17 ก.ย. 2020 เวลา 12:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
AI มาอาชีพไหนบ้างจะตกงาน?
AI กับงานในสายตาของคนดังแห่งยุค
“AI will make jobs kind of pointless” AI จะทำให้อาชีพของคุณเหมือนไร้ความหมายไปเลยกล่าวโดย Elon Musk ระหว่างการโต้วาทีกับ Jack Ma ในเรื่องของ AI กับอาชีพของคนในอนาคตในงาน World Conference on Artificial Inteligence (WAIC) ปีที่แล้ว Elon Musk คิดว่าอาชีพสุดท้ายของมนุษย์คือนักพัฒนา software AI ก่อนที่สุดท้ายแล้ว AI จะเขียน software ด้วยตัวเองเป็น (ถ้าเป็นคนอื่นพูดเราคงคิดว่าเขาพูดเล่นแต่นี่ดันมาจาก Elon Musk คนพูดจริงทำจริง)
แต่ดูเหมือนจะมีแค่ลูกพี่ Elon Musk คนเดียวที่มีมุมมองของ AI แบบ extreme ในทางกลับกัน Tech Entrepreneaur คนอื่นอย่าง Bill Gates Jack Ma และ Jeff Besozs กลับมองเรื่อง AI กับอาชีพในแง่บวก พวกเขาเหล่านี้มองการมาของ AI เป็นการทำลายเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีแห่งยุคได้ทำมาตลอดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ อาชีพเดิมๆที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพน้อยกว่า AI จะถูกแทนที่ แน่นอนว่าในระยะสั้น AI อาจจะทำให้เกิดการตกงานครั้งมหาศาล แต่ในระยะยาวแล้วมันจะมีอาชีพใหม่ๆที่ได้รับผลประโยชน์จาก AI โผล่ออกมา
1
ยกตัวอย่างเช่นการมาของ Social Network นั้นได้เข้ามาสั่นสะเทือนวงการสื่อและโฆษณาทางทีวีเป็นอย่างมาก บริษัทผู้ผลิตรายการทีวีหลายรายต้องปลดพนักงานจำนวนมากเพื่อลดต้นทุน แต่การมาของ Social Network ก็ก่อให้เกิดอาชีพใหม่จำนวนมากเช่น Influencer Bloger Content Creator และอื่นๆ อย่างไรก็ตามมันก็มีความกังวลที่ว่าหากเป็นกรณีของ AI แล้วอัตราการเกิดขึ้นของอาชีพใหม่อาจจะไม่เร็วเท่าอาชีพเก่าที่หายไปเพราะเรากำลังพูดถึงเทคโนโลยีที่สามารถตัดสินใจและพัฒนาตัวเองได้ด้วยซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในอดีต
Kai Fu Lee ได้คาดการณ์ไว้ว่าการแทนที่ของอาชีพจาก AI จะเกิดขึ้นเร็วจนเราไม่ทันตั้งตัวเพราะปัจจัยทางด้านพื้นฐานของเทคโนโลยีที่แตกต่าง หากเราย้อนกลับไปในยุคการปฎิวัติอุตสหกรรม นวัตกรรมใหม่ๆนั้นเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรและหุ่นยนต์ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น Hardware การแพร่หลายของนวัตกรรมเหล่านี้จึงเป็นไปได้โดยช้าเพราะต้องใช้เวลาในการผลิตและขนส่งที่นาน แต่ AI เป็น software มันสามารถถูกส่งไปที่ในก็ได้ในโลกได้ทันทีและพร้อมใช้งานได้เลย
1
งานประเภทไหนที่จะอยู่รอดในสายตาผู้เชี่ยวชาญ
อย่างที่เราได้ยกตัวอย่างไปแล้วในบทความที่แล้วไม่เพียงแต่อาชีพที่ต้องใช้แรงงานเท่านั้นที่จะถูกแทนที่โดย AI แต่อาชีพที่ต้องใช้ความถนัดเฉพาะทางหรืออาชีพระดับขั้นบริหารก็อาจจะโดน AI แย่งงานได้เช่นกัน แล้วเราจะเอาอะไรมาวัดละว่าอาชีพที่เราทำอยู่มีความเสี่ยงแค่ไหนที่จะถูก AI แทนที่ในอนาคต Kai Fu Lee นักวิจัยด้าน AI ชื่อดังคนเดิมมีคำตอบมาให้ครับ เขาได้แบ่งอาชีพออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆซึ่งก็คือ
1. Safe Zone (โซนปลอดภัย)
2. Danger Zone (โซนอันตรายมาก)
3. Human Veneer (โซนอันตรายน้อย)
4. Slow Creep (โซนอันตรายน้อย)
1
สำหรับอาชีพใช้แรงงาน Lee มองว่า เรื่องมนุษย์สัมพันธ์ ความละเอียดอ่อน และความคงที่ของสภาพแวดล้อมคือปัจจัยสำคัญที่จะบอกได้ว่าอาชีพไหนจะถูก AI แทนที่
- งานที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูงมีความเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานต่ำ ไม่ว่า AI จะฉลาดแค่ไหนมันก็ไม่สามารถที่จะเลียนแบบมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างคนกับคนได้
- งานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำงานสูงมีความเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานต่ำ ในปัจจุบันถึงแม้เราจะมีหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI มาทำงานบางประเภทเช่นหุ่นยนต์แยกสินค้าที่ควบคุมโดย AI AI จะจำแนกสินค้าได้เองโดยอัตโนมัติและสั่งการหุ่นยนต์ให้แยกสินค้าไปในที่ๆต้องการ นี่คือตัวอย่างของงานที่ใช้ความละเอียดอ่อนต่ำ แต่ถ้างานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูงเช่นพนักงานนวดในสปาซึ่งต้องคำนวนแรงบีบนวดและตำแหน่งที่แม่นยำในการนวดลูกค้า งานประเภทนี้ต้องใช้ความละเอียดอ่อนเยอะสูงซึ่งหุ่นยนต์ในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้
- งานที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่คงที่มีความเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานต่ำ อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในบทก่อนๆว่า Narrow AI จะสามารถทำเฉพาะทางตามที่มันถูกฝึกมาเท่านั้น ดังนั้น AI จะไม่สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมไม่คงที่ได้ดี ยกตัวอย่างเช่นช่างออกแบบทรงผมจะต้องเจอกับลูกค้าที่มีหน้าตา สไตล์และความชอบที่แตกต่างกันหลายๆคน
กลุ่มอาชีพที่ถูกแบ่งออกโดยปัจจัยทั้งสาม
Safe Zone (โซนปลอดภัย): อาชีพใน Safe Zone คืออาชีพที่น่าจะปลอดภัยจากการถูก AI แทนที่ อาชีพเหล่านี้ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง ความละเอียดอ่อนสูงและมีสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่คงที่เช่น นักออกแบบทรงผม นักกายภาพบำบัด นักฝึกสุนัข และพยาบาลดูแลคนแก่
Danger Zone (โซนอันตรายมาก): อาชีพใน Danger Zone คืออาชีพที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะโดน AI แย่งงานในอนาคตอันใกล้ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์ ไม่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่คงที่เช่น พนักงานขับรถบรรทุก พนักงานล้างจาน ชาวสวน พนักงานแคชเชียร์ และพนักงานเย็ปปักเสื้อผ้า
1
Human Veneer (โซนอันตรายน้อย): อาชีพในกลุ่ม Human Veneer คืออาชีพที่มีความเสี่ยงจะถูก AI แทนที่แต่ยังไม่น่าจะเป็นภายในอนาคตอันใกล้ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูงแต่ไม่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่คงที่เช่น บาริสตาร์ บาร์เทนเดอร์ พนักงานต้อนรับโรงแรมหรู และพนักงานเสริฟ ความเสี่ยงของอาชีพเหล่านี้ในอนาคตคือถ้าคนในอนาคตเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องมนุษย์สัมพันธ์น้อยลง อาชีพเหล่านี้สามารถถูก AI เข้ามาแทนที่ได้อย่างรวดเร็ว
3
