25 ส.ค. 2020 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
"4 เทคนิค เอาชนะใจ ลูกน้องเก่ง"
ลูกน้องที่เก่ง แสดงว่าเขามีของบางอย่างในตัว
มีศักยภาพ เคยสร้างความสำเร็จบางอย่างมา
ซึ่งเขาจะเป็นคนมั่นใจในตัวเอง
มีความคิดของตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง
การบริหารคนเก่ง ไม่ยากอย่างที่คิด
กลับง่ายด้วยซ้ำ และพี่ออกแรงน้อยมาก
ไม่ต้องเหนื่อยเยอะ
เพราะน้องมีของอยู่แล้ว น้องเก่ง มีความสามารถ
ขอเพียงพี่แสดงบทบาท ที่สนับสนุนให้น้อง
ได้แสดงศักยภาพสูงสุดในตัวเองออกมา
พี่ก็จะเอาชนะใจน้องได้ และน้องจะตั้งใจทำงานอย่างสุดตัวเลยล่ะ
โมเดลบริหารคนเก่งที่ว่านี้ คือ ASSR
(Ask-Share-Shine-Review)
1. Ask
เมื่อน้องมีของ เราจะใช้วิธี
ดึงของในตัวน้องออกมา
ด้วยการ "ตั้งคำถาม" ให้น้องได้พูด
ได้แสดงความเห็นเยอะๆ
กลุ่มคนเก่ง มักมีไฟ มีpassion อยากทำอะไรมากมาย เขาจะไม่ชอบถูกสั่ง จำกัดอิสรภาพ
เขาต้องการแสดงความคิดเห็น ออก idea
เขาจะรู้สึก engage มาก เมื่อพี่รับฟังอย่างตั้งใจ
ดังนั้น ให้พี่ตั้งคำถาม และตั้งใจฟังน้องจริงๆ
อย่าเพิ่งด่วนตัดสิน อย่ามีธงในใจ
ลองฟังแบบใจใสๆ
ขณะที่ฟังน้อง ก็ถามตัวเองไปด้วยว่า
"เรากำลังได้เรียนรู้อะไรจากน้องบ้าง"
มีพี่ manager หลายท่านบอกเล็กว่า
เมื่อเขาตั้งใจฟังน้องจริงๆ เขาได้ยิน idea
ความคิดดีๆของน้องเยอะเลย
ซึ่งหลายอย่างมันดีเกินคาด
และเขารู้สึกปลื้มมากกับไอเดียว้าวๆของน้อง!!
ตัวอย่างคำถาม เช่น
- น้องคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
- เพราะอะไรถึงคิดแบบนี้ ช่วยเล่าให้พี่ฟังเพิ่มหน่อย พี่จะได้เข้าใจน้องมากขึ้น
- น้องเห็นภาพความความสำเร็จของ project นี้
เป็นอย่างไร
- น้องมีข้อเสนออะไรบ้าง ถ้าจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ
- แต่ละ choice มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง
- เราจะปิด gap ข้อเสียอย่างไรดี
- ถ้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เราควรมีแผนสำรองอย่างไรดี
- ถ้าไม่เป็นไปตามแผน เราจะรับมืออย่างไรดี
- เราควร prioritize ทำอันไหนก่อนหลังดี
- น้องวางแผนงานยังไงไว้บ้าง
- น้องอยากทำอะไร และทำเมื่อไร
- อยากให้พี่ช่วย support อะไรไหม
- เราจะมา update progress กันเมื่อไรดี
เป็นต้น
2. Share
หลังจากพี่ตั้งคำถาม ให้น้องได้พูดออกมา
อย่างเต็มที่ โดยพี่ตั้งใจฟังน้องจริงๆ
ฟังอย่างเป็นกลาง ไม่ตัดสิน ไม่ขัด ไม่ตัดบท
ไม่ด่วนสรุป น้องจะเปิดใจกับพี่มากขึ้น
รู้สึกดี ที่เสียงของเขามีคนรับฟัง
เพราะใครๆก็ชอบให้มีคนรับฟังเราทั้งนั้น
เมื่อน้องเริ่มเปิดใจให้พี่แล้ว
เวลาพี่พูดอะไร
น้องก็จะยินดีรับฟังมากขึ้นเช่นกัน
ช่วงเวลานี้จึงเหมาะสม
หากพี่มีideaอะไรอยาก share
หรือเสนอน้องเพิ่มเติม
แต่เราจะไม่บังคับให้เขาต้องทำตาม
idea ของเราเท่านั้น
มิเช่นนั้น trust ที่อุตส่าห์สร้างมา
ตอนพี่ตั้งใจฟังตั้งแต่แรก
จะพังทลายลงทันที!
ตัวอย่างบทสนทนา และคำถาม เช่น
- idea ที่น้องเสนอมาน่าสนใจมาก พี่ชอบ…
(ใส่สิ่งที่พี่เห็นด้วยลงไปตามความจริง และจริงใจ)
- ทีนี้ พี่มีบางอย่าง อยากขอลอง share เพิ่มเติม
เผื่อช่วยต่อยอด idea ให้น้องได้อีก น้องอยากลองฟังดูไหม
(ให้ขออนุญาต share มุมมองก่อน
อย่าผลีผลามรีบพูดออกไป
ไม่งั้นน้องจะรู้สึกถูกสั่ง และรู้สึกว่า
สุดท้ายพี่ก็มีธงในใจอยู่ดี ต้องทำตามพี่อยู่ดี
แล้วจะมาถามเพื่อ??!!!
เมื่อขออนุญาตแล้ว น้องมักจะตอบว่า "ได้"
เพราะพี่ฟังเขาก่อนแล้ว
เขาจะเปิดใจอยากฟังพี่บ้าง)
- พี่มีความเห็นเพิ่มเติมว่า….
- น้องคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่พี่แชร์บ้าง
- น้องเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยตรงไหนบ้างหรอ เพราะอะไร ลองแชร์ให้พี่ฟังหน่อย
- สิ่งที่พี่เสนอ มีตรงไหนที่น้องสามารถเอาไปปรับใช้กับ project ของน้องได้บ้าง
- เอาไปปรับใช้อย่างไรดี ถึงจะเหมาะกับสถานการณ์ของน้อง
- สิ่งที่พี่แชร์ มีตรงไหน work หรือไม่ work
อย่างไรบ้าง เมื่อประเมินสถานการณ์
หรือ factorที่น้องเจออยู่
เป็นต้น
สิ่งสำคัญมาก!!!!
เมื่อเราแชร์ idea ออกไปแล้ว
เราต้องถามความเห็นน้อง เพื่อเช็คว่า
เขา buy idea เราไหม
เขาจะเอาไปปรับใช้งานอย่างไร
แบบนี้เขาจะไม่รู้สึกถูกบังคับ เพราะเขาได้คิดทบทวน และเลือกเองว่าจะเอาไปใช้อย่างไร
3. Shine
หลังจากพูดคุยตามข้อ1,2 แล้ว
สิ่งสำคัญมากคือ การเอาแผนที่ได้คุยกันไปลงมือทำ
ให้น้องได้ทำด้วยตัวเอง พี่ต้องให้โอกาส
ให้เวทีน้องได้แสดงศักยภาพ โชว์ฝีมือเต็มที่
(โดยมีขอบเขตที่พี่สามารถรับความเสี่ยง
ในการให้น้องลองผิดลองถูกได้)
เพื่อให้น้องได้เปล่งแสงออกมา(shine)
โดยพี่เป็นผู้ support อยู่ห่างๆ คอยติดตามเป็นระยะ เป็นเหมือนพี่เลี้ยง เป็นโค้ชอยู่ข้างสนาม
พี่อย่าลงไปเล่นเอง พี่อย่าทำเอง เพราะน้องที่เก่ง
มีของเยอะ จะชอบลุยด้วยตัวเอง และเขาจะรู้สึกดี เมื่อรู้ว่าพี่คอย support อยู่ หากเขาติดปัญหา
หรือต้องการที่ปรึกษา
4. Review
ระหว่างที่ทำงาน ให้มีการชวนน้องมา review
เป็นระยะ เพื่อดูว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนไหม
ติดขัดอะไรไหม ต้องมีการปรับแผนไหม
โดยใช้การตั้งคำถามชวนคุย เช่น
- project ที่ทำอยู่เป็นอย่างไรบ้าง
- เป็นไปตามแผนไหม ลองเล่าให้พี่ฟังหน่อย
- มีอะไรต้องปรับไหม ปรับอย่างไรดีถึงจะ
เหมาะสม
- น้องได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากที่ได้ลงมือทำ
- อะไรที่คิดว่าตัวเองทำได้ดี
- อะไรที่อยากพัฒนาปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม
- อยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้
ทำงานได้ดีขึ้นไหม
- อยากได้ support อะไรจากพี่ไหม
เป็นต้น
หากพี่มีคำแนะนำเพิ่มเติม หรือมี feedback
ให้ share ในตอนสุดท้าย และเช่นเคย คือ
เมื่อพี่ share เสร็จแล้ว ให้ถามความเห็นน้อง
ว่าน้องคิดอย่างไรบ้าง (ทำเหมือนในข้อ 2)
และทั้งหมดนี้คือ
โมเดล ASSR (Ask-Share-Shine-Review)
ที่จะทำให้พี่เอาชนะใจน้องที่เก่งได้
1
อ่านแล้วคิดเห็นยังไงบ้าง
ลอง comment ใต้โพสนี้ได้เลยค่ะ 😊
ถ้าคุณ​ชอบบทความนี้ สามารถอ่านบทความ​อื่น ๆ ของเล็กได้ที่นี่ด้วยนะคะ 😊https://www.lifeleklek.com/
โฆษณา