21 ส.ค. 2020 เวลา 05:18 • ความคิดเห็น
การทำจิตเหนืออารมณ์
การปฏิบัติธรรมเป็นนิจสิน การฝึกหัดพิจารณาธรรมขั้นสูงหรือเดินธรรมทางจิต
เมื่อฝึกนั่ง ต้องนั่งในกิรืยาพับเพียบ นั่งในกิริยานอบน้อม อย่านั่งขัดตะหมาดต่อหน้าพระพุทธ เหมือนภาพตามผนังโบสถ์สมัยก่อน มีแต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นั่งขัดสมาธิ ผู้ที่นั่งต่อหน้าพระพักตร์ มีแต่นั่งพับเพียบ นอบน้อมรับฟังพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระส้มมาสัมพุทธเจ้า ให้ละวางทิฐืความติดของตนออกไปก่อน ด้วยกิริยานอบน้อมเพื่อฟังเหตุผลของธรรม ฟังเพื่อไปพิจารณา ไม่ใช่ให้เชื่อเลย ฟังเพื่อนำไปพิจารณา ปฏิบัติคลี่คลายกรรม บรรเทาทุกข์ แก้ไขตนเอง ไม่ได้ไปแก้ไขใครที่ไหน แก้ไขที่สติของตัวเองขึ้นมา ให้จิตของตัวเองเจริญด้วยเหตุผลของธรรมที่ตนเองปฏืบัติขึ้น เข้าใจสิ่งไหนทำให้ทุกข์
ทุกข์เนื่องด้วยเหตุอันใด สิ่งไหนเป็นกรรม เกิดเป็นกรรม สิ่งไหนที่เกิดบุญกุศลบารมี ทำอย่างไรจึงจะเดินถูกทาง ช่วยเหลือจิตของตนเอง ต้องหาเหตุผลให้แก่ตน เพราะจิตของตนเป็นผู้กระทำ ใครจะบอกกล่าวเหตุผลดีอย่างไร ถ้าไม่กลั่นกรองขึ้นมาที่จิตของตน ก็ยากที่จะกระทำด้วยจิตด้วยใจของตน เพราะเป็นเรื่องที่แก้ไขด้วยตัวเอง ปฏิบัติหาเหตุผลที่เกิดจากการปฏืบัติด้วยกายตนจิตของตน ให้รู้จักทุกข์ด้วยจิต จึงต้องมีความเพียรรักษาการปฏิบัติ มีขันติ มีสัจจะให้กับจิตของตัวเอง แล้วเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาหม้่นกระทำขึ้น สะสมขึ้น
เหมือนเรื่องชาดกขององค์พระสัมมาสีมพุทธเจ้า สะสมกันเป็นอเนกชาติ มิใช่กระทำขึ้นชาติเดียว จิตของพระสาวกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสะสมบารมีมามาก ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า นำไปปฏิบัติก็สำเร็จ จิตอย่างเราก็สะสมการปฏิบัติกันไป สะสมบุญบารมีไป ขอให้เกิดเป็นมนุษย์พบศาสนา เพื่อสร้างบุญบารมีหนีกรรมไปทุกชาติ
ต้องฝึกสติ ฝึกหัดพิจารณา อารมณ์ รู้จักอารมณ์ เบื้องหลังที่มาของอารมณ์ก็คือกรรม
ต้องเพียรประคองสติ ประคองจิต เมื่อปะทะเหตุ ต้องมีสติ ดูอารมณ์ อะไรเกิดที่ตัวตนของตน แล้วละ สลัดอารมณ์นั้นออก
เรื่องสติ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องฝึก เพราะปกติสติของเราอ่อน..ต่ออารมณ์.ไหวไปตามอารมณ์อารมณ์อยู่เหนือสติ และจิตของเราก็ถูกอารมณ์กรรมกดทับไว้ตลอดเวลา
เมื่อจะเดินทำตามคำสอนของพระ เมื่อจะพึ่งพระพุทธพระะธรรมพระสงฆ์ ให้จริง ก็ต้องละ ไฟสุมขอน เอามาเผาตัวเองทำลายกันเอง ต้องไม่ไปยึดถือเรื่องเวทมนต์คาถาวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังตะกรุดเลขยันต์ ตุ๊กตุ๋นตุ๊กตารักยมว่าจะทำให้จิตเราดีเป็นคนดี มีความเป็นมนุษย์ หรือเราเจ็บป่วยสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มาช่วยให้เราหายเจ็บหรือมาช่วยให้เราหมดทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นภาระกดทับให้จิตเราหนัก หนักเวรกรรมเพิ่มขึ้น สิ่งที่ติดมากับสิ่งเหล่านี้ มันมีสิ่งที่เรามองไม่เห็นติดมาเรียกว่าตัวกระทำไสยศาสตร์ มันเป็นไฟทั้งนั้น แล้วก็จมอยู่กับกรรม เปิดทางสู่อบายให้แก่จิตตัวเอง และขวางการปฏิบัติธรรมเพื่อหนีกรรม ต้องดูรอยเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านสละอะไร แล้วท่านทำอะไร ให้เกิดขึ้นแก่จิตของท่าน
ธรรมท่านต้องการคนจริง จริงใจ มีความเพียร มีขันติ ที่ประพฤติปฏิบัติ หนีกรรม
๑.ตื่นเช้ากราบพระ
ตั้งใจว่าวันนี้ เราจะทำดีที่สุด สิ่งไหนไม่ดี ไม่ทำ ไม่ใช้อารมณ์เด็ดขาด นั่งเพียรดูจิต ดูใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นไหม มากระทบไหม ตัวรัก ตัวเกลียด ตัวชัง ตัวเบื่อ ตัวหงุดหงิด ถ้าเกิดขึ้นก็เรียกชื่อมัน อ้อ..อย่างนี้ ไอ้ตัวโกรธ ฯลฯ ถ้าเรียกชื่อถูก มันจะไปทันที บารมีจะเพิ่มขึ้น ถ้าเรียกไม่เรียกไม่กำหนด ตัวนี้ มันจะไม่ไป จะสะสมอารมณ์กรรม เริ่มจากความไม่พอใจก่อน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นที่ใจของเรา ต่อไปก็ระเบิดเป็นกรรม ต้องหัดเรียกบ่อยๆ ฝึกจนเกิดความเคยชิน
การเรียกชื่อของอารมณ์ ต้องเรียกชื่อให้ถูกตัว เราต้องรวบรวมสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก ทำกายให้นิ่ง แล้วจึงเรียกชื่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ชึ่งการฝึกเรียก จนช่ำชอง รู้จักอารมณ์จริงๆ ต้องมีความเพียรในการปฏิบัติธรรมฝึกยืนเดินนั่งนอนสมาธิ ต้องมีพื้นฐานการฝึกจิตให้อยู่กับปัจจุบัน สติอยู่กับลมหายใจเข้าออกให้ได้
๒.ดูรูปสอนธรรม แล้ว เอาธรรมสอนจิต
อย่าดูถูกเหยียดหยาม คน หรือ สัตว์ เห็นคนตกยาก คนพิการ เห็นสุนัขขี้เรื้อน ต้องโน้มเข้ามาหาตัวเราน่าสงสารจัง พวกนี้ก็เคย เป็นคนดี คนรวย เป็นมนุษย์ แต่สร้างบาปกรรม จึงมารับกรรม เกิดเป็นคนจน คนพิการ เกิดเป็นสัตว์ แล้วโน้มเข้ามาละที่ใจของเราว่า อย่างนี้ต้องไม่เกิดกับเรา ไม่มีกับเราเป็นอันขาด เมื่อกำหนดได้หนึ่งครั้งบารมีจะขึ้น ต้องระวัง กายวาจาใจ อย่างมาก อย่าว่ากล่าว ตำหนิ ตืเตียน ดูถูก เหยียบหยามเป็นอันขาด
ถ้าดูถูกเหยียดหยามจะโดนโทษหนัก โน้มสอนใจเราทุกครั้ง ทุกวัน ทุกเวลา ทำได้ง่ายมาก ขึ้นรถ ลงเรือ ไปไหนมาไหน ทำได้ทั้งหมด กำหนดแล้วปล่อยวางทั้งหมด ทำจิตอยู่ในองค์มัชฌิมา คือเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย ดีใจหรือเสียใจ ให้เห็นว่าทกอย่าง เกิดขึ้นจากกกรรมที่เขาสร้างไว้ในอดึต ให้ดูทุกอย่างเพื่อการศึกษา ว่าทุกอย่างเขาสอนธรรมเรา แล้วนำสิ่งที่พบเห็นมาพิจารณาที่ใจของเรา จนช่ำชองให้ได้
๓.ธรรมเชือดเฉือน
เราต้องรู้เท่าทันอารมณ์ อย่าไปโกรธ ไปเกลียด อาฆาต พยาบาท อืจฉา ริษยา คนอื่นเขา ไม่ว่าคนใกล้ตัวหรือคนไกลตัว ว่าเขาแสดง กิริยา อาการ อะไรบ้าง หรือว่าทำไมต้องหย่าร้าง เลิกกัน หรือถ้าถูกเขาด่า กลั่นแกล้ง เป็นต้น ทุกอย่างถูกกำหนดมาแล้วด้วยกฎแห่งกรรม คือเราต้องมารับกรรมที่เคยสร้างไว้ วันนั้น เวลานั้น อายุเท่านั้น จะต้องเป็นอย่างนั้นๆ อย่างหลีกไม่ได้ ต้องเป็นไปตามวงล้อธรรมจักร หรือ วัฏฏสงสาร (ยกเว้น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมอยู่บนเส้นทาง สร้างบุญกุศลบารมี ในรอยคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเส้นสีเหลืองลากผ่านวงวัฎฎะเท่านั้นจึงจะรอดได้)
ถ้าเรารู้ทันเช่นนี้ เราจะไม่โกรธ ไม่เกลียดใครเลย แต่กลับยิ้มรับ ถือว่าขดใช้กรรม บางครั้งเขาไม่รู้ตัวด้วย เนื่องจากถูกเบื้องบนปรุงแต่ง ให้มาทดสอบจิตเรา เราจึงเป็นผู้ดู แล้วกำหนดมาละที่ใจ อย่าร่วมแสดงกับเขาเป็นอันขาด เขาแสดงตัวกระทำอะไรออกมา เราก็กำหนดเรียกชื่อมันเช่น เช่น ตัวโกรธ ตัวโลภ ตัวหลง ตัวเกลียด ตัวรัก ตัวใคร่ ตัวอิจฉา ตัวริษยา ตัวน้อยใจ ตัวเสียใจ ตัวดีใจ ต้วหิว ตัวเบื่อ ตัวหนักอกหนักใจ ตัวเบื่อ ตัวท่อแท้ ตัวหมดอาลัยตายอยาก ตัวสิ้นหวัง ตัวประชด ตัวหมดความสำคัญ ตัวอาลัย ตัววิปริต (วิปริต ไม่ได้หมายความว่าบ้า หมายถึงทำผิดปกตินิสัย วิปริตจากดีเป็นไม่ดี หรือจากไม่ดีกลายเป็นดี) สารพัดที่ตัวเขาจะแสดงออกมา หรือ บางทีก็เกิดกับเรา
เมื่อเรามีสติรู้สึกตัว สังเกตตัวเอง รู้ทัน รู้จักเช่นนั้น ก็เรียกชื่ออารมณ์กรรมตัวกระทำ เช่น เห็นเขากำลังโกรธเรา เราก็ต้องทำจิตระลึกถึงพระ มีสติกับลมหายใจ ทำจิตเหนือดีเหนือชั่ว แล้วเรียกชื่อมันว่านี่ตัวโกรธ แล้วน้อมมาละที่ใจเราว่าอย่างนี้ต้องไม่เกิดขึ้นกับเรา (พยายามอย่าไปมองหน้าเขา ดูที่ลมหายใจของเรา ไปมองหน้าเขา เหมือนไปท้าทายเขา และ เดี๋ยวจะเผลอสติอารมณ์โกรธก็จะแทรกขึ้นมาที่ตัวเรา เมื่อเราเผลอสติแบบผู้กำลังศีกษาธรรม ต้องเรียกว่า นี่ตัวโกรธ อย่างนี้ต้องไม่เกิดกับเราอีก) ต้องเรียกชื่อให้ถูกตัว ถ้าเรียกชื่ออาการถูก มันก็จะหายและบารมีเราจะขึ้น ถ้าเรียกชื่อไม่ถูก เหมือนเราไม่รู้จักเค้า เมื่อเรียกชื่อไม่ถูก อารมณ์นั้นเค้าก็ไม่ออกเค้าก็อยู่ต่อไป
เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น พบเห็นแล้วโน้มมาละที่ใจ แล้วปล่อยวาง ให้จิตอยู่ในองค์มัชฉิมา (นิ่งเฉย เหมือนตอนปฏืบัติธรรมมีสมาธิ ไม่ยินดียินร้าย เหมือนอยู่ป้อมปราการ ใจเราไม่หวั่นไหว และรู้เท่าทันเหนืออารมณ์นั้นเอง) ต้องฝึกให้ได้บ่อยๆ ทุกครั้งที่มีอะไรมากระทบ เมื่อเราทำได้แล้ว ต่อไปเราจะเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน และเห็นกรรมของผู้ที่แสดงตัวกระทำ ออกมา แลจะรู้เรื่องของอดีต และจืตใจของเขา ให้เราศึกษาทุกครั้งที่ทำได้ บารมีเราจะขึ้น ปัญญาก็จะเกิดตามมา
๔.ก่อนนอนไหว้พระ
ระลึกถึงว่าวันนี้เราได้ทำอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนมา ใช้อารมณ์อะไร ถ้าไม่ดึต้องบอกตัวเองว่า เรายังทำไม่ได้ ต่อไปเราจะไม่ใช้อารมณ์อีก เราจะได้ไม่ทำอีก นั่งสมาธิหรือเดินจงกรม คือพิจารณาขุดคุ้ยเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมา ทั้งคดีโลกคดีธรรม ถ้าดีก็ทำต่อไป ถ้าไม่ดีก็โน้มมาสะที่ใจเรา ว่า อย่างนี้ไม่ดี เป็นเวรเป็นกรรม เราจะไม่ทำ ต้องไม่มีกับเรา ไม่เกิดกับเราอีกเป็นอันขาด ขุดไป คุ้ยไป ทุกเวลา นาที (แล้วเราจะเห็น บัญชีกรรม และบัญชีธรรม ที่เราสร้างมาตั้งแต่เกิด ซึ่งส่วนใหญ่จะพบแต่กรรมที่เราสร้างไว้ ด้วยความโลภโกรธหลง ) ถ้าจิตซัดส่ายให้หันมาอยู่กับองค์ภาวนา “พุทโธ” พอจิตสงบ ก็หันมาพิจารณาลดละกันต่อไป ทำให้บ่อยๆ จนช่ำชอง เรียกว่า ฝนทั่งให้เป็นเข็ม แล้วงมเข็มในมหาสมุทรให้ได้เหมือนเราหาจิตเราให้พบ ทำกายนิ่งจิตนิ่ง ทำให้แต่ละครั้งจะเกิดบารมีเพิ่มชึ้น พอบารมีมากปัญญาก็เกิด
- [ ] พบธรรม ศึกษาธรรม และปฏิบัติธรรม มรรคผลจะเกิด
การศึกษาตัวนี้บ่อยๆ เกิดธรรมสอนจิต ดูจากคนทั่วไปที่เราพบเห็น ศึกษาธรรม เกิดขึ้นจาก รูป สี แสง เสียง เหตุ-ผล หรือ นามธรรม ศีกษาแล้วโน้มเข้าหาตัวเรา ไม่ติเตียน ไม่ใช้อารมณ์ เห็นทุกอย่างเป็นครูสอนใจเรา
- [ ] พบโลก ศึกษาโลก
พบโลก ศึกษาโลก เพื่อทำความเข้าใจ ว่าโลกให้อะไร พาจิตเราไปทางไหน เดินในเส้นทางอะไร ทำความเข้าใจในสิ่งเราอาศัยอยู่ อารมณ์ของโลกเป็นอย่างไร เมื่อเกิดขึ้นที่ตัวเรา พิจารณาเรื่องสุขทุกข์ ที่เกิดขึ้น พิจารณาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่หลงยึดอยู่นั้นเป็นอะไร จิตเราได้อะไรจากโลกเป็นแก่นสาร แล้วเมื่อเรายังมีลมเข้าออกอยู่ เราควรสร้างอะไรเป็นแก่นสารให้แก่จิตเรา เมื่อกายนี้หมดลมลงไป ต้องพิจารณาเรื่องการเดินทางของจิตเมื่อละกายนี้ สู่คำว่าจิตกับนามธรรม
ศึกษาที่กายวาจาใจของตน กาย อารมณ์ จิต
ทำความเข้าใจ อะไรคือจิต อะไรคืออารมณ์
รูปสอนธรรม. ธรรมสอนรูป รูปสอนจิต
พระท่านสอนให้ศึกษาที่ตัวเรา ถ้าเห็นคนอื่นทำไมดี ต้องขี้เข้าหาตัวเราและกำหนดที่ใจเราว่า อารมณ์ตัวกระทำอย่างนี่ไม่ดี ต้องไม่มีกับเราไม่เกิดกับเราเป็นอันขาด
ธรรมเชือดเฉือน เราต้องรู้ทัน อย่าไปโกรธ ไปเกลียดไปอาฆาตเขา ทุกอย่างเขาสอนธรรมเรา ใครรู้ตัวนี้ทำได้ จะผ่านเลยไปรออยู่แดนสุขาวดี
ใครทำได้ตามทีว่านี้ลอยลำเลย แต่อย่าทิ้ง การสร้างทานบุญบารมี รู้จักคุณห้าประการ คุณบิดามารดา พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ แนวทางปฏิบัติของพระ ยืนสมาธิ เดินสมาธิ นั่งสมาธิ นอนสมาธิ ค้วยจิตมัชฌิมาเป็นองค์สมาธิ หรือ จิตอยู่กับองค์ภาวนา”พุทโธ”ตลอดเวลา จึงจะรอดปลอด จากเวร จากกรรมได้ กรรมในอดีต ก็จะค่อยๆ อโหสิกรรมไป
ธรรมโลกุตระ
เป็นธรรมเก่าย้อนมาเก็บตก ผู้ที่ยังไปไม่ได้สมัยกี่งพุทธกาล เป็นธรรมสัญญา ใครไม่มีสัญญา รับไม่ได้ ใครมีสัญญาเก่า ศึกษาทำตาม ถอดมงกุฎ ถอดชฎา ใตรลดละอารมณ์ได้ หลุดพ้นได้
ธรรมโลกุตระ เป็นธรรมที่เรากำลังฝีก หัด และ ศึกษา. ถ้าทำได้จะเป็น ปรมัตถ์ คือ รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ด้วยปัญญา ไม่ใช่รู้ด้วยการ อ่าน ท่องจำ จากคำภีร์ ตำรา
โลกุตระธรรม คือ ธรรมที่พ้นโลกไปแล้ว หรือ คือ ผู้ที่ปฏิบัติธรรม แจ่มแจ้งทั้งทางโลก และ ทางธรรม ก็คือ หลุดพ้น นั่นเอง (โลกุ = โลก, กุตระ = ธรรม)
สีที่เห็นจากการปฏิบัติธรรม
แสงสีที่เกิดขึ้นตามวาระของจิตที่ปฏิบัติธรรม
หมวดธรรม สีของบุญบารมี
สีขาวใส. เรื่องราวของศาสนา เรื่องราวการสะสางจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
สีเหลือง อนันธจักร แสงธรรม รู้จักเรื่องราวศาสนา
คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สีแดง. สติ การคลี่คลาย เหตุผล จะเริ่มรู้เรื่องราวต่างๆ
สีเขียว. สีของปัญญา บารมี ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน. เรื่องของบุญกุศล
หมวดทางโลกมายา. สีที่ให้เรายึดอยู่ในโลก
สีขาวธรรมดา เรื่องราวโลกีย์ม เรื่องราวทางโลกมายา
สีชมพู รักสวย รักงาม ความรัก
สีเนื้อ รัก หลง น่ารัก น่าใคร่ อยู่ในกามคุณ ที่เรียกว่า หลงเนื้อ หลงหนัง
สีตองอ่อน. ความรัก รักรุนแรง รักใคร่ หึงหวง ถึงกับฆ่าได้ถ้าใครมาแย่ง หรือ ขัดขวาง บางครั้งก็เรียกว่าเป็นสีเหมือนไพลเน่า
หมวดกรรม. สีกรรม โลภ โกรธ หลง
สีดำ เป็นกรรมที่ได้รับ กรรมหนัก โทสะ โกรธ
สีฟ้า สีชี้กรรม เรี่องราวที่ทำกรรมอะไรมา
สีกรมท่า. สีแสดงกรรม สีขี้ข้าบักครอก พวกลักขโมย ปล้นฆ่า ผิดศีลธรรม
สีม่วง. บ่วงของกรรม คล้องเวรกรรม เช่น อารมณ์ความนึกคิดที่เรานึกอยากได้ อยากให้อย่างนั้นอย่างนี้ หรือ สิ่งที่พาไปยึด เช่น ลูก สามี ภรรยา ทรัพย์สมบัติ ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
สีน้ำตาล. กรรมกำลังเผาใ้ห้ทุกข์ ทรมาน
สีส้ม. สีนี้แสบร้อน ด้วยฤทธิ์เวทมนต์ คาถา อาคม เดรัจฉานวิชชา
เมื่อปฏิบัติธรรมโลกุตระ บางครั้ง ก็จะปรากฏ สีหรือแสง ขึ้นมาในจิต ชึ่งจะปรากฏไปตามวาระของจิตที่ตนกำลังประสบอยู่หรือผจญเหตุอยู่ ซึ่งในชีวิตของเรา เรามีแต่สีกรรมสีมายาของโลก ด้วยชีวิตของเราตกอยู่ในห่วงอบายคือโลภโกรธหลง จึงต้องอาศัยการสร้างบุญกุศลบารมี การปฏิบัติเพื่อมาละลายสีของกรรมสีมายาของโลก ให้ละลายออกไปจากธาตุทั้งสี่ที่จิตอาศัยอยู่
เมื่อปฏิบัติธรรม มีสีของธรรม มาหนุนนำ ก็จะปฏิบัติธรรมด้วยความสะดวกสบาย ปลอดโปร่ง โล่งเบา จิตเป็นสมาธิ สามารถคลี่คลายเรื่องราวต่างๆได้
หากเป็นสีของโลกมายา ก็ให้รู้ว่า ยังยึดติดอยู่ในโลกมายาทั้งหลาย ไปไม่ได้
ถ้าหากเป็นสีของกรรม ก็แสดงว่าทำกรรมไว้มาก ตามระดับความเข้มของสี เตรียมรับวิบาก ให้เจ็บ ให้ปวด หรือสูญเสีย ทรัพย์สิน สิ่งที่รัก
เมื่อมีสีเกิดขึ้นต้องพิจารณาให้ดี ว่าเป็นอะไร สีของธรรมหรือสีกรรม พร้อมทั่งสังเกตุวาระของจิตกับกาย กายกับอารมณ์ สีของธรรมจะเกิดได้ต่อเมื่อทำกายนิ่งจิตนิ่งได้ เรื่องของสีนี้เป็นการยากที่จะทำได้ถึง
เมื่อมีสีของกรรมอยู่ ก็ต้องรับวิบากชดใช้กรรม ตั้งหน้าปฏืบัติธรรม หนีกรรม ด้วยการปฏิบัติธรรม ยืนสมาธิ เดินสมาธิ นั่งสมาธิ ไสยาสน์สมาธิ เพื่อให้เกิดเป็นบารมีหนีกรรม นำ้หนักชองกรรมก็เบาลง สีของกรรมจางลง ที่เบาก็จะหาย เป็นอโหสิกรรม หรือ จะอธิฐาน ขอสีบุญบารมี ที่เคยปรากฎในจิตของเราคลี่คลายสีกรรม ให้บรรเทา เบาบางด้วยการปฏิบัติธรรม สร้างบุญกุศลช่วยเหลือจิตของตน
สิ่งน่ากลัว ๕ อย่างของมนุษย์ ที่ทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นได้
ธรรมโลกมายา คือ การหลงโลก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขของโลก สุขทุกข์ของอารมณ์ ความเป็นอยู่ในโลก ติดในโลกธรรม
