15 ส.ค. 2020 เวลา 12:29 • การเมือง
2 จิตวิทยาที่ทำให้การชุมนุมไม่อาจหลีกเลี่ยงได้(โปรดใช้วิจารณญาณ)
ณ ตอนนี้การชุมนุมของแกนนำของเหล่านักศึกษาเป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้อีกแล้ว และต่อให้ผ่านครั้งนี้ไปได้ ก็ย่อมต้องมีครั้งต่อๆไปอย่างไม่จบสิ้นจนกว่าปัญหาดังกล่าวจะสามารถแก้ไขได้ด้วยความถูกต้องและชอบธรรมโดยระบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะ "รัฐธรรมนูญ"
และการชุมนุมของเหล่านักศึกษานี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เพราะทางฝ่ายรัฐบาลเองก็มีกฎหมายมาตรา 116 และพรบ.การชุมนุมอีกมากมายที่รัฐได้เตรียมเอาไว้เตรียมรอเล่นงานอยู่แล้ว หากว่าสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่เขาต้องการ
แต่ทางนักศึกษาเองก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะถอยเลย แต่ต่อให้ถอยไปก็มีโอกาสกลับมาใหม่อยู่ดี...
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนมีจิตวิทยาอยู่เบื้องหลังที่ทำให้พวกนักศึกษาต้องการที่จะ"สู้ไม่ถอย กัดไม่ปล่อย"
แล้วจิตวิทยานั้นคืออะไร Near us จะอธิบายให้ฟังครับ
Rolf Dobelli อดีต CEO บริษัทสวิสแอร์และนักเขียนหนังสือจิตวิทยาที่ขายดีในเยอรมันได้เขียนหนังสือเรื่อง 52 วิธีตัดสินใจไม่ให้พลาด และ 52 วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม เพื่อเอาไว้ให้เราใช้เหตุผลและสติในการตัดสินใจมากกว่าอารมณ์ชั่ววูบ ซึ่งมักจะทำให้เราต้องมานั่งเสียใจภายหลัง
Rolf Dobelli
โดยจิตวิทยาที่ทำให้การชุมนุมนักศึกษาไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ได้แก่
จิตวิทยาที่ 1 อคติจากการเชื่อถือของผู้มีอำนาจ
Rolf Dobelli ได้อธิบายว่า "ผู้มีอำนาจโหยหาการยอมรับ พวกเขาจึงพยายามเสาะหาหนทางต่างๆเพื่อตอกย้ำสถานะตัวเองอยู่เสมอ และถึงแม้หลายครั้งความคิดของผู้มีอำนาจจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่ออยู่กับพวกเขาเรากลับไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงออกไป สุดท้ายเราจะเชื่อความคิดเห็นของผู้มีอำนาจมากกว่าความคิดเห็นของคนทั่วไปอย่างไร้กังขา แม้ว่ามันจะไม่สมเหตุสมผลก็ตาม" (และนี่ก็คือต้นตอของคำว่า"พวกสลิ่ม")
ซึ่งการชุมนุมประท้วงของนักศึกษาในครั้งนี้ก็ต้องการแสดงจุดยืนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุกข์อยู่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งสิ่งที่นักศึกษาต้องการนั้นหลักๆมีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ได้แก่
1. การยกเลิก 250 สว.
ขอบคุณรูปภาพจากข่าว ไทยรัฐด้วยครับ
โดยคนที่เริ่มต้นเรื่องนี้ก็คือ นายชัย ฤชุพันธุ์ นักกฎหมายที่พร้อมที่จะทำงานให้กับผู้มีอำนาจ ควบคู่กับวิษณุ เครืองาม ทั้งสองคนนี้มีสามารถที่จะเสกสรรปั้นแต่ง สามารถจะเอาข้อความทางกฎหมายมาสร้างความชอบธรรมในการกระทำอะไรก็ตามที่คิดว่าตัวเองจะกระทำ แล้วก็ให้ผู้ที่ว่าจ้าง หรือผู้ที่มีอำนาจสั่งการตัวเองนั้น ได้ประโยชน์ รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งก็คือ 2ป. นั่นเองครับ
จากโครงสร้างที่เห็นในรัฐธรรมนูญ 2560 ก็พิสูจน์ชัดเจนว่า คสช.ต้องการสืบทอดอำนาจ ทั้งๆ ที่ ทั้ง พล.อ. ป. ในขณะนั้น ก็พยายามปฏิเสธว่าไม่มีการสืบทอดอำนาจ แต่โครงสร้างของรัฐธรรมนูญมันชี้ให้เห็นชัดว่าเป็นการต่อยอดอำนาจจริงๆ
ผลก็คือ นักศึกษาต้องการที่จะให้การชุมนุมนี้เป็นไปเพื่อโค่นล้มระบบนี้ลงให้ได้ เพื่อความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่วายโดนผู้มีอำนาจที่ใช้ "อคติจากการเชื่อถือของผู้มีอำนาจ" ปั่นหัว "พวกสลิ่ม" ให้มาต่อต้านนักศึกษาที่กำลังชุมนุมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทาง Social Media หรือ Offline ก็ตาม
2. 10 ข้อเรียกร้องการชุมนุม
https://www.facebook.com/104134454728017/photos/pcb.116687510139378/116687116806084/?type=3&theater
https://www.facebook.com/104134454728017/photos/pcb.116687510139378/116687090139420/?type=3&theater
3.และยังมีประเด็นเบ็ดเตล็ดอีกหลายอย่าง ได้แก่
3.1 แหวนแม่นาฬิกาเพื่อน
3.2 รัฐบาลปล่อยให้ทูต VIP ต่างประเทศและทหารอเมริกันที่เข้ามาประเทศไทยโดยไม่กักตัว 14 วันและออกไปสถานที่ท่องเที่ยว
3.3 การทุจริตคอรัปชั่นงบประมาณแผ่นดิน
(เพิ่มเติมhttps://youtu.be/9OQMLtaDuQE)
แต่คนไทยหลายๆคนที่คนอีกฝั่งมักเรียกว่า"พวกสลิ่ม"ก็ยังคงสนับสนุนการกระทำของรัฐบาลต่อไปโดยไม่ลืมหูลืมตาเลยว่าเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไรบ้าง แล้วก็ตบท้ายด้วยคำพูดเดิมๆว่า "มอบล้มเจ้า" "ม็อบมุ้งมิ้ง" "ม็อบชังชาติ" พร้อมกับใช้กฎหมายปิดปากทุกอย่างเพื่อยึดติดกับอำนาจและสิ่งเดิมๆ
ผลก็คือ ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ดีทุกด้าน ยกเว้น"การเปลี่ยนแปลงที่ดี"...
Rolf Dobelli ยังได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า "เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องตัดสินใจ ลองคิดดูให้ดีว่าใครมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคุณ ถ้ามีโอกาสได้พบกับผู้มีอำนาจ ให้คุณลองท้าทายความคิดของเขาดู"
Comment Near us: ผมมองว่าข้อที่ 1(ยกเลิก250สว.) เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะมันคือการสืบทอดอำนาจที่ทำให้การทุจริตคอรับชั่นหลายๆอย่างของรัฐบาลยิ่งทวีคุณมากขึ้น แต่ข้อที่ 2 นั้นผมมองว่ามันเป็นความเสี่ยงที่สูงมากต่อนักศึกษาเอง เพราะอาจจะโดนคดีหมิ่นเบื้องสูงและอาจโดนดักทำร้ายได้
คำถามที่น่าคิด: ถ้านักศึกษาถูกจับเข้าคุกหรือถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ธนา. และพรรคร่วมจะรับผิดชอบได้หรือไม่?
