6 ต.ค. 2020 เวลา 22:23 • สุขภาพ
ปวดหลัง สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด
2
โรคปวดหลัง หรือปวดชาร้าวลงสะโพก ลงขา ปวดชาฝ่าเท้า นับว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกเพศ โดยเฉพาะเมื่อมีการยกของหนัก หรือก้มยกของผิดท่า
สาเหตุที่สำคัญของอาการปวดหลังนี้คือปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท
ปกติหมอนรองกระดูกสันหลังจะคั่นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลังนี้จะมีอยู่ 2 ชั้น หมอนรองกระดูกจะทำหน้าที่ลดแรงกระแทกที่กระทำต่อกระดูกสันหลัง และเพิ่มความยืดหยุ่นต่อการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกชั้นนอกจะค่อยๆลดปริมาณลงสูญเสียสภาพความยืดหยุ่นทำให้มีโอกาสเกิดการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกชั้นในออกมาด้านนอกได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อไปก้มยกของหนัก
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
ปัญหาของอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นส่วนมากเกิดจาก
1. กระบวนการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง
2. พฤติกรรมที่ทำให้เกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่ายเช่น การก้มยกของหนัก การนั่งกับพื้น การกัมตัวและจามหรือไออย่างรุนแรง การนอนคว่ำ
3. อุบัติเหตุเช่นการเลื่อนหกล้ม
แนวทางการวินิจฉัย
• แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย หาจุดตำแหน่งที่มีอาการปวด ตรวจประเมินสภาพการทำงานของเส้นประสาท
• การส่งตรวจเอกซเรย์เพื่อดูลักษณะของแนวกระดูก ช่องทางเดินของเส้นประสาท และการเคลื่อนตัวของกระดูก
• การส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า MRI จะสามารถช่วยระบุลักษณะการเสื่อมของหมอนรองกระดูก และการกดทับเส้นประสาทได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งอาจจะตรวจพบลักษณะความผิดปกติอื่นๆเช่น มะเร็ง การติดเชื้อของกระดูกสันหลัง
ภาพ MRI ของกระดูกสันหลัง
แนวทางการรักษา
• การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังรับแรงกระแทกมากขึ้น เช่น การนั่งกับพื้น การนั่งยองๆ การก้มยกของหนัก และท่านอนคว่ำ
• การรักษาด้วยยารับประทานเพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
• การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าโพรงประสาทด้วยการใช้เครื่อง ultrasound ระบุตำแหน่งในการฉีดยา
1
การฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อลดการอักเสบ
โฆษณา