6 ส.ค. 2020 เวลา 12:55 • สุขภาพ
คุณเคยเห็นเหตุการณ์นี้มาก่อน?
คุณเคยเป็นมั้ย? "เดจาวู"
"เดจาวู" คืออะไร?
เดจาวู (déjà-vu)
แปลว่า "เคยเห็นแล้ว" ในภาษาฝรั่งเศส
เป็นความรู้สึกเหมือนกับว่าเราเคยอยู่สถานการณ์ปัจจุบันมาก่อน
แต่ก็ไม่อาจทราบได้ว่าเคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่?
พบว่าผู้ที่มีสุขภาพดีประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์
เคยเกิดความรู้สึกแปลกประหลาดแบบ เดจาวู
#สาระจี๊ดจี๊ด
"เดจาวู มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงวัยที่มีอายุ 15-25 ปี"
และจะค่อย ๆ เกิดขึ้นน้อยลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าส่วนใหญ่เกิดจากการรับความรู้สึกผ่านภาพ เช่น รู้สึกเหมือนเคยเห็นสถานที่ที่เพิ่งไปเยือนครั้งแรกมาก่อน หรือรู้สึกคุ้นเคยเมื่อเห็นรูปสถานที่ สิ่งของ หรือคนที่ไม่รู้จัก เป็นต้น
"เดจาวู" เกิดจากอะไร?
สาเหตุของปรากฏการณ์เดจาวูยังค่อนข้างเป็นปริศนา เพราะไม่มีการศึกษาวิจัยในด้านนี้มากนัก ทั้งยังเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ทดสอบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็ได้พยายามอธิบายการเกิดปรากฏการณ์เดจาวูโดยอ้างอิงจากหลากหลายทฤษฎี
1. มีประสบการณ์ที่คล้ายกันมาก่อน
นักวิจัยบางคนเชื่อว่าการอยู่ในเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในอดีตเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดเดจาวู
2. คุ้นเคยจากการเดินทางท่องเที่ยว
2
ผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางและเคยท่องเที่ยวในหลากหลายสถานที่มีแนวโน้มจะเกิดความรู้สึกแบบเดจาวู เนื่องจากได้พบเห็นสถานที่และสิ่งต่าง ๆ มากมาย ซึ่งความทรงจำเหล่านี้จะทำให้เกิดความคุ้นเคยกับภาพสถานที่ที่เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกได้ง่าย
1
3. จดจำความฝัน
ผู้ที่จดจำความฝันของตนเองได้ดีอาจมีโอกาสเกิดเดจาวูได้มากกว่าผู้ที่ตื่นมาแล้วจำอะไรไม่ได้เลย เพราะภาพในความฝันก็อาจเป็นความทรงจำที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายเช่นกัน
4. สมองทำงานผิดปกติ
ผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดว่าการทำงานของเซลล์ประสาทที่ขัดข้องอาจกระตุ้นให้เกิดเดจาวูได้ โดยเกิดขึ้นเมื่อสมองไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้อย่างราบรื่น ทำให้จัดเรียงข้อมูลต่าง ๆ อย่างไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยบางคนที่มีอาการลมชักแบบเฉพาะที่บริเวณสมองส่วนที่ควบคุมความทรงจำระยะสั้น ก็เผชิญกับความรู้สึกแบบเดจาวูก่อนจะมีอาการชัก และยังพบว่าผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อมก็มักเกิดเดจาวูอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จึงมีความเป็นไปได้ที่ปรากฏการณ์นี้อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง
5. ยาที่รับประทาน
ยาบางชนิดเพิ่มโอกาสในการเกิดเดจาวูในผู้ใช้ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกแรงกล้าว่าเคยอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันมาแล้ว เช่น ยาเสพติด Taiminen และ Jääskeläinen
โดยมีผู้ป่วยบางท่านได้ทานยา Amantadine และ Phenylpropanolamine ร่วมกันเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด พบว่าสารสื่อประสาท Dopamine เกิดปฏิกริยากระตุ้นขั้วไฟฟ้าของสมองกับ Tamminen และ Jääskeläinen โดยคาดการณ์ว่าเดจาวูที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากภาวะ hyperdopaminergic ที่กระทำกับสมองกลีบขมับส่วนใน
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
เดจาวู ไม่ส่งผลอันตราย แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคลมชักหรือปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้
หากมีอาการ
- เกิดเดจาวูบ่อยครั้ง เดือนละ 2-3 ครั้งหรือมากกว่านั้น
- เกิดเดจาวูขึ้นพร้อมกับเห็นภาพความทรงจำคล้ายความฝัน
- มีอาการหมดสติ ขยับปากเคี้ยวโดยไม่รู้ตัว มือสั่น มีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย หัวใจเต้นเร็ว หรือรู้สึกกลัวหลังจากเกิด เดจาวู อาจหมายถึงอาการลมชัก
"ควรรีบไปพบแพทย์"
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา