11 ส.ค. 2020 เวลา 08:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สายไฟฟ้า..มาหานะเธอ
ตอนที่ 3 : สีของสายไฟ..เรื่องที่เราควรรู้!!
🔅วันนี้เรามาเรียนรู้..”เรื่องสีของสายไฟ”
1
สายไฟในบ้าน..คือสายไฟที่หุ้มฉนวน..มีสีแตกต่างกัน..
คำถาม : สีของสายไฟ..มีกี่สี?
คำตอบ : หลายสีครับ 😁
สายไฟของบ้านที่อยู่อาศัย..ที่เราเห็นปัจจุบัน
🔅เป็นสายไฟที่มีตัวนำเป็นทองแดง
🔅ฉนวนเป็นพีวีซี
🔅แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 450/750 โวลต์
มาตรฐานที่อ้างอิง : มอก11-2553 (ใหม่)ใช้แทนที่ มอก11-2531(เก่า)
มาตรฐาน 2 ชุดนี้..มีความแตกต่างพอสมควรครับ
Cr : www.builk.com
สาย L1 - L2 - L3 เป็นสายที่มีไฟ (ใช้ไขควงเช็คไฟ..จิ้มแล้วไฟสว่าง)
สาย N คือสายนิวทรัล (ใช้ไขควงเช็คไฟ..จิ้มแล้วไฟไม่สว่าง)
สาย G คือสายดิน (ต่อลงดิน - เพื่อความปลอดภัย)
สิ่งที่ต้องคำนึง - ระวัง..ของมาตรฐาน 2 ตัวนี้ (เก่า กับ ใหม่)
มาตรฐานเก่า : ดำ แดง น้ำเงิน - เทา -เขียวพาดเหลือง
มาตรฐานใหม่ : น้ำตาล ดำ เทา - ฟ้า - เขียวพาดเหลือง
จะสังเกตเห็นว่า “สีเทา” มีทั้ง 2 มาตรฐาน..
ตรงจุดนี้ต้องระบุให้ถูกต้องครับ..(ระวังตรงนี้นิดครับ)
ทั้งนี้สายไฟ 1 เฟส ของไฟบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป..
สีน้ำตาล : สาย L (มีไฟ)
สีฟ้า : สายนิวทรัล (ไม่มีไฟ)
สีเขียวพาดเหลือง : สายดิน
มาตรฐานอุตสาหกรรม : มอก 11-2553 โดยรวมเป็นอย่างไร?
🚩มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ IEC60227
🚩เหมือนกับประเทศในกลุ่ม AEC
🚩มาตรฐาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย : วสท ก้อสอดคล้องครับ
🚩ปัจจุบันถูกบังคับใช้ เป็นมาตรฐานบังคับตามพระราชกฤษฎีกา
ประโยชน์ของสีสายไฟ
🔅สะดวกต่อช่างไฟฟ้า ในการติดตั้ง (มั่นใจได้ว่า..ต่อสายไม่ผิด)
🔅ในอนาคตหากจะซ่อมแซม ปรับปรุงอาคาร หรือต่อสายใหม่
ซึ่งจะสะดวก และปลอดภัย (ความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญ)
ข้อสะกิด..ใจ 🗣
ทุกครั้งที่จะทำงานกับระบบไฟฟ้า..
ต้องมั่นใจว่า..ไม่มีกระแสไฟฟ้านะครับ
-
-
ไขควงเช็คไฟ..ราคาเพียง “หลักสิบ”เองครับ😊
ติดบ้านไว้..เป็นอุปกรณ์สามัญประจำบ้าน
-
-
น่าจะดี 😊
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
ปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้า..ไปด้วยกัน
(ขอบคุณภาพ : จากแหล่งภาพ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา