22 ก.ย. 2020 เวลา 09:03 • ข่าว
เปิดเอกสารลับ เผยเส้นทางการเงินต้องสงสัยธนาคารทั่วโลก มีในไทย 4 แห่ง
สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ หรือ ICIJ (International Consortium of Investigative Journalists) เผยแพร่เอกสารลับ แสดงเส้นทางการเงินต้องสงสัยของธนาคารทั่วโลก
2
เอกสารที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นเอกสารจาก เครือข่ายสืบสวนอาชญากรรมทางการเงิน (Financial Crimes Enforcement Network) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า FinCEN (ฟินเซน) ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมรายงานธุรกรรมที่ถูกส่งมาจากธนาคารเมื่อสงสัยว่าลูกค้าตัวเองอาจทำอะไรผิดกฎหมาย
รายงานที่ว่า ไม่ใช่หลักฐานของการกระทำผิด แต่เป็นหนึ่งในกระบวนการเตือนหน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานรักษากฎหมาย และไม่มีผลบังคับให้ธนาคารต้องเลิกให้บริการลูกค้าที่ต้องสงสัย
สำนักข่าวต่างประเทศกล่าวถึงธนาคารรายใหญ่ๆ ของโลก ที่มีความเคลื่อนไหวของธุรกรรมการเงินที่น่าสงสัยในรอบเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา 1999 ถึง 2017 ไม่ว่าจะเป็น JPMorgan Chase ของสหรัฐฯ HSBC ของฮ่องกง หรือ Deutsche Bank ของเยอรมนี ซึ่งในเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่ามีธนาคารของไทยถึง 4 แห่ง
https://www.icij.org/investigations/fincen-files/explore-the-fincen-files-data/
เอกสาร FinCEN บนเวบไซท์ ICIJ ระบุว่ามีตัวอย่างของ 92 ธุรกรรมที่พบในเอกสารที่แสดงให้เห็นเส้นทางการเงินที่น่าสงสัย เข้าและออกจากประเทศไทย ทั้งหมดรวมมูลค่าเข้าประเทศราว 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 300 ล้านบาท และมีเงินส่งออกจากไทย 31.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 995 ล้านบาท
1
ข้อมูลระบุธนาคารที่เกี่ยวข้องคือ ธนาคารกรุงเทพ 52 ครั้ง
ธนาคารกสิกร 37 ครั้ง
ธนาคารกรุงไทย 2 ครั้ง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) 1 ครั้ง
1
โดยธุรกรรมเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการธนาคารในสหรัฐฯ 4 ธนาคาร ซึ่งเกิดความสงสัยจึงส่งรายงานให้ FinCEN (ธนาคารในสหรัฐฯ 4 ธนาคารนี้คือ China Investment Corporation, The Northern Trust Company, Standard Chartered Plc และ The Bank of New York Mellon Corp.)
1
เวบไซท์ยังแสดงเส้นทางการเงินที่ต้องสงสัย เชื่อมต่อกับธนาคารในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อิสราเอล นอร์เวย์ เอสโตเนีย เบลเยียม ลิกเตนสไตยน์ หรือเกาะเคย์แมน
โดยธุรกรรมรับเงินเข้าที่มีมูลค่าสูงสุดคือเป็นเงินจากธนาคารในอิสราเอล มายังธนาคารกรุงเทพ ช่วงปี 2013 ราว 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 185.5 ล้านบาท ขณะที่ธุรกรรมส่งเงินออกมูลค่ามากที่สุด คือจากธนาคารกรุงเทพไปธนาคารในมาเลเซีย เมื่อปี 2013 ราว 22.3 ล้านดอลลาร์ หรือราว 700 ล้านบาท
1
สำหรับคนทั่วไป เอกสารที่หลุดออกมากว่า 2,100 ฉบับ อาจจะนับว่าเยอะแล้ว แต่นี่เป็นเอกสารเพียง 0.02 เปอร์เซ็นต์ของเอกสารที่ถูกรายงานทั้งหมดเท่านั้น เรียกว่าที่เห็นเป็นแค่พียง “ยอดภูเขาน้ำแข็ง”
2
ถ้าถามว่าทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องใหญ่ ปริมาณเอกสารและรายงานที่ถูกส่งเข้ามาในรอบหลายปี บ่งบอกธุรกรรมที่น่าสงสัย ผ่านมาเป็นสิบปี แต่ก็ยังคงไม่มีการตรวจสอบ
1
สื่อต่างชาติตั้งข้อสังเกตุว่าเอกสารแสดงให้เห็นว่ามีธุรกรรมการเงินมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวที่น่าสงสัย
ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางการเงินขิงนักการเมืองชาวคาซัคสถาน ที่องค์การตำรวจสากลต้องการตัว หรือคนสนิทของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ใช้ธนาคารบาร์เคลย์ในสหราชอาณาจักรในการหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรและเพื่อฟอกเงิน หรือเงิน 142 ล้านดอลลาร์ที่สงสัยว่าเป็นของอิหร่าน ผ่านธุรกรรมในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตร หรือแม้แต่ธุรกรรมที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริจาครายใหญ่ให้พรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมในสหราชอาณาจักร เชื่อมโยงกับรัฐบาลรัสเซีย
โฆษณา