28 ส.ค. 2020 เวลา 17:02 • ธุรกิจ
"Meaningful Conversation" ทำอย่างไรให้การสนทนาทางธุรกิจหรือการพรีเซ้นของเพื่อนๆเป็นไปได้อย่างราบรื่น ?
ทำอย่างไรให้คู่สนทนาของเพื่อนๆรู้สึกไม่เสียเวลาหรือเบื่อที่ได้คุยกับเรา ?
เรื่องที่ดูเหมือนจะง่าย แต่ทำให้ดีนะมันแอบยากนะ
เชื่อว่าแต่ละวันเพื่อนๆคงได้มีโอกาสพูดคุยกับบุคคลที่ 2 หรือ 3 ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน หรือเวลาพักผ่อน
โดยเฉพาะถ้าเป็น business partner หรือ เพื่อนๆต้องเป็นวิทยากร/พิธีกรจำเป็นเนี่ย จะให้ถามแค่ว่า "วันนี้อากาศดีไหมคะ ?" ก็คงเป็นเรื่องที่ดูตลกทันทีเนอะ
แต่บางทีการที่ต้องเริ่มการสนทนาก่อน ก็จะมีความกดดันเบาๆ หรือ ไม่รู้จะเริ่มยังไงเนอะ
ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้หรือไม่ งั้นมาลองสมมุติเล่นๆดูกันนะว่า ถ้าเพื่อนๆเป็นผู้ฟัง หรือเป็นผู้ถูกสนทนาในเหตุการณ์คำถามข้างล่างเหล่านี้ จะเป็นยังไง ?
- เพื่อนๆเคยถูกถามให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เราไม่ได้ชอบ ไม่รู้ หรือไม่ถนัดไหม ?
- เคยโดนเพื่อนๆมาขายของ หรือมาอธิบายเรื่องยาวๆมากกกอันนึงให้ฟัง แต่เพื่อนๆไม่อยากฟังไหม แต่ก็ต้องฝืนยิ้มไป? คำถามคือแล้วพวกเค้าคนพูดเนี่ยได้ถามเพื่อนไหมว่าอยากฟังรึเปล่า ? คงไม่เนอะ
- หรือเพื่อนๆเคยจำเป็นต้องนั่งคุยกับคู่สนทนาแล้ว มันมี dead air เกิดขึ้นหลายครั้ง จนเรายิ้มแห้งจะปากจะแตกอยู่แล้ว มีไหมเอ่ย ?
เราบอกเลยว่า ในฐานะผู้ฟัง ถ้าเราไม่ใส่ใจมากก็อาจจะมองผ่านๆไป แต่เพื่อนๆลองจินตนาการดูว่าแล้วถ้าเราเป็นผู้พูดคนนั้นละ ....... อึ๋ยย จะรู้สึกอย่างไรบ้างนะ ?
"Meaningful Conversation" หรือการทำให้บทสนทนานั้นๆมีคุณค่า ไม่ได้เป็นเพียงแต่การทำให้เพื่อนๆแค่ผ่านเหตุการณ์อันแสนอึดอัดแค่ผ่านๆไปนะ แต่มันยังช่วยให้
- สร้างคุณค่าและความสำคัญในฐานะผู้พูด หรือผู้ให้ความรู้กับเพื่อนๆด้วย
- ใครจะไปรู้ละว่า ในอนาคต อาจจะ 2 ปี หรือ ... 5 ปีถัดมา เราอาจจะจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้สนทนาวันนี้ หรือ.... เราอาจจะต้องการรับงานจากเค้าก็เป็นได้นะ แล้วทำไมถึงไม่สร้างความประทับใจตั้งแต่วันนี้เนอะ ?
- แต่ก็ต้องระลึกไว้ว่า ทุกๆสิ่งที่เราพูดนั้นอาจจะมีผลกระทบทั้งในแง่ดีหรือไม่ดี ต่ออนาคตของเรา และ คำพูดที่พูดไปโดยไม่ได้คิด มันไม่มีทางย้อนเวลากลับไปได้หรอกนะ
ทำไมพูด อะไรจึงต้องคิดก่อนเสมอนะ ? เบื่อจังเวลาโดนสอนแบบนี้ ?
เราเข้าใจนะ งั้นเราขอมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ คอนเซปของ Neuroplasticity หรือ ภาวะความยืดหยุ่นทางสมองและการรับรู้ของคนเรา
- โดยเจ้าคอนเซปอันนี้ เค้าบอกว่า สมองของคนเรามีการปรับตัว อัพเดท เพื่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- สมองและการรับรู้ของคนเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอด และนี่ละคือจุดสำคัญที่จะกระทบได้ หากเพื่อนๆพูดแล้วลืมคิดไป
ตัวอย่างที่ดีของ Neuroplasticity คือ ความคิดเห็นและจุดยืนทางการเมือง
อันนี้เราขอไม่เน้นในการพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เพียงจะหยิบยกมาเพื่อให้เพื่อนๆเห็นภาพง่ายๆ (เป็น triggy point ที่ทำให้เราเขียนง่ายด้วยละ 555)
- สมมุติว่าย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพื่อนๆอาจจะมีความคิดเห็นทางการเมือง และนโยบายการบริหารประเทศแบบหนึ่ง
- 10 ปีต่อมา เพื่อนๆได้มีทัศนคติที่เปลี่ยนไป เพื่อนๆอาจจะไม่ได้มองมุมเดิม แบบที่เคยมองในสมัยก่อน หรือ เพื่อนๆอาจจะมีมุมมองที่เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือลึกซึ้งขึ้น
- สมมุติเพิ่มนะ เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้ เพื่อนๆได้ไปแสดงจุดยืนทางการเมือง ไม่ว่าจะข้างใดก็ตามแบบรุนแรงเอาไว้ มีการพาดพิงถึงบุคคลอื่นๆอย่างเสียหาย
- และเมื่อเพื่อนๆมองย้อนกลับไปใน 10 ปีต่อมา ที่ความคิดของเพื่อนๆไปพัฒนาเปลี่ยนไป เพื่อนๆรู้สึกยังไงบ้างเอ่ย ? แล้วคิดว่าจะมีผลกระทบอะไรกับเราในตอนนี้บ้างนะ ?
ส่วนประกอบที่สำคัญ 3 อย่างของ "Meaningful Conversation"
1. การมีสติ (Conscious)
- ไม่ได้จะพูดในแง่ของธรรมะนะ คือเราจะพูดว่าเพื่อนๆต้องมีสติระหว่างที่ เรากำลังสนทนา ถาม หรือ ตอบ ว่า ณ ตอนนี้เรากำลังพูดอะไร หรือ เรากำลังได้ยินอะไร
2. การรับรู้เอาใจใส่ ความสนใจ (Mindfulness)
- ในที่นี้คือการที่เพื่อนๆรับรู้ถึงสถานการณ์ หรืออารมณ์ต่างๆ เช่น ความรู้สึก โกรธ ไม่พอใจ หรือมีความสุข ทั้งตัวเราและผู้พูด ตรงนี้จะทำให้การสนทนานั้น ไปได้ไหลรื่นมากๆ
- หรือเอาสั้นๆคือ ใส่ใจกับสภาพแวดล้อมข้างๆตัว และความรู้สึกของผู้สนทนาบ้าง อย่ายึดติดแต่สิ่งที่ตัวเองจะมาพูด หรือ ขาย นะ
3. ความอยากรู้อยากเห็นในมุมที่ดี (Curiosity)
- ในทีนี้เราไม่ได้บอกว่า เพื่อนๆต้องเป็นเจ้าหนูทำไมนะ
- แต่คือการเปิดใจรับรู้ ในเรื่องราวใหม่ๆ ที่เราไม่เคยรู้
- ยอมรับว่าเราไม่รู้บ้าง ไม่เสียหน้าหรอกนะเพื่อนๆ
- และมากกว่านั้นคือ ความ Curiosity นี้อาจจะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจผู้สนทนามากขึ้นได้นะ ว่าทำไมเค้าเบื่อ ? เค้าดูไม่อยากคุย หรือ ทำไมเค้าไม่พอใจ ?
ถ้าเพื่อนๆไม่รู้จะเริ่มยังไง ให้การสนทนาอันนี้ดูมีคุณค่า งั้นเพื่อนๆลองถามตัวเองเล่นๆในหัวแบบนี้ก่อน
- เพื่อนๆจะคาดหวังสิ่งที่ได้จากการพูดคุยนี้อะไรบ้าง ? ผู้สนทนาละ เค้าจะได้รับอะไรบ้าง ?
- อะไรที่ทำให้เราทั้งคู่ต้องมาเจอกัน คุยกัน เป้าหมายคืออะไร ?
