25 ส.ค. 2020 เวลา 15:27 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ECONOMY : Ant Group ของ Jack Ma มหาเศรษฐีชาวจีนเตรียมออกหุ้นใหม่อย่างน้อย 10% ของทุนทั้งหมดเพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ โดยเรื่องนี้อาจแสดงให้เห็นถึงการแยกตัวกันทางด้านการเงินและเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน
Ant Group ของมหาเศรษฐี Jack Ma ยื่นขอเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เพื่อขยายการให้บริการทางการเงินของพวกเขา และหนุนความเป็นผู้นำในฐานะแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน
บริษัทจะออกหุ้นใหม่ไม่ต่ำกว่า 10% ของเงินทุนทั้งหมด ตามเอกสารที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ ขณะที่ Ant Group สร้างรายได้ 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกำไร 3 พันล้านดอลลาร์ในครึ่งปีแรกหลังจากมียอดขาย 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2019
1
Ant Group ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของ Alibaba ที่แผ่ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว โดยได้เร่งการพัฒนาบริษัทไปสู่ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่จำหน่ายของทุกสิ่งอย่าง นับตั้งแต่สินเชื่อ บริการการเดินทาง ไปจนถึงการจัดส่งอาหารเพื่อชนะใจผู้ใช้บริการ
นอกจากนี้ บริษัทกำลังผลักดันบริการทางการเงินในวงกว้าง รวมถึงการนำเสนอเทคโนโลยีอย่างเช่นปัญญาประดิษฐ์ แพลตฟอร์มการลงทุนอัตโนมัติ และบริการ Plaform ให้กู้ยืมเงิน
การเสนอขายหุ้นครั้งนี้ อาจเป็น 1 ในการเปิดตัวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีของโลก เพราะแม้แต่การเสนอขายหุ้น IPO ของ Saudi Aramco ที่มูลค่าสูงถึง 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ก็ยังน้อยกว่าการที่ Ant Group ตั้งเป้าหมายการประเมินมูลค่าของตัวเองไว้ประมาณ 2.25 แสนล้านดอลลาร์จากการเสนอขายหุ้น IPO ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์หากตลาดอยู่ในเกณฑ์ดี
บริษัทจะใช้เงินที่ได้รับเพื่อขยายการชำระเงินข้ามพรมแดนประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา แม้ว่าเอกสารที่ยื่นจะไม่ได้ระบุช่วงราคาหุ้น หรือจำนวนเงินที่ตั้งใจจะเพิ่มในการเสนอขายหุ้น
แตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนเช่น Alibaba Group Holding Ltd. Ant Group ตัดสินใจที่จะไม่เข้าจดทะเบียนในสหรัฐฯ ในช่วงเวลาที่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากบริษัทของจีนมากขึ้นภายใต้การบริหารงานของทรัมป์
1
การจดทะเบียนในเซี่ยงไฮ้ของ Ant Group ถือเป็นชัยชนะสำหรับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราของจีน และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีนที่จะสร้างตลาดทุนเป็นของตนเอง เนื่องจากความตึงเครียดกับสหรัฐฯ ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน
บริษัท Alibaba เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Ant โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 33% ขณะที่ Hangzhou Junao ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ Ant และเป็นผู้บริหารคนสำคัญของ Alibaba ถือหุ้นอยู่ 20.66% และ Hangzhou Junhan ซึ่งถือหุ้นในนามของพนักงานอยู่ประมาณ 29.86%
Ant Group ได้เลือก China International Capital Corp., Citigroup Inc., JPMorgan Chase & Co. และ Morgan Stanley เพื่อเสนอขาย IPO ในฮ่องกง โดยบริษัท Credit Suisse ได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้ประสานงานระดับโลกร่วมกันสำหรับข้อตกลงภายในฮ่องกงของพวกเขา
ขณะเดียวกัน บริษัท CICC และ CSC Financial Co. จะเป็นผู้นำในส่วนของเซี่ยงไฮ้ โดยพวกเขากล่าวว่าจะระดมทุน 7 พันล้านดอลลาร์ลงในหุ้นของ Ant Group
การยื่น IPO เบื้องต้นทำให้เกิดความกระจ่างในการเติบโตของ Ant Group โดยปริมาณการทำธุรกรรมทั้งหมดของ Alipay มีสูงถึง 17 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนก่อนหน้ามาจนถึงเดือนมิถุนายน รวมถึงแอปยังมีผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคน และมีผู้ใช้งานต่อเดือนถึง 711 ล้านคน
นอกจากนี้ยังมีร้านค้ามากกว่า 80 ล้านแห่งใช้ Alipay ในการดำเนินธุรกิจของตนและ Ant Group ยังร่วมมือกับสถาบันการเงินมากกว่า 2,000 แห่งทั่วโลก และบริษัทยังเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของรายได้โดยได้รับแรงหนุนจากค่าธรรมเนียมในบริการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีมากขึ้น
Platform เทคโนโลยีทางด้านการเงินที่เป็น Digital ซึ่งรวมถึงสินเชื่อ บริการการลงทุน และเทคโนโลยีการประกันภัย ที่ดำเนินการภายใต้แบรนด์ต่างๆ ได้แก่ Huabei, Jiebei และ Yu'E Bao คิดเป็น 63.4% ของรายได้ในครึ่งปีแรกของ Ant Group โดยเพิ่มขึ้นจาก 56.2% ณ สิ้นปี 2019
การขายครั้งนี้จะนำโชคลาภที่เป็นไปได้มาให้แก่บริษัทหุ้นเอกชนในสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วย Silver Lake Management LLC, Warburg Pincus LLC และ Carlyle Group Inc. ซึ่งลงทุนอย่างน้อย 500 ล้านดอลลาร์ใน Ant Group เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา ขณะที่ Credit Suisse Group AG กล่าวว่าพวกเขาได้ลงทุนไป 100 ล้านดอลลาร์
เช่นเดียวกับอาลีบาบา Ant Group ได้หยุดพักการขยายตัวของพวกเขาในสหรัฐฯ เนื่องจากความตึงเครียดทางการเมืองและการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดย Jack Ma กล่าวในปี 2018 ว่าคำสัญญาของเขาที่จะจ้างงาน 1 ล้านตำแหน่งในสหรัฐฯ ไม่สามารถเป็นจริงได้เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น Ant Group จึงได้มุ่งเน้นการขยายตัวของพวกเขาในต่างประเทศที่นอกเหนือจากสหรัฐ อเมริกา โดยเฉพาะประเทศในเขตเอเชีย โดยพวกเขาได้ทำงานร่วมกับบริษัท Start Up ด้านการชำระเงิน 9 แห่งรวมถึงเจ้าของ Paytm ในอินเดียและ GCash ในฟิลิปปินส์
Kenny Wen นักยุทธศาสตร์จากฮ่องกงของ Everbright Sun Hung Kai Co. กล่าวว่า
"หุ้นส่วนใหญ่ของ Alibaba ยังคงอยู่ในสหรัฐฯ แต่การย้ายฐานการผลิตได้เกิดขึ้นแล้วและพวกเขาได้รับแรงหนุนจากผู้ถือหุ้นในระยะยาว ดังนั้นเราจึงไม่สามารถละเว้นความเป็นไปได้ที่ฮ่องกงจะกลายเป็นสถานที่จดทะเบียนหลักของ Alibaba ในอนาคต"
World Maker's View Point :
โดยสรุปก็คือ ประเทศจีนกำลังขยายตัวไปสู่บริการสำหรับผู้บริโภคและเทคโนโลยีต่าง ๆ ซุ่งประกอบด้วยบริการในระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน และการควบคุมความเสี่ยง
นอกจากนี้ยังมีข่าวออกมาว่านักลงทุนรายใหญ่ของ Alibaba ได้โยกย้ายเงินทุนของพวกเขาจากการลงทุนในหุ้น Alibaba ที่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ มาเป็นการลงทุนในหุ้นของ Alibaba ซึ่งจดทะเบียนในฮ่องกงมากขึ้นเรื่อย ๆ
จำนวนเงินทั้งหมดที่โยกย้ายไปนั้นคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ทำให้ตั้งแต่ Alibaba จดทะเบียนในฮ่องกงเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2019 ที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 40%
เรื่องนี้อาจทำให้เราเห็นชัดเจนมากขึ้น สำหรับการแยกส่วน (Decoupling) ทางด้านการเงินและเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความเคลื่อนไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีมานี้ ก็อาจเป็นการบ่งชี้ว่าการ Decoupling ในอนาคตจะทวีความรุนแรงขึ้นไปมากกว่านี้อีก
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
อยากลงทุน อยากมีเงินเก็บอย่างจริงจัง แต่ไม่มีพื้นฐาน World Maker มีคอร์สเรียนดี ๆ มาแนะนำให้ครับ รายละเอียดคลิกเลย !!
โฆษณา