Slow Creep (โซนอันตรายน้อย): อาชีพในกลุ่ม Slow Creep คืออาชีพที่มีความเสี่ยงจะถูก AI แทนที่แต่ยังไม่น่าจะเป็นภายในอนาคตอันใกล้ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์ต่ำแต่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่คงที่เช่น คนขับแทกซี่ แม่บ้าน คนงานก่อสร้าง และ รปภ ความเสี่ยงของอาชีพเหล่านี้คือการพัฒนาของหุ่นยนต์และ AI ที่ควบคุม ในตอนนี้เราจะพบว่ายังไม่มีหุ่นยนต์ AI ตัวไหนที่มีความแม่นยำมากพอจะแทนที่แม่บ้านอาชีพได้ในเรื่องทำความสะอาด ไม่มีหุ่นยนต์ AI ก่อสร้างตัวไหนที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอจะแทนที่คนงานก่อสร้างที่ต้องทำทุกอย่างไม่ว่าจะฉาบปูน ยาแนว หรือเชื่อมเหล็กได้ แต่ถ้าวันนึงหุ่นยนต์นั้นมีความสามารถที่ทำเรื่องละเอียดอ่อนได้และมี AI ที่ฉลาดมากพอจะรับมือกับสภาพแวดล้อมที่ไม่คงที่ได้ อาชีพเหล่านี้ก็จะถูก AI ทดแทนได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน
1
สำหรับอาชีพใช้ความคิด Lee มองว่า เรื่องมนุษย์สัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์และการวางกลยุทธ์คือปัจจัยสำคัญที่จะบอกได้ว่าอาชีพไหนจะถูก AI แทนที่
- งานที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูงมีความเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานต่ำ ไม่ว่า AI จะฉลาดแค่ไหนมันก็ไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกับมนุษย์ได้แบบมนุษย์ด้วยกันเอง
- งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูงมีความเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานต่ำ ในปัจจุบันถึงแม้เราจะมี AI บางชนิดที่สามารถประดิษฐ์งาน creative ได้แต่เมื่อเทียบกับงานฝีมือมนุษย์แล้ว AI ยังต้องพัฒนาอีกเยอะถึงจะสามารถสร้างผลงานที่ทัดเทียมกันออกมาได้
- งานที่ต้องอาศัยการวางกลยุทธ์มีความเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานต่ำ ถึงแม่ว่าเราจะมี AI ที่เล่นเกมส์วางกลยุทธ์ขั้นเทพอย่าง AlphaGo แต่ AI เหล่านี้ก็ยังไม่สามารถเอามาใช้งานนอกสภาพแวดล้อมที่จำกัดได้เช่นในโลกของการทำงานจริงๆที่มีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในต่างๆมากมาย
1
กลุ่มอาชีพที่ถูกแบ่งออกโดยปัจจัยทั้งสี่
Safe Zone (โซนปลอดภัย): อาชีพใน Safe Zone คืออาชีพที่น่าจะปลอดภัยจากการถูก AI แทนที่ อาชีพเหล่านี้ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง ความคิดสร้างสรรค์สูงและการวางกลยุทธ์ในการทำงานเช่น CEOบริษัท จิตแพทย์ หัวหน้าพนักงานฝ่ายPR และ นักกฏหมาย
Danger Zone (โซนอันตรายมาก): อาชีพใน Danger Zone คืออาชีพที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะโดน AI แย่งงานในอนาคตอันใกล้ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์และการวางกลยุทธ์ในการทำงานเช่น พนักงานขายของทางโทรศัพท์ นักแปลเอกสาร พนักงานอนุมัติเงินกู้ และ นักรังสีวิทยา
Human Veneer (โซนอันตรายน้อย): อาชีพในกลุ่ม Human Veneer คืออาชีพที่มีความเสี่ยงจะถูก AI แทนที่แต่ยังไม่น่าจะเป็นภายในอนาคตอันใกล้ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูงแต่ไม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการวางกลยุทธ์แต่เน้นประสิทธิภาพในการทำงานเช่น ครู นักออกแบบงานแต่งงาน นักวางแผนการเงินและทัวร์ไกด์ ความเสี่ยงของอาชีพเหล่านี้ในอนาคตคือถ้าคนในอนาคตเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องมนุษย์สัมพันธ์น้อยลง อาชีพเหล่านี้สามารถถูก AI เข้ามาแทนที่ได้อย่างรวดเร็ว
Slow Creep (โซนอันตรายน้อย): อาชีพในกลุ่ม Slow Creep คืออาชีพที่มีความเสี่ยงจะถูก AI แทนที่แต่ยังไม่น่าจะเป็นภายในอนาคตอันใกล้ อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์ต่ำแต่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการวางกลยุทธ์ในการทำงานเช่น คอลัมนิส กราฟฟิคดีไซด์เนอร์ นักวิจัย และ นักวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยงของอาชีพเหล่านี้คือการพัฒนาของ AI ที่สามารถทำงานที่มีความซับซ้อนและสร้างสรรค์ได้ ในตอนที่แล้วเราก็ได้ยกตัวอย่างผลงานสร้างสรรค์ต่างๆที่คิดค้นโดย AI มาแล้วถึงแม้ว่ามันจะยังไม่ดีพอที่จะแทนที่มืออาชีพในตอนนี้แต่ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงว่ามันจะเป็นไปได้
หนทางในการเอาตัวรอดจากการถูก AI แย่งงาน
หากเราอยู่ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงที่จะถูก AI ทดแทนเราต้องรีบเรียนรู้สกิลใหม่ๆทันที ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าไม่มีอะไรสามารถต้านท้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ ในสมัยยุคปฏิวัติอุตสหกรรมในอังกฤษมีการต่อต้านจากกลุ่มแรงงานที่โดนเครื่องจักรแย่งงานจำนวนมาก แรงงานเหล่านี้ถึงกับไปทำลายเครื่องจักรที่มาแย่งงานพวกเขาเลยด้วยซ้ำ ทั้งยั้งเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งห้ามการใช้เครื่องจักรเหล่านี้ แต่สุดท้ายเราก็เห็นแล้วว่าความพยายามเหล่านั้นไม่เป็นผล
ในโลกของทุนนิยมเราไม่สามารถคาดหวังให้รัฐบาลมาช่วยเหลือโดยการสั่งห้ามเทคโนโลยีที่มาแย่งงานของเราได้เพราะประชาชนส่วนใหญ่คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันนั้น นั่นคือเหตุผลที่เราต้องพึ่งพาตัวเองโดยการออกจาก Comfort Zone เพื่อไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆโดยเร็วที่สุด โชคดีที่ยุคสมัยนี้เป็นยุคที่การศึกษาเปิดกว้างมาก เราสามารถเรียนรู้เกือบทุกอย่างทั้งภายในและภายนอกโลกผ่านอินเตอร์เน็ต การเรียนรู้สกิลใหม่ๆจึงถูกและง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก
อับเกรดขีดความสามารถของมนุษย์ด้วย Neurolink หนทางรอดของมนุษย์ชาติ?
การเรียนรู้สกิลใหม่เป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำได้ยากมากๆสำหรับคนบางคนที่อยู่ใน Comfort Zone ของตัวเองมาทั้งชีวิต นอกจากนี้ถ้า AI ในอนาคตฉลาดขึ้นเรื่อยๆนั้นหมายความว่าความเร็วในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆของมันย่อมต้องสูงกว่ามนุษย์อย่างแน่นอน แล้วมนุษย์จะยังพอมีหวังที่จะเอาชนะ AI ได้อีกหรอ? Elon Musk ผู้ซึ่งเชื่ออย่างแรงกล้าว่ามนุษย์จะไร้หนทางสู้กับ AI ในอนาคตได้อย่างแน่นอนจึงได้ริเริ่มโครงการใหม่ของเขานั้นก็คือ Neurolink นั้นเอง
จุดมุ่งหมายของ Neurolink คือการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของสมองของคนให้เร็วเหมือนกับการ upload software เลยทีเดียว ถ้าเราต้องการจะเรียนสกิลใหม่ๆเช่นพูดภาษาสเปน สิ่งที่ต้องทำก็คือการ upload software ภาษาสเปนเข้าสมองของเราผ่านชิปที่ถูกฝังไว้ติดกับสมอง นี่อาจจะเป็นอะไรที่ฟังดูหลุดโลกมากๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ Elon Musk กำลังพัฒนาจริงๆเพื่อความหวังของมนุษย์ชาติ
Reference
AI Superpowers: China, Silicon Valley, and the New World Order
โฆษณา