17 ส.ค. 2020 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นได้อย่างไร?
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
สงครามเย็นเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองประมาณปี 1945 และสิ้นสุดพร้อมการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 โดยก่อนหน้าปี 1957 เป็นช่วงที่อเมริกาเชื่อมั่นในความเจ๋งของตัวเองว่าเทคโนโลยีทางการทหารของฝ่ายตนดีกว่าของฝ่ายสหภาพโซเวียต
1
จนกระทั่งสหภาพโซเวียตยิงดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจรโลกสำเร็จในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1957 กลายเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้สังคมอเมริกันปั่นป่วนรู้สึกเสียหน้า เกิด “วิกฤติการณ์สปุตนิก” เพราะการแข่งขันด้านอวกาศเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นด้วย เสียเงินไม่ว่า เสียหน้ายอมไม่ได้
1
WIKIPEDIA PD
กองทัพสหรัฐแก้ลำ ด้วยการตั้ง "สำนักโครงการวิจัยขั้นสูง" Advance Research Projects Agency หรือ APRA (อ่านว่า อา-ปร้า) เป็นหน่วยงานที่ทำการวิจัยและทดลองเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศของกระทรวงกลาโหม เพื่อให้ศักยภาพทางทหารของอเมริกากลับมาเป็นที่สุดอีกครั้ง
ในช่วงนั้นกองทัพสหรัฐมีความเป็นห่วงว่าอาจถูกกองทัพสหภาพโซเวียตโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งจะทำลายระบบการสื่อสารของประเทศทั้งหมด ติดต่อกันไม่ได้ ทำให้โจทย์แรกของสำนักฯ จะต้องสร้างระบบฉุกเฉินพิเศษที่มีการป้องกันเฉพาะขึ้นมาระบบหนึ่ง
ระบบฉุกเฉินพิเศษที่ว่าทำให้กองทัพต้องตั้งศูนย์วิจัยทางคอมพิวเตอร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์หลายศูนย์ แต่เนื่องจากศูนย์วิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ เหล่านี้อยู่กระจัดกระจายในหลายรัฐ จึงจำเป็นจะต้องทำให้เกิดเชื่อมต่อกันเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัยระหว่างกันและกันได้
1
WIKIPEDIA PD
ในปี 1966 เครือข่าย ARPANET (อ่านว่า อาร์-ป้า-เน็ต) ได้เกิดขึ้นและทำงานเชื่อมต่อกันได้สำเร็จ ในช่วงแรกเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถาบันด้วยกัน
1
29 ตุลาคม 1969 เป็นวันที่มีการส่งข้อความแรกผ่านเครือข่าย ARPANET ระหว่าง UCLA หรือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส กับ สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด
WIKIPEDIA PD
นักศึกษาจาก UCLA เริ่มต้นพิมพ์คำว่า ‘log in’ แต่พิมพ์ไปได้แค่ ‘L’ ‘O’ แล้วระบบล่มไปเสียก่อนจะพิมพ์จบ แต่เหตุการณ์ล่มๆ แบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาของวงการไอที โปรแกรมที่เตรียมการมาดีๆ ซ้อมกันดิบดี พอแสดงจริง โชว์จริง ก็จะล่มเสมอ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
123RF
ต่อมาในปี 1970 มีการเผยแพร่โปรแกรมควบคุมเครือข่าย ส่งผลให้เครือข่ายเกิดการขยายตัว จากเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์เล็กๆ ต่อเชื่อมกันจาก 10 เครื่อง หรือ 10 โหนด (Nodes) ในเดือนธันวาคม 1970 เพิ่มเป็น 15 โหนด ในเวลา 4 เดือนถัดมา
สองปีถัดมา ปี 1972 มีการเชื่อมต่อกันถึง 19 โหนดผ่านเครือข่าย ARPANET แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ดี คอมพิวเตอร์แม่ข่ายดันใช้ภาษาต่างกัน และผู้ใช้งานแต่ละจุดก็จะรู้แค่ภาษาที่ใช้กับแม่ข่ายของตัวเองเท่านั้น
ARPANET จึงต้องหาทางแก้ปัญหา ต้องทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละจุด “พูดคุย” กันเองได้ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์เริ่มประชุมหาทางออกทั้งด้านเทคนิคและปรัชญาของเครือข่าย และก่อตั้ง Network Working Group หรือกลุ่มทำงานเครือข่ายขึ้น
123RF
ปลายปี 1971 เป็นครั้งแรกที่มีการส่งอีเมลระหว่าง ผู้ใช้งานกับผู้ใช้งาน ด้วยกันได้สำเร็จ และทำให้เกิดการส่งอีเมลติดต่อกันไปมาในเครือข่ายมากขึ้น
