6 ส.ค. 2020 เวลา 12:10 • การศึกษา
เรามาลองสวบบทบาทเทียบเคียงกันครับ เทียบเคียงกับข่าว!!
ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราจะดำเนินการอะไรได้บ้าง
รูปภาพจาก pixabay.com
หากข้อเท็จจริงเป็นดังนี้...
สมมุติตัวละครว่าเราชื่อ "ก้าว" กับเพื่อนชื่อ "จาน"
ได้ร่วมกันทำมิวสิควีดีโอเพลงหนึ่ง...
ต่อมาก้าวและจานก็นำเพลงไปโปรโมทตามสื่อต่างๆ
โดยได้มีการไปออกสัมภาษณ์ตามสื่อรายการ..
เมื่อเสร็จจากงานสัมภาษณ์
ซึ่งทางรายการก็ได้ให้เงินค่าจ้างมา "หมื่นกว่า" บาท
ซึ่งเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างโดยจานเป็นผู้รับเงินค่าจ้าง
ไว้ทั้งหมด
โดยจานได้แบ่งค่าจ้างในส่วนของก้าว 500 บาท
กาว ก็รับเงินค่าจ้าง 500 บาทไป ซึ่งเป็นแบบนี้หลายๆรายการ
ซึ่งก้าวก็อาจคิดไปว่าคงได้เงินมาน้อย เราเลยได้แค่นี้
แต่ก้าวได้มาทราบภายหลังว่า ทางรายการมีการให้ค่าจ้างทั้งหมด
แก่จานไปแล้ว หมื่นกว่าบาท
จากกรณีอุทหรณ์ดังกล่าว เรามาดูกันครับว่า
หากเราเป็น ก้าว เราจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง ??
หากข้อเท็จจริงเป็นข้างต้น
เราต้องดูในรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของ
ข้อเท็จจริงระหว่าง ก้าว กับ จาน ครับว่า
ได้มีการตกลงกันในส่วนเงินค่าจ้างในการ
ออกรายการสัมภาษณ์แต่ละรายการนั้นเป็นอย่างไร ?
เช่น ตกลงกันแบ่งส่วนกันตามเปอร์เซนต์ที่ได้รับค่าจ้าง หรือ
แบ่งเงินค่าจ้างตายตัวเลย ว่าแต่ละรายการๆ ก้าว จะได้กี่บาท
หากทราบรายระเอียดข้อเท็จจริงในส่วนนี้ก็จะสามารถชี้ชัดได้ว่า
ก้าว ควรจะได้รับเงินค่าจ้างในแต่ละรายการ
เป็นเงินจำนวนที่แน่นอนเท่าไร
แต่หากไม่ชัดเจนก็จะมีปัญหาว่า แต่ละคนควรจะได้รับเท่าไร
หรืออาจมีปัญหา เช่น แดนเซอร์ ที่ไปร่วมเต้นด้วยจะมีส่วน
ในค่างจ้างออกสื่อด้วยมั้ย ?
หรือว่าหารแบ่งเฉพาะบุคคลที่รายการเชิญไปออกสื่อเท่านั้น ?
ก็ต้องไปว่ากันในส่วนนี่้ให้ชัดเจน
แต่เรามาดูประเด็นข้อกฎหมายกันครับว่า
1. หากข้อเท็จจริงมีว่า ในส่วนของเงินค่าจ้างออกรายการนั้น
มีการตกลง "ชัดเจนตั้งแต่ต้น" เช่น แบ่งเงิน 70 / 30
โดยก้าวจะได้ 30 % ของค่าจ้าง
ฉนั้น หากรายการข้างต้นได้จ่ายค่าจ้างมา 1 หมื่นบาท
แต่ จาน นำมาจ่ายให้แก่ ก้าว เพียง 500 บาท
กรณีเช่นนี้จะอาจถือได้ว่า จาน ซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินค่าจ้าง
ซึ่งรวมถึงค่าจ้างของก้าว
ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินนั้น(เงิน) มาเป็นของตน โดยทุจริต
ผู้นั้นจะถือว่าได้กระทำความผิดฐาน "ยักยอก" ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หาก ก้าว มาทราบในภายหลังว่า ตนควรจะได้ส่วนแบ่งมากกว่านี้
ก้าวก็อาจจะดำเนินการเรียกร้องทางแพ่ง
เพื่อเรียกร้องเอาส่วนแบ่งที่ควรได้
หรือเลือกที่จะดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับ จาน
ในความผิดฐานยักยอกได้ อีกทางหนึ่ง
2. แต่หาก "ไม่มีมีการตกลงชัดเจนกันตั้งแต่ต้น" แล้วปรากฎว่า จาน
มีการรับเงินค่าจ้างมาหมื่นกว่าบาท แต่จ่ายค่าจ้างให้ ก้าว 500 บาท
เช่นเดี่ยวกับข้างต้น
กรณีนี้จะถือว่า จาน ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินนั้น(เงิน) มาเป็นของตน
ก็ยังไม่ชัดเจนนัก
เพราะว่า กฎหมายความผิด "ยักยอก" ในมาตรานี้
ผู้กระทำผิดต้องมี "เจตนาทุจริต" เป็นองค์ประกอบด้วย
เพราะหากมีการดำเนินคดีกับ จาน แล้ว ฝ่าย จานปฎิเสธ
โดยอ้างว่า ไม่ได้มีการตกลงเรื่องจำนวนเงินกันอย่างแน่ชัด
และจานเองก็มีค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆเช่น ค่ารถ ค่าที่พัก
ค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เมื่อหักเงินต่างๆเหล่านั้น
ก็เอาส่วนที่เหลือมาแบ่งปันกันอย่างยุติธรรม นั้น
จะเห็นได้ว่าเมื่อ "ไม่ทราบว่าเงินส่วนแบ่งที่ชัดเจน" ของก้าวเป็นเท่าไร
จะฟังธงเลยว่า จาน "เบียดบังเงิน" ของก้าว ก็ไม่ชัดเจน
เพราะไม่ทราบว่าแท้จริง ก้าว ควรจะได้เงินค่าจ้างเท่าไรกันแน่
หรือจะฟันธงว่าจาน "มีเจตนาทุจจริต" ในเงินค่าจ้างก็ยังไม่ถนัดนัก
ซึ่งตรงนี้อาจมีผลทำให้ การดำเนินคดีอาญาในส่วนนี้ จะเป็นไปได้ยาก
และยากที่จะให้ศาลเชื่อว่า จาน กระทำผิดฐานยักยอกจริง
ก็ต้องขึ้นอยู่กับการนำสืบพิสูจน์หลักฐานของฝ่ายโจทก์ครับว่า
จะทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลย ได้กระทำผิดจริงโดยปราศจากข้อสงสัย
ได้หรือไม่?
ฉนั้นโดยสรุป บุคคลที่จะถูกลงโทษทางอาญาได้
บุคคลนั้นต้องกระทำความผิดครบ "องค์ประกอบ"
ของกฎหมายตามฐานความผิดนั้นๆ
ดังนั้น หากไม่ครบองค์ประกอบของความผิด เช่น
เรื่อง "ขาดเจตนา" เป็นต้น ก็จะมีผลทำให้ศาลยกฟ้องได้
เพราะศาลจะพิพาษาลงโทษจำเลยในความผิดอาญาได้นั้น
ศาลต้องเชื่อโดย "ปราศจากข้อสงสัย" ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
เพราะมิฉะนั้นศาลก็อาจยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย
แต่หากพิสูจน์ได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง จากกรณีนี้ก็อาจทำให้
จาน ถูกลงโทษตามกฎหมายได้เช่นกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา