6 ต.ค. 2020 เวลา 22:37 • ธุรกิจ
Kakeibo : รู้จักวิธีจัดการ การเก็บเงินสไตล์ญี่ปุ่น ที่มีอายุเกือบ 100 ปี "คาเคโบะ"
วันนี้ไปยืนอ่านหนังสือที่ร้านคิโนะมา แล้วก็อ่านเล่มนี้อยู่นานมากๆเลย กลับมาก็เลยนั่งหาต่อ งั้นเราขอมาย่อยให้เพื่อนๆอ่านกันดีกว่า
"คาเคโบะ Kakeibo" ถูกคิดขึ้นโดยคุณ Motoko Hani ในปี 1904
ซึ่งเจ้าวิธี Kakeibo ถูกคิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้คุณผู้หญิงญี่ปุ่นรู้จักการบริหารเงิน เพราะว่าพวกเธอต้องบริหารดูแลค่าใช้จ่ายภายในบ้านต่างๆ แทนคุณผู้ชาย
คุณผู้ชายก็มีหน้าที่หาเงินไปน่ะ
โดยเริ่มต้น ให้เริ่มจากคำถามง่ายๆเหล่านี้ก่อนเลย
1. ณ ตอนนี้เรามีเงินได้เท่าไร ?
2. ต้องการมีเงินเก็บเท่าไร รายเดือน / รายปี ? (ฟังดูเหมือนขายประกันออมทรัพย์)
3. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจะต้องจ่าย เป็นเท่าไรบ้าง ?
4. เราจะมีวิธีในการพัฒนาเงินเก็บให้มากกว่าเดิมยังไงบ้าง ?
คำถามของเค้าจะค่อนข้างกว้างและเบสิคมากๆ แต่นั้นก็เพื่อที่จะให้เพื่อนๆได้เริ่มมองย้อนกลับมาดูตัวเองและครอบครัวในเรื่องของการเงินมากขึ้นน่ะนะ
1
แต่ว่าในวิธีของ "คาเคโบะ Kakeibo" เค้าจะมาเน้นในคำถามข้อที่ 3 เยอะหน่อย
เพราะนี่คือปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเงินเก็บจริงๆ
2
Kakeibo คือการที่
- เรียนรู้การออมเงิน จากการจ่ายเงิน
- เรียนรู้ที่จะทำไดอารี่ หรือบันทึกการเงินในทุกๆวัน (เงินเข้า เงินออก)
- เรียนรู้รายจ่ายที่เป็น Must vs Want !
คือวิธี คาเคโบะ เค้าไม่ได้จำมาจำกัดการจ่ายเงินต่อเดือนของเพื่อนๆนะ
เพื่อนๆใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่เลย แต่เค้าแค่ต้องการให้เราบันทึกอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้รู้ที่มาของแรงบันดาลใจในการใช้เงินก้อนนี้ ซื้อของชิ้นนี้
แล้วมันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ ใช้งานบ่อย หรือ แค่ของมันต้องมี ?
ขั้นตอนการบันทึกที่แสนง่าย ขอเพียงแค่มี สมุดไดอารี่เล่มนึง หรือ Year planner notebook
1. ค่าใช้จ่ายรายปีแบบ Fixed cost - เริ่มบันทึกจากภาพใหญ่ก่อน
- เพื่อนๆแค่ทำตาราง แล้วใส่ไปว่า ใน 1 ปี เนี่ย เรามีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายอยู่เท่าไร
- เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 กับรถ 2 คัน / ค่าประกันสุขภาพ / ค่าเช่าบ้าน / ค่าน้ำค่าไฟขั้นต่ำต่อเดือน / งบที่กันเอาไว้วางแผนเที่ยวสำหรับปีนี้
- หรือถ้าเพื่อนๆไม่สามารถนึกออกตอนนี้ งั้นไม่ยากเลย...... ลองมองย้อนกลับไปปีที่แล้ว หรือครึ่งปีแรกดูได้นะ :):)
2. เริ่มสร้างไดอารี่รายการ รายรับ รายจ่าย สำหรับแต่ละเดือน
- ตรงนี้จะมีแค่ 2 รายการเท่านั้นคือ เงินเข้า - เงินออก / Income - Expense
- พยายามเขียนรายการค่าใช้จ่ายให้เป็นหมวดหมู่นะเพื่อนๆ เราจะได้แยกออมาได้ชัดเจนในภายหลัง เช่น ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาสุขภาพ / ของใช้ภายในบ้าน / ปาร์ตี้กับเพื่อนฝูง
3. เจาะลงมาที่ ประเภทของค่าใช้จ่าย และความจำเป็นในแต่ละวัน
- จากนั้นในส่วนที่ 3 นี้ อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนท้ายของข้อที่แล้ว เรื่องของหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายเนอะ
- ทีนี้ หมวดหมู่ประเภทรายจ่ายของ คาเคโบะเนี่ย เค้ามีดังนี้
>> Survival = สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในชีวิต ถ้าขาดอาจหมายถึงชีวิต เช่นอาหาร น้ำดื่ม แปรง/ยาสีฟัน สบู่
>> Optional/Wants = สิ่งที่ต้องการ แต่ไม่จำเป็น ไม่มีก็ไม่ตาย อยู่ได้ เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น อาหารมื้อเย็นเกรด premium
>> Extra = สิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้จ่าย แต่ไม่ได้อยู่ใน planner เช่น เหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ เช่น งานแต่งงานเพื่อน / ค่ารักษาตัวเวลาเจ็บป่วย / ค่ายารักษาสัตว์เลี้ยง
>> Cultural = รายจ่ายส่วนเกินต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องการ แต่ไม่จำเป็น เช่นกัน อย่าง ค่าติดตามรายเดือน spotify/ apple music/ หนังสือนิตยสารต่างๆ / ค่าฟิตเนส
4. สุดท้าย ก็คือการวิเคราะห์ ว่าเราสามารถ "ปรับปรุงและพัฒนา" เงินของเรายังไง?
- โดยดูเป็นรายเดือนนะเพื่อนๆ
- ปิดท้ายด้วยคำถามเชิงวิเคราะห์ง่ายๆ อย่าง
=> หมดเดือนแล้ว เรามีเงินเก็บเงินเย็น ตามเป้าหมายไหม ?
=> ถ้าไม่ถึง แล้วรายจ่ายประเภทไหนที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น แล้วคิดเป็นจำนวนแชร์ที่มากสุด ?
=> เราใช้จ่ายในส่วนส่วนหนึ่งมากไปไหม ?
=> เดือนหน้าจะเริ่มควบคุมรายการไหนเป็นพิเศษก่อนดี ?
จริงๆต้องบอกว่าในสมัยนี้ มี application หลายตัวที่ทำออกมาเพื่อช่วยเรื่องการแทรคการใช้เงินขึ้นมาเยอะเลย
ข้อเสียแต่ก็เป็นจุดเด่นของ คาเคโบะก็คือ การใช้วิธีดั้งเดิมในการจดบันทึกเอา
เพราะอะไรทำไมต้องจด ?
- ก็เพราะว่า ในชีวิตของเราประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ บัตรเครดิต การใช้จ่ายออนไลน์ มันก็จะมีการแจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา
- บาง application ที่เกี่ยวกับการบันทึกการเงิน ก็จะมีระบบบันทึกอัติโนมัติให้เลยเนอะ
- ถ้า app มันบันทึกรายรับ รายจ่ายให้เอง แล้ว.............เพื่อนๆจะสามารถ reflect หรือมองสะท้อนกลับมาได้ยังไงกันละ ?
- การจดบันทึก ก็เหมือนเป็นการทบทวนตัวเองด้วยเหมือนกันนะ
เราอาจจะพึ่งพาเทคโนโลยีจนเกิดความเคยชินมากเกินไป อะไรๆต่างที่เคยควบคุมอยู่ ก็กลับกลายเป็นสูญเสียการควบคุมซะได้ง่ายๆ :)
โฆษณา