30 ก.ย. 2020 เวลา 12:04 • ปรัชญา

มงคลที่ 9 ความเป็นผู้มีวินัย

วินัย หมายถึง ระเบียบแบบแผนอันพึงประพฤติปฏิบัติ เพื่อฝึกหัดขัดเกลาให้มีพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจที่น่าเลื่อมใส ไม่ก่อทุกข์โทษพิษภัยแก่ผู้ใด ไม่ว่าตนหรือแก่คนอื่น
วินัยมี 2 ประเภท
หนึ่ง คือ วินัยสำหรับบรรพชิต
สอง คือ วินัยสำหรับคฤหัสถ์
วินัยสำหรับบรรพชิต ท่านหมายถึง แนวทางในการฝึกหัดปฏิบัติตน 4 ประการ อันได้แก่
1. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ ไม่ละเมิดศีลทุกข้อ
2. สำรวมอินทรีย์ 6 คือ รู้จักใช้ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างมีสติ
3. สำรวมในการหาเลี้ยงชีพ
4. สำรวมในการบริโภคปัจจัยสี่
วินัยสำหรับคฤหัสถ์ ท่านหมายถึง กุศลกรรมบถ (ทางแห่งความดี) 10 ประการ กล่าวคือ
1. เว้นจากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
2. เว้นจากขโมย
3. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากพูดเท็จ
5. เว้นจากพูดส่อเสียด
6. เว้นจากพูดคำหยาบ
7. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
8. ความไม่ละโมบโลภมาก
9. ความไม่พยาบาท
10. ความเห็นชอบ
ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในแบบแผนแห่งความดีงามหรือผู้มีวินัย หากจะเปรียบไปก็เหมือนกับผู้ที่ออกเดินทางไปตามแผนที่ที่มีความถูกต้องย่อมไม่หลงทาง ไม่เสียเวลา มีแต่ก้าวไปข้างหน้าโดยสวัสดี มีชีวิตสะอาดปราศจากบาปกรรม มองไปข้างหน้าก็หมดห่วง ครั้นนึกหน่วงไปข้างหลังก็สบายใจ ชีวิตจึงมีแต่ความร่มเย็นและเป็นสุข
ท่าน ว. วชิรเมธี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา