30 ส.ค. 2020 เวลา 16:49 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ระบบการรับรู้ถึง "ความเสี่ยง (Risk)" ในสมองของพวกเรา มีลักษณะอย่างไร และ ทำงานอย่างไร ?
ทำไมเราถึงได้รับรู้ว่า อะไรที่เสี่ยง หรือควรจะหลีกเลี่ยง ? หรืออะไรที่มันปลอดภัย ?
ลองมาคิดตามกันก่อนนะ
ก่อนที่ Covid จะระบาด เวลาเพื่อนๆเห็นใครใส่หน้ากากแล้วจะรู้สึกยังไงบ้าง ?
หรือถ้ามีคนที่ลักษณะรูปร่างใหญ่โตและน่าตาที่ไม่เป็นมิตรสบตาเพื่อนๆ รู้สึกยังไงกันบ้าง ?
หรือในช่วงที่ Covid ระบาด หรือมีการ Lockdown เวลาที่เพื่อนๆต้องเจอจุดสัมผัสร่วมเช่น ลิฟท์ในคอนโดหรือหอพัก เพื่อนๆรู้สึกยังไงบ้าง ?
เราว่าเกิน 90% น่าจะตอบว่า รู้สึก อึดอัด ไม่สบายใจ หรือ มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวเราเนอะ
มันค่อนข้างน่าสนใจเลยนะเพื่อนๆ ที่เราจะลองมามองดูว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราคิดแบบนั้น หรือประเมิณความเสี่ยงในรูปแบบนั้นๆ ? หรือถ้าเราเป็นคนขี้ระแวงมากๆ เราจะจัดการกับความคิดนั้นยังไงบ้าง ?
แน่นอนละ นั้นคือการที่เรามีสติรับรู้เนอะ
งั้นบทความนี้ เราจะย่อยให้เพื่อนๆฟังกัน !
การรับรู้ และการประเมิณความเสี่ยง เกิดจากสภาพแวดล้อมและสังคมที่เราโตมาตั้งแต่เด็กๆ
- เหตุผลง่ายๆเลยนั้นก็เพราะ ความรับรู้แบะความนึกคิดของพวกเรายังไม่ได้มีการปรุงแต่ง หรือเอาง่ายๆคือ Innocent นั้นเอง และสมองของเรากำลังเติบโตและเรียนรู้
- เพราะฉะนั้น ในช่วงวัยเด็กนี้ การที่เรารับรู้ว่า ตัวอย่างให้เพื่อนๆมองภาพง่ายๆกัน
ถ้าเราอยู่ใกล้เพื่อนๆที่ป่วย เราก็จะป่วย >> เพื่อนๆที่ป่วยก็มักจะสั่งน้ำมูกด้วยผ้าเช็ดหน้าซ้ำๆ >> เพื่อนๆที่พกผ้าเช็ดหน้าตลอดเวลา = เพื่อนที่มีความเสี่ยงที่จะป่วย
- การรับรู้ง่ายๆเหล่านี้ มันฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเพื่อนๆแบบที่เราไม่รู้ตัวนะ นั้นอาจทำให้เกิด phobia ชนิดต่างๆได้ด้วยเช่นกัน
พอเราโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา การประเมิณความเสี่ยงต่างๆก็ขึ้นอยู่กับเหตุผล เช่นข้อดีและข้อเสีย (Pros and Cons)
- นั้นก็เพียงแค่เราจะหาข้อสรุปวา สิ่งนี้เป็นภัยกับเราจริงๆหรือไม่ ?
และที่มากกว่าการรับรู้ความเสี่ยงทางเหตุผล ก็คือ การรับรู้ความเสี่ยงทางอารมณ์ ที่เพื่อนๆคุ้นกับคำว่า Cognitive Biases
- และด้วยเหตุผลนี้เอง ความกลัว (Fear) จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิด bias ต่างๆได้
- การตัดสินใจในเชิง Risk decision-making มักจะเกิดขึ้นอย่างผิดพลาดหาก อารมณ์เป็นตัวนำพาเลย หรือที่เราเรียกว่า ไม่ได้สตินั้นเองงนะเพื่อนๆ (unconscious)
แล้วสมองพวกเรา รับรู้ถึงความเสี่ยงอย่างไร ?
- เริ่มจากต่อมสมองส่วนที่เล็กมากๆของเรา ที่ชื่อว่า Amygdala หรือที่เรารู้จักว่า "เมล็ดถั่วจอมขี้กลัว"
- โดยเจ้าสมองส่วนเล็กๆอันนี้ละ ที่ทำหน้าที่ บันทึกความทรงจำต่างๆ และหน้าที่ทำสำคัญของเค้าก็คือ การทำหน้าที่ส่งการรับรู้ความกลัวไปยังสมองส่วนอื่นของเพื่อนๆ
จุดสีฟ้านี่เอง เจ้าเมล็ดถั่วแห่งความกลัว Thoughco.com
- แต่ถ้าเพื่อนๆตัดเจ้าเมล็ดนี้ออก เพราะไม่อยากกลัว ก็ไม่ได้นะ !
- เพราะเจ้าเมล็ดในสมองเรานี่ละ เป็นตัวที่สร้างการเชื่อมต่อของการปรับตัวต่อสภาวะความกลัว (Fear condition) หรือเอาง่ายๆก็คือ การประเมิณความเสี่ยง และเหตุการณ์ เช่น เราเจองูอยูาข้างหน้าเรา โดยข้างๆเราก็ดันเป็นพุ่มหญ้าสูงอีก งั้นเราควรจะทำยังไงดี อยู่นิ่ง ? ค่อยๆขยับ ? หรือ วิ่งหน้าตั้งไปเลย ? ถ้าไม่ผิดพลาดเพื่อนๆไม่น่าจะเลือกตีงูนะ 555
- หรือแม้กระทั่งความกลัวที่สูง หรือ จริงๆแล้วไม่ได้กลัวความสูงแต่กลัวตัวเลขบอกระยะความสูง ก็มากจากเจ้าน้องต่อมนี้ละ
ตัวอย่างการทำงานง่ายๆ ของต่อม Amygdala หรือ เมล็ดถั่วความกลัวแบบง่ายที่สุด
- ก่อนเหตุการณ์ Covid ถ้าเพื่อนๆเจอคนใส่ Mask บนรถไฟฟ้า แน่นอนว่า เราจะเกิดความมโนความกลัวต่างๆนานา เช่น คนนี้เค้าใส่หน้ากากหันด้านใดออกมา ? เค้าใส่ทำไม หน้ากา pm2.5 หรือหน้ากากกันแพร่เชื้อโรค ?
ชั้นควรจะอยู่ห่างๆเค้าใช่หรือไม่ ? (แน่นอนว่า ต่อม Amygdala จะตอบว่าใช่จ้า)
- แต่ปัจจุบันนี้ ภายใต้ภาวะ New Normal พวกเราจะรู้สึกปกติมากๆกับคนใส่หน้ากาก ไม่ว่จะเป็นแบบใดก็ตาม
- ไม่มีใครหาว่า Panic หรือ Overacting แต่กลับกัน เราอาจจะระแวงคนที่ไม่ยอมใส่หน้ากากด้วยซ้ำ
เดี๋ยวเราจะพูดต่อว่า เค้ามีการทำงานร่วมกับสมองส่วนอื่นยังไง ? (เพราะลำพังแค่เจ้าเมล็ดอันนี้ คงไม่สามารถช่วยเราประมวลผลได้ขนาดนั้น)
จะบอกว่าความกลัวและการประเมิณความเสียง ไม่ใช่แค่ขึ้นอยู่กับต่อม Amygdala เพียงลำพัง แต่สมองส่วน Ventromedial prefrontal cortex ยังมีหน้าแบกรับต่อ
- เอาง่ายๆเลยนะ เจ้าสมองส่วนนี้จะเป็นส่วนที่คอยประมวลผลเพิ่มเติมว่า เจ้า"เมล็ดถั่วแห่งความกลัว" เนี่ย มันเวอร์ไปรึเปล่า ?
- ก็คือ เจ้า Amygdala "เมล็ดถั่วแห่งความกลัว" มันเป็นเพื่อนรักกับ Ventromedial prefrontal cortex โดยทุดครั้งที่เค้ากลัว เค้าก็จะรีบบอกเพื่อนทันที ก็คือสมอง 2 ส่วนนี้มีการทำงานร่วมกันนั้นเอง
- โดยหน้าที่หลักๆของ Ventromedial prefrontal cortex ก็จะประมวลผลว่า "โอเค ! เจ้าเรื่องความกลัวเนี่ย มันร้ายแรงแค่ไหน ? เราจะสู้กับมันยังได้บ้าง? หรือจริงๆมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ?" โดยผ่านการรับรู้จากเจ้าเมล็ดถั่วเป็นตัวนำสื่อมาครั้งแรกนี้ละ
- และเจ้าสมองส่วน Ventromedial นี้ละ ที่ช่วยทำให้เจ้า "เมล็ดถั่ว" เข้าใจอะไรได้มากขึ้น หรือมีการปรับตามสภาวะ เช่น เกิด Covid ขึ้น เลยทำให้การใส่หน้ากากเป็นเรื่องปกติ ไม่น่ากลัวแล้ว, คนใส่หน้ากาก = ไม่เป็นโรค ปลอดภัย
ตัวการแห่งความรู้สึกหมดหวัง สูญเสีย ที่เข้ามาเล่นกับ Decision making ของเรา ขอแนะนำให้รู้จัก "Insula Cortex"
- โดยเจ้า Insula เนี่ยจะเป็นตัวผลิตสารสื่อที่ทำให้เรารู้สึกเกิดความ กังวล ความผิดหวัง หรือความรู้สึกในแง่ลบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความกลัว
- และความรู้สึก Disgusted หรือความรู้สึกรังเกียจ ขยะแขยง
- โดยเจ้าความรู้สึก disgusted นี้ละที่ทำให้เวลาเราได้กลิ่นอาหารประหลาดๆ ก็ทำให้เราคิดว่า นี่มันหมดอายุหรือยังน้า ? ชั้นไม่ควรกินมัน กลิ่นมันแปลกๆนะ ?
