23 ก.ย. 2020 เวลา 17:38 • หนังสือ
วัสดุชีวภาพ Biomaterials
ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่ปี ค.ศ 2001 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน วัสดุชีวภาพได้รับความนิยมนำมาใช้งานด้านการแพทย์ (medicine) งานด้านทันตกรรม (dentistry) และเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)เป็นอย่างมาก โดยหากย้อนไปในสมัยกว่าสองพันปีก่อนหน้านี้ในยุคโรมัน จีน และแอซเท็ก (Aztec) มีการนำโลหะทองมาใช้ในงานทางด้านทันตกรรม การใช้ลูกตาที่ทำจากแก้ว (glass eyes) การใช้ฟันปลอมที่ทำจากไม้ (wooden teeth) และในหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา คำว่า “วัสดุชีวภาพ” (biomaterials) ยังไม่เป็นคำที่ถูกใช้ โดยในสมัยนั้นยังคงไม่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยกเว้น พวกกายอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอก (external prosthetics) เช่น แขนขา อุปกรณ์ที่ใช้ยึดตรึงอวัยวะที่แตกหัก และอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับทันตกรรม ในระยะเวลาต่อมา พลาสติกที่สังเคราะห์ได้จากผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นและถูกนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานทางด้านการปลูกฝัง (implantation)แต่อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้นก็ยังคงไม่มีกระบวนการเพื่อใช้วัสดุเหล่านี้อย่างเป็นทางการ และก็ยังคงไม่มีความเข้าใจถึงคำว่า “ความสามารถในการเข้ากันได้ทางชีวภาพ” (biocompatibility)
โดยเนื้อหาภายในมีทั้งหมด 8 บทจะประกอบไปด้วย
บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับวัสดุชีวภาพ
บทที่ 2 ที่มาของพลาสติกชีวภาพ
บทที่ 3 พลาสติกชีวภาพ
บทที่ 5 วัสดุชีวภาพจากธรรมชาติ
บทที่ 6 เทคนิคการขึ้นรูปวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
บทที่ 7 เทคนิคการตรวจสอบสมบัติการผสมเข้ากันได้ของพอลิเมอร์และการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์
บทที่ 8 วัสดุชีวภาพกับการใช้ประโยชน์
หาซื้อได้แล้ววันนี้ ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และร้านหนังสือ NUPH Shop ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
โฆษณา