แต่ใจเย็นๆก่อนนะ ถ้าเพื่อนๆแบบ แงงง ชั้นก็ไม่รู้อยู่ดีและยังตอบคำถามด้านบนยังไม่ได้
- ไม่เป็นไร สูดหายใจเข้าเยอะๆ มีสตินะ
- เปิดใจของตัวเองให้ยอมรับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสนทนาให้ได้
- พยายามนึกถึงเป้าหมาย และสิ่งที่เพื่อนๆต้องการจะสื่อให้ได้มากที่สุด
- ในขณะเดียวกัน พยายามฟังให้มากๆด้วยนะ :)
เพื่อนๆเคยไหมแบบว่า คุยๆอยู่แล้วดูเหมือนการสนทนาของเราทั้งคู่มันดูหลุด ออกทะเลไปไกลแล้ว ? แล้วทำยังไงหว่า ?
- เราชอบวิธีของการจด Note มากๆเฃบ แต่จดเป็นแบบ bullet point นะ
- หลุดเมื่อไรเราก็แวะมา ที่ note เพื่อทำให้การสนทนานั้นกระชับขึ้น และกลับขึ้นฝั่งมาได้
- หรือที่เรามักจะรู้กันกับคำว่า Structure meeting
หรือเพื่อนๆเคยไหม ประชุมมาทั้งวัน แล้วประชุมสุดท้ายที่สำคัญในตอนเย็นสมองเรามันดันล้าซะแล้ว ทำยังไงดี ?
- อันนี้ไม่ยากเลย เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ เทน้ำออกจากแก้วก่อน (อันนี้เปรียบเปรยนะ)
- คือเพื่อนๆ หยุดพักสักแปปนึงก่อน พักให้น้ำ(เรื่องราวต่างๆ) ได้ไหลออกจากแก้ว(ในหัวของเพื่อนๆ) ซะก่อนนะแล้วค่อยใช้แรงเฮือกสุดท้ายในการลุยต่อ !
การสนทนานั้นๆจะไม่มีคุณค่าหรือคุณภาพเลย หาก ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างๆจะพูดในสิ่งที่ตัวเองเตรียมมาพูด
วิธีแก้นั้นไม่ยากเลย (พูดง่ายแต่อาจทำยากนะ 555)
1. Set Timing
- ดูว่าเวลาทั้งหมดของการสนทนาคือเท่าใด แล้วทำการแบ่งเวลาของการพูด ทั้งของเพื่อนๆเอง และคู่สนทนาให้เรียบร้อย
- บอกไปก่อนการเริ่มการคุยได้เลยยิ่งดีนะ
- อย่างเราเองก็ชอบที่จะบอกเรื่องเวลาก่อนเลย เพราะว่าผู้สนทนาจะได้มีการวางความคาดหวังเอาไว้ได้ถูกต้อง รวมถึงเวลาที่พวกเค้าต้องใช้
2. Listening
- สั้นๆเลยอันนี้ Active listening ถ้าเราอยากให้เค้าฟังเรา เราก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีก่อนนะ
3. Agenda and Plan จำเป็นต้องมีไหม ?
- ถ้าเพื่อนๆอยากให้การสนทนาราบรื่น บางที การที่เรายึดติดกับตาราง หรือหัวข้อ มากจนเกินไป อาจทำให้การสนทนาดูน่าเบื่อมากๆเลยละ
- เว้นแต่ว่าเพื่อนๆจะเป็นวิทยากร ซึ่งอันนั้นแล้วแต่วิธีคงแต่ละคนเนอะ
4. Confidence
- ในช่วงที่เพื่อนๆพูด อย่าลืมว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะงั้น เราต้องใช้เวลาของเราอย่างเต็มที่ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คืน ความมั่นใจ !
- พูดอย่างมั่นใจ และผู้คุมการสนทนาในส่วนของเรา .... คุมในทีนี้ไม่ใช่การบังคับการสนทนานะจ้า แต่เป็นการที่เราสามารถเรียกการ engagement หรือการมีส่วนร่วมจากคู่สนทนาได้นั้นเองงงง
Curious อย่างไร ให้ไม่ดูน่ารำคาญ ?
- การทำถามคำถามที่เหมาะสม กับสถานการณ์ของผู้ฟังหรือผู้พูด
- ถามคำถามให้กระชับ จำนวนไม่ควรจะเยอะมากนะ
- ถามคำถามปลายเปิด (Open question) เพราถ้าถามเป็น close end มันก็จะต้องตอบได้แค่ Yes or No แบบนี้ยากเลยละ เดี๋ยวจะมาคุเพิ่มไปอีกได้นะ
เป็นยังไงกันบ้างเพื่อนๆ เราเขียนยาวไปไหมน้า ? แต่คิดว่าคงไม่หนักหัวกันเกินไป
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนได้น้าา :):)
References:
- และความคิดของผู้เขียนเอง :)
โฆษณา