1 ก.ย. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง
หนังสือที่ช่วยจะระเบียบความคิด จดโน้ตให้เป็นมิตรกับสมอง
สรุปโดย: SenseiPae
ถ้าผมถามว่า กลางเดือน สิงหาคม
วิชาภาษาอังกฤษ ปี 1 เทอม 1 ที่เรียนในมหาวิทยาลัยนั้น
อาจารย์สอนอะไรเราบ้าง
หนึ่งวิธีที่พอจะนึกออกคือ ย้อนกลับไปดูว่า สมุดจดโน้ตของตัวเองเขียนอะไรไว้บ้าง
อันที่จริงแล้วการจดโน้ตนั้นมีมานาน
จดกันตั้งแต่อนุบาลยันมหาวิทยาลัย
และลากยาวไปจนถึงการทำงาน
และประสิทธิภาพของการจดโน้ตนั้น
ก็มีส่วนกับความสำเร็จในชีวิตไม่น้อย
1
แต่เป็นเรื่องแปลกที่ไม่เห็นมีหน่วยงานไหน
ออกมาให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการจดโน้ตให้มีประสิทธิภาพ
ผมเลยไม่แปลกใจเท่าไหรที่ บทความแรกๆของสรุปให้อย่าง
“5 วิธีจดโน้ต ที่ Oxford แนะนำ” กลายเป็น Content
ที่มีคนแชร์กว่า 2,000 ครั้ง ยอด Reach กว่า 155,000 ครั้ง
หนังสือดีๆเกี่ยวกับการจดโน้ตมาไม่น้อย
เล่มนี้ก็จัดเป็นหนึ่งในนั้นครับ
“จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง”
仕事のスピード・質が劇的に上がるすごいメモ
มาเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนจดโน้ตเก่งกัน
<1> Konishi Yoshiyuki / 小西利行
นักเขียนที่เชี่ยวชาญเรื่องการสื่อสาร
ออกหนังสือใน AMAZON มาแล้ว 2 เล่ม
伝わっているか? 宣伝会議
Tsutawatteiruka? Senden Kaigi
หนังสือเกี่ยวกับการประชุม ในปี 2014
2. 仕事のスピード・質が劇的に上がる すごいメモ
Shigoto no supido・Shitsu ga gekiteki ni agaru Sugoimemo
ก็คือเล่มนี้ที่เราอ่านนั่นเอง
นอกจากนี้เขาก็ยังเป็น Creative นักโฆษณา คนเขียนบทละคร
ผู้ใช้เทคนิคการจดโน้ตต่างๆในหนังสือเล่มนี้สร้างสรรค์ผลงานของเขา
โดยตัวอย่างในหนังสือส่วนใหญ่เป็นการจดโน้ตเพื่อคิดงานโฆษณาของเขา
ทำให้มันสนุกและน่าสนใจเป็นพิเศษครับ ยิ่งสาย Creative ไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้เลยฮะ
(ในตัวอย่างมีแบรนด์ดังๆที่เขาร่วมงานด้วยเยอะมากๆ)
เหตุผลที่ Creative ตัวพ่ออย่างเขาลุกขึ้นมาเขียนหนังสือเล่มนี้
ก็เพราะว่าเขามีความเชื่อว่า การจดโน้ตเกี่ยวข้องการทุกขั้นตอนการทำงาน
1.เรียบเรียงประเด็นสำคัญ
2.กำหนดเป้าหมาย
3.พิจารณาวิธีแก้ปัญหา
4.ค้นหาไอเดีย
5.ให้คำแนะนำ
ถ้าจดโน้ตได้ดีก็จะมีส่วนช่วยให้ สิ่งที่ต้องทำในการทำงาน
ทั้ง 5 อย่างนั้นมีคุณภาพมากขึ้น
2
ส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยนะครับ เพราะโน้ตนั้นมีความคิดในช่วงเวลา
ต่างๆกันไปของตัวเราอยู่วันนั้นเราอาจจะมองไม่เห็นอะไรที่ซ่อนอยู่ภายใต้
ตัวอักษรและภาพนั้น แต่วันหนึ่งเมื่อย้อนกลับมาดูและเชื่อมโยงอะไรได้บางอย่าง
เราจะสามารถทำงานได้ดีขึ้นแน่นอน
1
พวกเราล่ะครับเห็นยังไง
หนังสือเล่มนี้บอกประโยชน์ของการจดโน้ตไว้ 7 ข้อด้วยกัน
1
1. ทำงานสนุกขึ้น
2. ทำงานเร็วขึ้น
3. นำไอเดียกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
4. คิดไอเดียออกได้ง่ายขึ้น
5. ทำงานเก่งขึ้น
6. ถ่ายทอดเรื่องสำคัญให้คนอื่นเข้าใจได้
7. มีความเป็นผู้นำ
ซึ่งผลลัพธ์ของทั้ง 7 อันนี้อาจจะสรุปได้ว่ามาจาก
ประโยชน์ทางตรงดังนี้
1.จำได้ไม่ลืม (ลืมก็กลับไปเปิด)
2.ลดภาระสมอง (เอาพลังงาน เวลา ไปโฟกัสงานได้)
3.ค้นหาข้อมูลได้ง่าย (สร้างความเชื่อมโยงได้ไม่รู้จบ)
ถ้าบอกว่าการทำเพจสรุปให้ คือการจดโน้ตให้ตัวเองอ่านด้วยเช่นกัน
ผมก็รู้สึกว่า ตัวเองมีทรัพยากรในการไปต่อยอดหนังสือได้เยอะมากขึ้นจริงๆ
(เรียกว่ามีไอเดียทำหนังสือได้อีกหลายเล่มเลย)
1
หนังสือเล่มนี้ให้ไอเดียที่น่าสนใจไว้อีกอันว่า
การจดโน้ตนั้นจริงๆแล้วช่วยให้ตัวเองในอนาคตจำเรื่องวันนี้ได้
2
3 วิธีจดโน้ต
มี 14 เทคนิคย่อยๆด้วยกัน
สรุปข้อมูล
A-1 วงกลม
A-2 ลูกศร
A-3 บอลลูน
A-4 สัญลักษณ์
B. หาไอเดีย
B-1 โน้ตคำถาม
B-2 โน้ตการ์ตูน
B-3 แผนภาพสามเหลี่ยมสีดำ
B-4 แผนภาพสามเหลี่ยมสีขาว
B-5 โน้ตเชื่อมโยง
B-6 โน้ตคิดตรงกันข้าม
C. ถ่ายทอด
C-1 หัวเรื่อง
  C-2 แผนภูมิ
C-3 นำเสนอ
1
และ พิเศษ คือ โน้ตแบบเซียน
สรุปให้ขอเสนอ A-1,2,3 B-1
นะครับ
เทคนิคที่เหลือก็ดีมากอยากให้หามาอ่านกัน
วิธีนี้คล้ายกับการใส่ Bullet ในหนังสือเปลี่ยนยากเป็นง่ายด้วยการคิดบนกระดาษหนึ่งใบที่คนญี่ปุ่นใช้ แต่จะมีกฏเพิ่มเติมให้
คือ วงกลมควรน้อยกว่า 3 ในโน้ตหนึ่งหน้า วงกลมใส่ตรงที่ลืมง่าย หรือ มีข้อสงสัย เพื่อให้มันเป็นป้ายบอกทางเวลาย้อนกลับมาอ่าน
การใส่ ลูกศร คือจัดสร้างระเบียบให้ข้อมูล