- และเพื่อนๆรู้ไหมว่า ความรู้สึกที่ชัดเจนที่ส่งผลจากการทำงานของเจ้า Insula คือ การถอยห่าง หรือการหนีไปจากสิ่งนั้น !
- และนั้นอาจนำมาสู่ การหลีกหนีต่อการเผชิญหน้ากับความเสี่ยง
- ทีนี้เพื่อนๆก็พอจะเข้าใจเพิ่มเติมในเรื่องของ ความ sensitive ของแต่ละคนเนี่ย ไม่เท่ากัน เป็นยังไงแล้วเนอะ
- และเพื่อนๆจะเห็นได้ว่า Risk & Disgust หรือ ความเสี่ยง กับ ความน่ารังเกียจ เนี่ย แค่พูดมาเราก็พอจะรู้สึกได้จากคำความหมายของเค้าเองอยู่แล้วละ
และเมื่อระบบการสื่อสารในสมองของเรา ทำงานจนถึงขีดสุดสำหรับการประเมิณความเสี่ยง ว่าเราไม่อาจหลีกหนีได้ หรือเกินกว่าจะที่รับหรือคิดไหว มันก็เลยมีประโยคสุดคลาสสิคว่า "ช่างมัน ช่างมันเถอะ" (เอาแบบสุภาพนะก้าบบ แห่ะๆ)
ยาวมาก แต่สุดท้ายแล้ว เพื่อนๆก็คงคิดว่า อ้าว เรารู้ที่มาของการทำงานเหล่านี้แล้ว แต่ชั้นควบคุมมันไม่ได้นี่ แล้ว Simple Journey แกรจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ชั้นฟังทำไม ?
คือหยั่งงี้เพื่อนๆ เราต้องดูว่าอะไรคือสิ่งที่เราควบคุม Risk ได้นะ อาจจะเป็นสิ่งเหล่านี้ (ด้านล่าง)
- เรื่องของ Covid :
>> หมั่นเช็คข่าวสาร และอัพเดทอยู่ทุกๆวัน เพื่อช่วยให้เราประเมิณสถานการณ์ได้ดีขึ้น (ข่าวสารนี้คือ ข่าวทั่วโลกที่เกี่ยวกับโควิดนะจ้าาาา)
>> Physical distancing !
>> สวมหน้ากากทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน
- เรื่องของ ภัยคุกคามด้านผู้คน
>> พยายามอย่าเดินที่เปลี่ยวตอนกลางคืน
>> อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจใครง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องเงิน และ ร่างกาย
>> หรืออาจจะเป็น หลีกเลี่ยงการเซ็นค้ำประกัน ก็ยังช่วยได้เลย
คือจริงๆมันมีหลายวิธี หลายมุมมองมากๆเลยนะ ที่เราจะพัฒนาสมองของเราให้ เสพหรือรับข้อมูลในเชิงป้องกัน
เราไม่มีทางไปสั่งระบบสมองว่าห้ามคิด ห้ามสื่อสารได้หรอก
ยิ่งถ้าไปเอาน้องๆออกเนี่ย ยิ่งไม่ได้ใหญ่เลย เพื่อนๆคงไม่อยากเป็นไร้อารมณ์หรอกเนอะ ?
จบแล้วจ้าาาา หวังว่าคงไม่ยาวเกินไปนะ ฮืออ T^T
และหวังว่าคงจะเป็นอาหารสมองดีดีให้กับเพื่อนๆเหมือนเดิม
สุขสันวันจันทร์กันจ้าาาาาาา :):):)
โฆษณา