2. จิตวิทยา "ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการใคร่ครวญความคิดของตัวเอง"
Rolf Dobelli ได้อธิบายว่า คนเรามักคิดว่าความเชื่อของตัวเองเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือที่สุด การยึดมั่นในความเชื่อของตัวเองเช่นนี้เป็นเรื่อวธรรมชาติแต่ก็อันตราย เพราะการใคร่ครวญความคิดของตัวเองมักทำให้เราปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นมา การเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองอย่างแรงกล้าและยาวนานเกินไปจะทำให้คุณมองเห็นความเป็นจริงที่ยากขึ้น"
วันที่ 14 สิงหาคม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand
ธนาธรกล่าวในตอนต้นว่าการชุมนุมของนักศึกษาคือการเอาเรื่องที่ทุกคนพูดกันในที่ลับมาพูดในที่สาธารณะได้นับว่าเป็นความกล้าหาญของพวกเขา แม้แต่ตนเองก็ยังไม่กล้าหาญเท่านักศึกษา โดยยอมรับว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมาจะพูดถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ก็ต่อเมื่อถูกถามเท่านั้น
และคำว่า"ความกล้าหาญ" นี้แหละครับที่ทำให้วันที่ 14 สิงหาคม 2563 นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือ เพนกวิน แกนนำกลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ตามหมายจับศาลอาญา ที่ 1172/2563 ลง 6 ส.ค.2563 ในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 และข้อหาอื่นๆ รวม 7 ข้อหาเดียวกันกับที่ ทนายอานนท์ นำภา
และถึงแม้ว่าจะประกันตัวได้และต้องสู้คดีต่อไปจนกระทั่งถึงศาลฎีกา และผลก็คือพวกนักศึกษาเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะติดคุก นั่นก็เท่ากับว่า พวกเขาทำร้ายอนาคตตัวเองทั้งชีวิตด้วยความมั่นใจของตัวเองด้วยการพูดหน้าเวทีเพียงไม่กี่น่าที....
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็ยังมีแกนนำนักศึกษาที่มาประท้วงรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นช่วงวันมหาวิปโยค พฤษภาทมิฬ ก็ยังมีนักศึกษาที่ต้องสังเวยชีวิตเพราะ "ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการใคร่ครวญความคิดของตัวเอง" ที่คิดว่าตัวเองสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้วนเป็นวงค์จรอย่างไม่รู้จบสิ้น....
Rolf Dobelli ยังได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า "ความคิดของตัวเองนั้นเชื่อถือไม่ได้ สิ่งที่เราคิดว่าเป็นการใคร่ครวญความคิดของตัวเอง แท้จริงแล้วเป็นแค่การเชื่องโยงข้อมูลต่างๆในหัวเข้าด้วยกันด้วยความเชื่อที่ว่าการใคร่ครวญจะช่วยให้เราค้นพบความจริงหรือความถูกต้อง"
ปิดท้ายด้วยจิตวิทยาที่น่าสนใจ
Rolf Dobelli ได้อธิบายถึงจิตวิทยาการปลอมเเปลงประวัติศาสตร์ เอาไว้ว่า "คนเราจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความผิดพลาดที่น่าอายของตัวเองด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองในอดีตให้สอดคล้องกับมุมมองในปัจจุบันโดยไม่รู้ตัว"
คำถามก็คือ มีนักการเมืองและพรรคการเมืองใดบ้างที่ต้องการสร้างภาพใหม่เพื่อซ่อนเร้นภาพเก่า?
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีสถาบันกษัตริย์หรือพรรคการเมืองฝ่ายใดทั้งสิ้น โปรดใช้วิจารณญาณด้วยนะครับ
Reference
1.หนังสือ 52 วิธี ตัดสินใจให้ไม่พลาด
2.หนังสือ 52 วิธี ตัดสินใจให้ได้อย่างเฉียบคม
โฆษณา