลมเพดาน
ภายในสถานที่ทำการหรือสำนักงานช่วงประมาณรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายในสถานที่ทำการหรือสำนักงาน เห็นตู้เหล็ก ๔ ลิ้นชัก สำหรับเก็บเอกสาร ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายในสถานที่ทำการหรือสำนักงาน เห็นตู้เหล็กสำหรับเก็บเอกสาร ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การขนส่งพัสดุไปรษณีย์ที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ ๕ รองเมือง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบริเวณสถานีกรุงเทพฯ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง
หุ่นจำลองศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเฉลิมกรุงสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ แล้วเสร็จและเปิดฉายภาพยนตร์เป็นครั้งแรก วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๖
ศาลาเฉลิมกรุง ด้านแยกถนนตรีเพชรตัดกับถนนเจริญกรุง ระหว่างการก่อสร้าง
ศาลาเฉลิมกรุงบริเวณแยกถนนตรีเพชรตัดกับถนนเจริญกรุง เมื่อเปิดให้บริการ ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
บริเวณโถงทางเข้าชั้นล่าง ศาลาเฉลิมกรุง มีป้ายโฆษณาภาพยนตร์เรื่องทาร์ซาน ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ขณะบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒ - ๒๔๒๔
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมสุวันทนา (พระอิสริยยศในเวลานั้น) เสด็จทอดพระเนตรวัดมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๖๗
กำแพงเมืองนครราชสีมา และประตูชุมพล สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถ่ายคราวสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจโบราณวัตถุสถาน มณฑลนครราชสีมา พ.ศ.๒๔๗๒
(บน) ปรางค์น้อยในบริเวณปราสาทพนมรุ้ง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เมืองบุรีรัมย์
(ล่าง) ปรางค์พระประธาน ปราสาทพนมรุ้ง ต.ตาเปิก เมืองบุรีรัมย์ ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง เมืองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่บนกองหินบริเวณปรางค์ประธาน ก่อนถูกโจรกรรมไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ และได้รับคืนกลับมาติดตั้งที่ปราสาทพนมรุ้งใน พ.ศ.๒๕๓๑
กรมทหารราบที่ ๔ เมืองราชบุรี เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี พ.ศ.๒๔๕๒
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ตรวจราชการโรงทหารในคราวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี พ.ศ.๒๔๕๒
วิหารวัดบุพพาราม จังหวัดเชียงใหม่
วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ ต.พระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ ก่อนการบูรณะ ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗
พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ภายในวิหารหลังใหม่วัดพระสิงห์ ต.พระสิงห์ จ.เชียงใหม่ วิหารนี้ครูบาศรีวิชัยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ เห็นโครงสร้างเสาและคาดรับหลังคาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
พระภิกษุฉษยที่ด้านหน้าพระอุโบสถวัดพระสิงห์ ต.พระสิงห์ จ.เชียงใหม่ อาคารด้านหลังคือ วิหารลายคำ
กังสดาลภายในวัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน
บริเวณวัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน
ทัศนียภาพวัดม่อนจำศีล ตำบลพระบาท จังหวัดลำปาง
ขบวนช้างและเกวียน เมื่อคราวพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร พ.ศ.๒๔๔๙
หญิงสาวเมืองเรณูนครนั่งบนหอหรือเกยหอ สำหรับเทียบข้างให้คนขึ้นหรือลงช้างได้สะดวก ถ่ายคราวพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการเมืองนครพนม พ.ศ.๒๔๔๙
บ้านห้วยตะแคง เมืองราชบุรี ท่าเรือซื้อขายเสาไม้ ก่อสร้างเมื่อคราวพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรี พ.ศ.๒๔๔๑
ข้าราชการในกระบวนเสด็จตรวจราชการเมืองขอนแก่นของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ นั่งบนเรือชะล่าปูพื้นมุงหลังคา กำลังถ่ออยู่ในทุ่งสร้าง เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๙
หลวงพิไชยสิทธิกรรม ข้าหลวงบริเวณสกลนคร กับราษฎรชายหญิงที่ห้วยหลัว ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองกุสุมาลย์กับเมืองสกลนคร จัดซุ้มรับเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพคราวเสด็จตรวจราชการเมืองสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๙
เรือกลไฟลาแกรนเดีย (ลำหน้า) และ เรือบรรทุกของ (ลำหลัง) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ใช้เดินทางในแม่น้ำโขงระหว่างตรวจราชการเมืองหนองคาย เมืองโพนพิสัย เมืองไชยบุรี ท่าอุเทน และเมืองนครพนม ระหว่างวันที่ ๗-๑๐ มกรราคม พ.ศ.๒๔๔๙
บ้านเจ้าพระยาบุรีนวาราษฐ (ชวน สิงหเสนี) ราชเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จังหวัดนครปฐม ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กองเสือป่า กองกำลังกึ่งทหารที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๕๔
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมาชิกเริ่มแรกของกองเสือป่า ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเพื่อให้การชมนิทรรศการ ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา อย่างเข้าถึง
เสมือนหนึ่งเดินชมงานด้วยตนเอง
โดยท่านสามารถใช้มือถือสแกน QR CODE เลือก "ชมนิทรรศการ เสมือนจริง"
นิทรรศการฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา Glass Plate Negatives: Stories That Transcend Time
จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น ๘
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ ๑๐ กรกฎาคม - ๒๐ กันยายน ๒๕๖๓
เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ขอบคุณที่มาข้อมูล: กรมศิลปากร, มูลนิธิสิริวัฒนภักดี, บมจ.ไทยเบพเวอเรจ, สมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, มูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Photo by มูฟวี่
โฆษณา