ช่วยให้สิ่งต่างๆที่จดปะติดปะต่อกันได้มากยิ่งขึ้น
3
ดูจากตัวอย่างก็จะเห็นว่า ข้างซ้ายเราจะไม่เห็นความเชื่อมโยงใดๆแต่การจดโน้ตแบบข้างขวาจะช่วยให้เราเชื่อมโยงข้อมูลได้ดีขึ้น
วิธีนี้ก็คล้ายๆกับ หนังสือ คิดเป็นภาพ
図で考える、シンプルになる
ของคุณ Sagurada Jun นักทำอินโฟกราฟฟิกชื่อดังของญี่ปุ่น
(หนังสือมีสรุปไว้เช่นกันลองไปตามอ่านกันได้ในเพจนะครับ)
ใส่บอลลูน หรือ ในที่นี้ อาจจะใช้คำว่าใส่ Dialog box
(ช่องคำพูด) ก็คงพอได้
บอลลูนใช้สำหรับ หาจุดเริ่มต้นหาข้อมูลในการจดโน้ตนั้นๆ
คุณ Konishi กล่าวว่า ถ้าเทคนิควงกลม และ ลูกศร
คือการเตรียมวัตถุดิบ เทคนิคบอลลูนก็คือการทำอาหารเลิศรส
จากวัตถุดิบนั้นนั่นเอง
บอลลูน ใช้หลังจากที่โน้ตไปแล้วและกลับมานั่งทบทวนความคิด
เหมาะสำหรับการมองหา จุดเริ่มต้นของไอเดีย หรือ เรื่องเล่า (ในงานโฆษณา)
ไขข้อสงสัย ที่ตอนจดโน้ต อาจจะมองไม่ออก หรือ คิดต่อยอดจากสิ่งที่บันทึกไว้
สำหรับผมเวลาสรุปหนังสือเมื่อก่อนก็ไม่ค่อยยอมเขียนอะไรบนหนังสือ
(คนรักหนังสือทุกคนคงเข้าใจ) แต่ตั้งแต่เปลี่ยนมา ทำแบบ Bill Gates
หรือคุยกับหนังสือ ผมรู้สึกได้เลยว่าตัวเองจดจำเนื้อหาและนำไปใช้ได้เยอะขึ้นมากจริงๆ
เทคนิค บอลลูน ก็คงคล้ายๆกันเพียงแต่ เราต่อยอดจากโน้ตของตัวเอง
ไม่ใช่หนังสือ
โน้ตสำหรับการหาไอเดีย
Carl Jung นักจิตวิทยา
ผู้คิดค้นแบบสำรวจ MBTI
หรือ ลักษณะนิสัยของคน 16 ประเภทกล่าวว่า
แค่เราตั้งคำถามที่ใช่ ก็เรียกได้ว่าแก้ปัญหา
สำเร็จไปกว่าครึ่ง
จงวาดรูป กับ
จงวาดรูปด้วยการใช้แค่ 3 สีเท่านั้น
12
ยิ่งคำถามชัดเจนเท่าไหร
กรอบความคิดและไอเดียของเรา
ก็จะออกมาง่ายเท่านั้น
นี่คือเทคนิคหลักๆของ โน้ตคำถาม ในหน้าถัดไปครับ
โน้ตสำหรับการหาไอเดีย
B-1 โน้ตคำถาม
แทนที่เราจะเขียนโน้ตได้เรื่อยเปื่อยเวลาหาคำถาม
เราก็เริ่มต้นด้วยการถามคำถามดีๆกับตัวเอง
หรือทีมงานของเรา
หลังจากนั้นก็ปล่อยให้สมองทั้งสองซีกได้ทำงานบนพื้นฐานนั้น
2
โน้ตซ้ายมาคือการจดไปเรื่อยไม่มีจุดหมาย
ส่วนโน้ตขวาคือการเริ่มต้นจากการตั้งคำถามดีๆ
ว่า ทำยังไงถึงจะเป็นนักเขียนได้
เมื่อนำมารวมกับ เทคนิค วงกลมและบอลลูน
ก็ทำให้โน้ตนั้นทรงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โฆษณา