ธรรมกลมายา เป็นเรื่องชองการปรุงแต่ง ให้เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า หรือ ปัจจุบัน (จริง, จริง +ไม่จริง, ไม่จริง.) เป็นเรี่องของศาสตร์ รวมที้งการหลอกหลวงลวงทุกอย่าง, ทั้งคน,
ทั้งเทพ, ทั้งมาร, ให้เราหลงทั้ง ๓ โลกจ้กรวาล มารเขาทำได้หมด
ธรรมมายาของศาสตร์. เป็นเรื่องความรักโดยเฉพาะ ไม่เลือกอายุ ทั้งพระ ชี โยม ชาย หญิง ทั้งรัก ทั้งหลง สารพัดมายาไม่ได้ ถึงกับฆ่าตัวตาย (ถูกปรุงแต่งจากข้างบน นางตัณหา นางราคะ, นางอรดี)
ธรรมวิปริต จะเห็นคนอื่น มาทำไม่ดีกับเรา ทีแรกคิดไปเอง ต่อไปบ่อยๆ เข้า ก็เห็นเขาว่าเขาด่า ขั้นสุดท้าย จะเห็นเขามาแสดงกิริยามารยาทไม่ดี ให้เห็นจริงๆ เห็นว่าเขามาด่า มาว่าเราตาแจ้งๆ (เกิดขึ้นที่ตัวเรา เพราะเราโง่ รู้ไม่เท่าทันอารมณ์) ส่วนใหญ่จะเกิดจากคนใกล้ชิดสนิทกันก่อน เช่น สามี-ภรรยา และ บุตร ญาติมิตร เพื่อนฝูงที่สนิทกัน ถ้ากำหนดรู้ว่าเกิดธรรมวิปริตขึ้นแล้ว รู้เท่าทันไมกี่วันก็หาย ถ้ารู้ไม่ทัน หลงไม่ยอมรับว่าตัวเองเกิดธรรมวิปริตก็จะโกรธกันไปเลย
ธรรมวิปลาส. ครึ่งบ้าครึ่งดี, ทำอะไร แปลกๆ เช่น แสดงออกทางการแต่งกาย หรือ การกระทำที่ผิดปกติ เช่น หากินเสษขยะตามริมทาง นุ่งผ้าบ้าง ไม่นุ่งผ้าบ้าง, ร้องไห้, หัวเราะ,ชายแต่งเป็นหญิง, หญิงแต่งเป็นชาย, เจาะลื้น, เจาะจมูก, ชายใส่ต่างหู เป็นต้น
ธรรมทั้งหลายนี้เกิดขึ้นที่ตัวเราทั้งหมด. ถ้ารู้ไม่เท่าทันอารมณ์ ก็ตกเป็นเหยื่อกรรม เหยื่อของธรรม ๕ ประการนี้ ต้องทำจิตให้เหนืออารมณ์ให้ได้ ไม่เช่นนั้นหลงทุกราย ต้องมีสติ กำหนดรู้ ทำจิตให้นิ่ง เรียกชื่อของธรรม ๕ ประการที่เกิดขึ้น เป็นอาการอะไร หรือตัวอะไร เอาเหตุผลมาดู แล้วมากำหนด ลดละที่ใจ เรียกบ่อยๆ มันก็หนีไปเอง เพราะเรารู้จักตัวมันแล้ว
ธรรมทั้งหมดนี้ ต้องฝึกหัดและศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน มีสติรู้ตัวตลอดเวลาอยู่ในองค์มัชฌิมา (รู้จักจิตไม่มีอารมณ์ ) อะไรเกิดขึ้น ดึงสติมาอยู่ลมหายใจเข้าออก แล้วเรียกชื่อ
อาการให้ถูก ลดละอารมณ์ ไม่คล้องเวรกรรมกับคนอื่น ถ้าใช้อารมณ์ ๑ ครั้ง ค่าของความเป็นคนก็จะหมดไปทีละ ๑ เช่น ถ้าเราทำจิตลดละอารมณ์ ตัดเวรตัดกรรมได้ ๑ วา แต่เมื่อใช้อารมณ์ ก็จะถอยหลังไป ๕ วา เหมือนกับ ก้าวเดิน ๑ ก้าว ถอยหลังไป ๕ ก้าว และจิตก็จะสะสมกรรมเป็นสีดำ มุ่งสู่ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และ เดรัจฉาน ตามกรรมที่สะสมไว้ หากลดละอารมณ์ได้ จิตก็จะสว่าง จนหลุดพ้น
โฆษณา