ในปี 1973 ปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย ARPANET 75 % เกิดจากการรับ-ส่งอีเมล ในระหว่างนั้นในส่วนอื่นๆ ของโลกก็มีการพัฒนาเครือข่ายของตนเองขึ้นมา แล้วก็ประสบปัญหาเดิม คอมพิวเตอร์เครือข่ายต่างๆ ไม่สามารถ “พูดคุย” กันได้
123RF
กระทั่งในปี 1974 มีผู้คิดค้นและพัฒนาชาวอเมริกันนำเสนอให้ใช้ TCP/IP เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย (อ่านว่า ที-ซี-พี-ไอ-พี ไม่ต้องอ่าน slash) หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า Transmission Control Protocol / Internet Protocol (อันนี้ต้องอ่านตรงคำว่า / เป็น slash ด้วย คือ ทรานซมิชชั่น-คอนโทรล-โปรโตคอล-สแลช-อินเทอร์เน็ต-โปรโตคอล) ที่ทำหน้าที่คล้ายการจับมือแนะนำคอมพิวเตอร์ระยะไกลให้รู้จักกัน
1
ความหมายจริงๆ ของ TCP/IP คือ ชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ และการเชื่อมต่อในโครงข่ายแบบนี้นี่เองเป็นหัวใจของระบบ เป็นสิ่งสำคัญของอินเทอร์เน็ต
แต่การจะใช้งานอินเทอร์เน็ตในยุค 1974 นั้นแสนจะยากและซับซ้อนยุบยิบมากเกินกว่าชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปจะใช้ได้ จึงเป็นไม่เป็นที่นิยม และถูกใช้เป็นเครือข่ายเฉพาะของนักวิจัย อาจารย์คอมพิวเตอร์ และหน่วยงานกลาโหมเท่านั้น
1
123RF
เบอร์เนิร์ส-ลี สร้างเว็บบราวเซอร์และกำหนดมาตรฐานของ HTML ซึ่งเป็นภาษาทางคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่ง ซึ่งไว้ใช้สื่อสารผ่านเครือข่าย www นั่นเอง HTML เป็นภาษาภาษาหนึ่ง
ถ้าเปรียบเทียบ HTML เป็นภาษาไทย แล้วเปรียบเทียบให้ผมหรือคุณเป็น Web Browser พอเราเห็น HTML คำว่า “ยิ้ม” เราก็ยิ้ม พอเราเห็นคำว่า “ยิ้มกว้างๆ” เราก็ยิ้มกว้างๆ Web browser ก็เหมือนกัน มันจะทำหน้าที่อ่านภาษา HTML แล้วแสดงออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาผ่านจอคอมพิวเตอร์ให้เราเห็นเป็นหน้า web ตามที่นายเบอร์เนิร์ส-ลีและองค์กรของเขาได้วางมาตรฐานหรือคำแปลทางภาษามานั่นเอง
เขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์(ตัวแก้ไขภาษา HTML)ตัวแรกของโลกชื่อว่า WorldWideWeb บนระบบปฏิบัติการ NEXTSTEP ของสตีฟ จอบส์ และสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon) ขึ้น
AFP
นายทิม เบอร์เนอร์ส ลี ซึ่งปัจจุบันเราต้องเรียกเค้าว่า เซอร์ ทิม เบอร์เนอร์ส ลี เพราะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากควีนอลิซาเบธให้เป็นอัศวินไปแล้ว เนื่องจากว่า นอกจากจะประดิษฐ์ WWW ขึ้นมาได้แล้ว เค้ายังตัดสินใจไม่จดลิขสิทธิ์การคิดค้นชิ้นนี้ด้วย เพราะเขาอยากให้ใครก็ได้นำการคิดค้นของเค้าไปใช้ต่อยอดได้ฟรี ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าลิขสิทธิ์ ผู้ประกอบการทุกรายสามารถนำภาษามาตรฐานของเขาไปใช้ ทำให้ www เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย มหาชนได้ใช้ประโยชน์ ไม่ใช่เฉพาะคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีเงินจ่ายค่าลิขสิทธิ์ไหว
เมื่อถึงทศวรรษที่ 1990 บรรดาผู้ประกอบการและผู้ให้บริการทั้งหลาย อาทิ CompuServe (อ่าน คอมพิ้วเซิร์ฟ), Delphi (อ่าน เดลไฟล์), AmericaOnline (อ่าน อเมริกาออนไลน์) ก็ได้นำเน็ตเวิร์กของตนต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนทั้งหลายสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการเหล่านี้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต แถมมีหน่วยงานทางด้านการเงินกล้าตายบางแห่ง ก็เข้าร่วมวงให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตด้วย
123RF
อินเทอร์เน็ตจึงเริ่มกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้นๆ เรื่อยๆ จนกลายเป็นทุกอย่างก็ต้องออนไลน์อย่างที่เราเห็นตอนนี้ เราคงต้องขอบคุณความพารานอยและกลัวเสียหน้าของเหล่าผู้นำสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็นนะครับ ถ้าไม่มีวันนั้น ป่านนี้พวกเราอาจจะยังเลียสแตมป์ติดซองจดหมายหรือส่งโทรเลขกันอยู่ก็ได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
(คลิป) อินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นได้อย่างไร? | How did the Internet start?
123RF
โฆษณา