9 ต.ค. 2020 เวลา 11:22 • สุขภาพ
จุกลิ้นปี่ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
https://health.kapook.com/view17086.html
คุณอย่าคิดว่าอาการจุกลิ้นปี่มันไม่อันตรายนะคะ  อาการจุกแน่นลิ้นปี่มันอาจเกิดได้จากหลายๆสาเหตุ หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะเกิดอาการรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ควรชะล่าใจและละเลยการรักษานะคะ
อาการจุกแน่นลิ้นปี่เป็นความเจ็บปวดหรือการรู้สึกไม่สบายใต้ซี่โครงบริเวณหน้าท้องส่วนบน มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการทั่วไปอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีตั้งแต่แสบร้อนกลางอก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง อิ่มเร็ว ไปจนถึงเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม สัญญาณอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสาเหตุด้วยค่ะ เรามาดูกันว่ามันอาจจะเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
1. อาหารไม่ย่อย
อาจเกิดจากพฤติกรรมที่กินอาหารในปริมาณมาก กินอาหารเร็วเกินไป กินอาหารมันและอาหารที่มีรสเผ็ด เป็นต้น รวมถึงปัญหาทางสุขภาพและการใช้ยาบางชนิด โดยอาหารไม่ย่อยมักทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ และอาเจียนได้ค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
2. โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้ตอนต้น
อาการที่ พบบ่อยมักจะปวด จุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือบริเวณหน้าท้องช่วงบน โดยมากจะปวดเป็น ๆ หาย ๆ มีช่วงระยะเวลาที่ไม่มีอาการอยู่พักหนึ่ง แล้วกลับมาเป็นอีกได้ แต่อาการจะทุเลาลงหากทานยาลดกรดค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
3. โรคกรดไหลย้อน
หากคุณมีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ แสบหน้าอกตลอดทั้งวัน เหมือนอาหารไม่ย่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกอยู่ในลำคอ เสียงแหบ และที่สำคัญคือ มีน้ำรสเปรี้ยว ๆ ขม ๆ ไหลย้อนขึ้นมาในปาก นี่คืออาการชัด ๆ ของ "โรคกรดไหลย้อน" ที่คนเมืองเป็นกันบ่อยๆนั่นเอง ซึ่งอาการเหล่านี้มักแสดงหลังทานอาหารอิ่มมาก ๆ หรือนอนราบหลังทานข้าวเสร็จใหม่ ๆเลยค่ะ
2
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
4. โรคตับ
ไม่ว่าจะเป็นตับอักเสบ หรือตับแข็ง อาจเกิดอาการจุกแน่นตรงลิ้นปี่ และใต้ชายโครงขวาได้ โดยมากจะมีอาการดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วยค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
5. โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
1
อาการจุกลิ้นปี่ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่า คุณ อาจกำลัง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยอาการสำคัญคือจะปวดลิ้นปี่ และร้าวขึ้นไปถึงไหล่ซ้าย ต้นแขน คอ ขากรรไกรนาน 2-5 นาที มักแสดงอาการหลังออกกำลังกาย ใช้แรง เครียด หรือหลังสูบบุหรี่ แต่อาการจะดีขึ้นหากได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย มีอาการใจสั่น หอบเหนื่อยร่วมด้วยค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
6. นิ่วในถุงน้ำดี
อาการจุกลิ้นปี่ ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยว นิ่วในถุงน้ำดี เพราะหากมีก้อนนิ่วมาอุดตันตรงบริเวณท่อน้ำดี จะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงมาก ปวดแบบบิดเกร็งตรงบริเวณใต้ชายโครงขวา และลิ้นปี่ ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดหลังทานอาหารมัน ๆ หรือทานอาหารกลางดึก โดยจะปวดนาน 15-30 นาที หรือในบางรายถึงขั้น 2-6 ชั่วโมงได้เลย และจะทุเลาไปเอง และนาน ๆ จะปวดสักครั้ง ไม่ได้ปวดทุกวัน
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
7.มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการเจ็บลิ้นปี่ ร่วมกับกลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซึ่งถ้าหากเกิดอาการแสดงอย่างนี้ ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจแล้วล่ะ
2
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
8. การตั้งครรภ์
ขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นจนไปเบียดกระเพาะอาหาร ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอโมนส์และระบบย่อยอาหารอาจทำให้คนท้องมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ อีกทั้งยังมีอาการแสบร้อนกลางอกเกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม สตรีมีครรภ์ที่จุกแน่นล้นปี่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน เพราะอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษได้
2
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
9. โรคไส้เลื่อนกะบังลม
เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวไปยังบริเวณหน้าอกผ่านทางช่องโหว่ของกะบังลม อาจทำให้เกิดอาการ เช่น อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก ระคายเคืองหรือเจ็บคอ เรอเสียงดัง เป็นต้น
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
10. หลอดอาหารอักเสบ
อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งกรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ การใช้ยา หรือกระทั่งการติดเชื้อ หากไม่เข้ารับการรักษาอาจส่งผลให้หลอดอาหารเป็นแผลได้ โดยทั่วไป มักทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกหรือบริเวณลำคอ  มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ไอ หรือมีปัญหาในการกลืนค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
วิธีการรับมือกับอาการจุกแน่นลิ้นปี่
https://health.kapook.com/view17086.html
การรักษาอาการจุกแน่นลิ้นปี่แตกต่างกันไปตามแต่ละสาเหตุนะคะ เช่น
⭐ สำหรับคนที่รับประทานอาหารมากจนเกินไปอาจปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารหรือการใช้ชีวิต โดยหันมาพึ่งพาอาหารเพื่อสุขภาพอย่างขิง ดื่มน้ำให้มากขึ้นในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน หรือออกกำลังกายเป็นประจำประมาณ 30 นาทีต่อวันนะคะ
1
⭐ หากเกิดจากการใช้ยาบางชนิดอย่างยาในกลุ่มเอ็นเสด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาเหล่านั้น และเลือกใช้เป็นยาลดกรดหรือยายับยั้งการหลั่งกรด เพื่อบรรเทาอาการปวดแทนค่ะ
⭐ หากมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารอย่างกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลในกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุของอาการจุกแน่นลิ้นปี่ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเข้าช่วยด้วยค่ะ
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยจุกแน่นลิ้นปี่อย่างรุนแรง อาการดังกล่าวรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และหากรับประทานยาหรือรักษาด้วยวิธีธรรมชาติแล้ว แต่อาการจุกแน่นลิ้นปี่ยังไม่ดีขึ้นและคงอยู่นานกว่า 2-3 วัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมนะคะ และหากผู้ที่มีปัญหาในการหายใจหรือการกลืน อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ไข้สูง เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหงื่อแตก หรือหมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วนะคะ อย่าชะล่าใจเด็ดขาดค่ะ
1
หมั่นดูแลตัวเอง สังเกตุตัวเอง และรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ 😊
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
อ้างอิง
หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 530-533.
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา