7 ส.ค. 2020 เวลา 10:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คัดเน้นๆ อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและใช้บ่อย
2
จริงๆ แล้ว อัตราส่วนทางการเงินทุกตัวล้วนมีความสำคัญที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราได้กล่าวมาแล้วจากบทความก่อนหน้านี้ (ย้อนไปหลายๆ บทความหน่อยนะคะ 😉) แต่สำหรับบทนี้ เราจะคัดเฉพาะตัวที่เด่นๆ และใช้บ่อยเน้นๆ สำหรับนักลงทุนเพื่อนำไปใช้ประกอบการเลือกลงทุนในหุ้นที่ดีกันนะคะ
ซึ่งการดูอัตราส่วนทางการเงิน ทำให้เห็นธรรมชาติของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร แข็งแกร่งหรือไม่ ทำกำไรได้ดีหรือเปล่า บริหารจัดการสินทรัพย์ หนี้สิน ที่มีอยู่ได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยอัตราส่วนที่ถูกใช้บ่อย มีดังนี้ค่ะ
Current Ratio , Quick Ratio , GM , NM , P/E , P/BV, DIV, ROA , ROE , D/E & CC
⛳ Current Ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน)
เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน กับหนี้สินหมุนเวียน
📌 ถ้ามีค่า > 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพคล่อง เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ
📌 ถ้ามีค่า < 1 แสดงว่า บริษัทไม่มีสภาพคล่อง เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนไม่เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ
⛳ Quick Ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว)
ใช้วัดอัตราส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องมาก สามารถแปรสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว ตัดรายการสินค้าคงเหลือออกไป เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า
1
📌 ถ้ามีค่า > 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียน ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงถึงสภาพคล่องของบริษัทในระดับสูง
⛳ GM : Gross profit margin (อัตรากำไรขั้นต้น)
แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรขั้นต้น เปรียบเทียบกับยอดขาย (ยอดขายหักด้วยต้นทุนขายสินค้าหรือบริการ)
📌 อัตรากำไรขั้นต้น ” ยิ่งสูงยิ่งดี “ เพราะแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ มีการควบคุมต้นทุนการผลิตที่ดี
1
⛳ NM : Net profit margin (อัตรากำไรสุทธิ)
1
แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ เปรียบเทียบกับยอดขาย
📌 อัตรากำไรสุทธิ “ ยิ่งสูงยิ่งดี “
📌 แต่ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจค้าปลีกจะมี NM ต่ำ แต่ก็สามารถทำกำไรได้มากเพราะมีการหมุนเวียนสินค้ามาก
⛳ PE : Price to Earnings Ratio (อัตราราคาต่อกำไร)
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (ราคาหุ้นเมื่อเทียบกับกำไรของกิจการ) ที่กิจการทำได้ในรอบปีล่าสุด สามารถประมาณการจุดคุ้มทุน ให้กับนักลงทุนได้
PE จะคำนวณ จากกำไรย้อนหลัง 4 ไตรมาส
📌 PE 4-10 เท่า น่าซื้อ
📌 PE 10-20 เท่า เฉยๆ
📌 PE สูงกว่า 20 เท่า ไม่ควรซื้อ
อย่างไรก็ตาม PE เป็นแนวคิดเบื้องต้นในการใช้ซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำๆ และขายหุ้นที่ P/E สูงๆ แต่บางกรณี หุ้นที่ P/E สูงๆ ก็ยังน่าลงทุนได้ เช่น หุ้นที่มีสภาพคล่องดี มักมี P/E สูงกว่า พวกหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ๆ และซื้อขายปริมาณมากในแต่ละวัน
1
⛳ P/BV : Price to Book Value (อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี)
1
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
📌 P/BV < 1 แสดงว่า ราคาหุ้นนั้นถูกกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกิจการ
📌 P/BV = 1 แสดงว่า ราคาหุ้นเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินของกิจการ
📌 P/BV > 1 แสดงว่า ราคาหุ้นนั้นแพงกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกิจการ
หุ้นที่มี P/BV ต่ำ ย่อมจะดีกว่าหุ้นที่มี P/BV สูง แต่ค่านี้อาจเบี่ยงเบนจากมาตรฐานได้ถ้าใช้มาตรฐานบัญชีที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะที่จะใช้กับธุรกิจบริการที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย
1
⛳ DIV : Dividend Yield (อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล)
ใช้วัดอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หากหุ้นตัวใดมีค่านี้สูง แสดงว่ามีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง แต่ถ้ามีค่านี้ต่ำ ก็ต้องหาข้อมูลต่อไปว่าเกิดจากการทำกำไรได้น้อยหรือเกิดจากนโยบายของบริษัทที่จะนำเงินไปลงทุนมากกว่าจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งถ้าเป็นประการหลัง และเป็นโครงการลงทุนที่ดี วิเคราะห์แล้วน่าจะมีผลตอบแทนที่สูง ก็ไม่ได้แสดงว่าหุ้นตัวนั้นไม่ดีแต่อย่างใด กลับกันอาจจะยิ่งน่าลงทุนด้วยซ้ำ
2
⛳ ROA : Return on Assets (อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์)
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลกำไรของกิจการเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด
📌 ROA ค่ายิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทสามารถให้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมดสูง เป็นการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
⛳ ROE : Return on Equity (อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น)
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลกำไรของกิจการเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น
📌 ROE ควรมีค่าสูง แต่ต้องระวัง ค่าสูงๆ ที่เกิดจากหนี้สินเยอะๆ หรือส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) ลดลงเรื่อยๆ
⛳ D/E : Debt/Equity Radio (อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น)
1
แสดงถึงสัดส่วนของเงินทุนจากการกู้ยืมต่อส่วนของทุน อัตราส่วนยิ่งต่ำยิ่งดี
📌 ถ้า > 1 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ > ทุน หรือแปลว่า หนี้ 100%
📌 ถ้า < 1 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ < ทุน
📌 ถ้า = 1 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ = ทุน
⛳ CC : Cash Cycle (วงจรเงินสด)
วงจรเงินสด ยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะแสดงว่ากิจการมีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้เร็ว
กิจการสามารถบริหารสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดย
📌 ลดระยะเวลาในการถือสินค้าให้สั้นที่สุด ( ขายให้เร็ว )
📌 ลดระยะเวลาในการเก็บหนี้ให้สั้นที่สุด ( เก็บเงินให้เร็ว )
📌 ขยายระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ให้นานที่สุด ( จ่ายเงินให้ช้า )
💥 ข้อควรระวัง
ไม่ควร ที่จะดูอัตราส่วนทางการเงินแค่เพียงบริษัทเดียว ควรจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมว่าบริษัทนั้นดีหรือไม่ แต่ไม่ควร เปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรม เพราะอาจทำให้เข้าใจผิดพลาดได้ เช่น
✔ เปรียบเทียบ NM ระหว่าง การขายคอนโด กับ การค้าปลีก
✔ เปรียบเทียบหนี้สิน ระหว่างสินเชื่อเช่าซื้อ กับ ธุรกิจขายเครื่องดื่ม
1
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับอัตราส่วนทางการเงินตัวเด่นๆ ที่ทางผู้เขียนคัดและสรุปย่อมาให้ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ และจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ง่ายขึ้นนะคะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอขอบคุณทุกการไลค์ แชร์ คอมเม้นท์ และการติดตามนะคะ ^o^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา