20 ก.ย. 2020 เวลา 05:11 • ประวัติศาสตร์
ลายเซ็นแรกของโลก
ในปีนี้ (พ.ศ.2563) ได้มีการค้นพบทางโบราณคดีที่น่าตื่นเต้นอีกครั้งหนึ่ง
ได้มีการค้นพบแผ่นจารึกในบริเวณเมืองอูรุค ซึ่งตั้งอยู่ในเมโสโปเตเมีย หรือปัจจุบันก็คือประเทศอิรัก
แผ่นจารึกที่พบนี้ไม่เพียงน่าทึ่งตรงที่มันสลักรายละเอียด ยอดขายของเบียร์ในสมัยโบราณ หากแต่มันยังมีสิ่งที่หลายคนคิดว่าเป็น “ลายเซ็นแรกของโลก” ที่มีการค้นพบ
จากการตีความสัญลักษณ์ทางด้านบนขวาของแผ่นจารึก สามารถตีความเป็นตัวอักษร “KU” และ “SIM” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าน่าจะอ่านว่า “Kushim”
คาดว่าชื่อ “Kushim” น่าจะเป็นชื่อของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นผู้ทำแผ่นจารึกนี้ขึ้นมา
มีการพบชื่อนี้สลักไว้ในแผ่นจารึกอื่นๆ อีกถึง 17 แผ่น โดยบางแผ่นสลักชื่อว่า “Sanga”
บนแผ่นจารึกนี้ ได้สลักข้อความว่า “ข้าวบาร์เลย์จำนวน 29,086 เป็นเวลา 37 เดือน”
ข้อความนี้น่าจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กับใบเสร็จ จำนวนข้าวบาร์เลย์ที่สั่งซื้อ เพื่อมาทำเป็นเบียร์
ในรูปอื่นๆ บนแผ่นจารึกก็แสดงถึงกรรมวิธีการทำเบียร์โดยใช้ข้าวบาร์เลย์หรือข้าวโพด โดยพบว่าแผ่นจารึกที่พบนี้ มีอายุราวๆ 3,100 ปีก่อนคริสตกาล หรือมากกว่า 5,000 ปี
แผ่นจารึกที่พบได้ถูกนำไปประมูลในอังกฤษ โดยมีนักสะสมชาวอเมริกันประมูลได้ไปเป็นเงินกว่า 230,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 6,900,000 บาท)
สำหรับเบียร์นั้น นับว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและสังคมในอาณาจักรเมโสโปเตเมียโบราณ
มีการใช้เบียร์แทนเงิน จ่ายเป็นค่าแรงคนงานอีกด้วย
การค้นพบครั้งนี้นับเป็นการค้นพบที่น่าทึ่งในวงการโบราณคดีอีกครั้ง
โฆษณา