11 ต.ค. 2020 เวลา 15:35 • ปรัชญา
“คนเราเวลามีความสุข มักจะสุขคล้ายๆกัน แต่เวลามีทุกข์ ทุกข์ของแต่ละคนจะไม่ซ้ำกัน”
3
ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) เครดิตภาพ: www.newheartawaken.com
นี่คือถ้อยคำของนักเขียนนักปรัชญาขั้นเทพเรียกทวดที่ชื่อว่า ตอลสอตอย
ในโลกของหนังสือปรัชญานั้น จะมีหนังสืออยู่สองชนิด หมายความว่า มีหนังสือที่จะเสนอความคิดทางด้านปรัชญา ของนักปรัชญาตัวอย่างก็เช่น Essay Concerning Human Understanding ของจอนห์ ล้อค (John Locke) หรือ หนังสือ Being and Time ของไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) เป็นต้น
นี่คือหนังสือปรัชญาในรูปของงานเขียนทางปรัชญา ซึ่งเข้าใจว่าหนังสือส่วนใหญ่น่าจะ 80-90% ที่นักปรัชญาแต่งขึ้นเพื่อที่จะเสนอความคิดทางปรัชญาของตัวเอง ก็คืออยากจะพูดหรืออยากจะนำเสนออะไรก็เขียนไปเลย
ในแง่หนึ่งก็เป็นงานเรียงความ ที่เขียนด้วยภาษาธรรมดาๆ เราเรียกงานภาษาธรรมดาๆแบนี้ในภาษาอังกฤษว่าเป็น การเขียน เอสเส (essay)
การเขียนเอสเส หรือ เรียงความมันก็มีน้ำหนัก ความประกอบด้วยวรรณศิลป์ที่แตกต่างกัน ถ้าใครเป็นคนที่แต่งเอสเสที่ค่อนข้างจะเป็นคนมีวรรณศิลป์สูง งานเขียนเขาก็จะน่าอ่าน ยกตัวอย่างหนังสือของ อัลแลร์ กามูส์ (Albert Camus) เช่น เรื่องตำนานซิสิฟัส (The Myth of Sisyphusand Other Essays) ซึ่งเป็นเรียงความ แต่ว่าเรียงความที่ว่านี้มันน่าอ่าน
อ่านแล้วรู้สึกว่าดึงดูดใจ ทำให้รู้สึกว่าไม่น่าเบื่อ อ่านแล้ววางไม่ลง ก็คือหนังสือแบบนี้ครับ
จอนห์ ล้อค (John Locke)
แต่หนังสือปรัชญาจำนวนมากที่แต่งเป็นเอสเสเหมือนกัน แต่ว่าคนเขียนไม่ค่อยมีวรรณศิลป์ ก็จะทำให้อ่านยากและก็น่าเบื่อ คงไม่ต้องบอกว่าเป็นใครนะครับ ยกตัวอย่างคนที่เขาเขียนดี จะดีกว่าครับ เพราะคนที่เขียนไม่ดีน่ะมีเยอะซึ่งเป็นคนเขียนส่วนใหญ่ ในประชากรนักปรัชญา
ทีนี้หนังสือที่แต่งในรูปของเอสเสที่พูดถึงเนื้อหาปรัชญาตรงๆ จริงแล้วมันมีงานปรัชญาชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่างานเขียนปรัชญาในรูปของ “งานวรรณกรรม” งานวรรณกรรมภาษาอังกษเราเรียกว่า Literary work หรือ literature ซึ่งถ้าเขียนได้ดีพอมันก็จะเป็นวรรณคดี
มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger)
งานปรัชญาเหล่านี้ก็จะอยู่ในรูปของ นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร บทกวี และอื่นๆ เช่น หนัง หรือ ภาพยนต์ ก็ถือว่าอยู่ในงานวรรณกรรมเหมือนกันนะครับ ปกติหนัง ก็จะมี2อย่าง คือเขาแปลงไปจากนิยาย หรือว่าเรื่องสั้น หรือไม่ก็ ผู้กำกับแต่งเรื่องขึ้นเอง ตอนแต่งเรื่องขึ้นมานั้นตัวบทหนังเดิมที่ก็เป็น Literary work
เควนติน แทแรนติโน (Quentin Tarantino) บอกว่า เวลาที่เขาจะกำกับหนังนั้น เขาจะเดินไปที่สถานีรถไฟใต้ดิน ซึ่งเป็นเทคนิคของเขา เขาจะซื้อสมุดกับปากกาแบบเจล คนคนนี้เขาบอกว่าเขาเขียนบทหนังบนสมุด เวลาที่เขาไปไหนๆ เขาจะเขียน เขาจะไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ใช้พิมพ์ดีด เข้าใจว่าเวลาที่ แทแรนติโน ทำหนังเขาจะเขียนบทหนังขึ้นมาเองแบบนี้แหละ
3
ต้นฉบับภายหลังก็มีคนเขาเอามาพิมพ์เป็นหนังสือ หมายความว่าบทหนังดีๆเนี่ย มันก็เป็นงานวรรณคดีในตัวมันเอง ซึ่งสรุปแล้วก็จะถือว่า งานปรัชญาจะอยู่ในรูปของหนังสือปรัชญาตรงๆ แล้วก็อยู่ในหนังสือวรรณกรรม ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะมีน้อย นักเขียนที่ทำงานในแนวนี้ที่มีชื่อเสียงก็ เช่น ซาร์ต (Jean-Paul Sartre) เช่น กามูส์ (Albert Camus) เป็นต้น
เควนติน แทแรนติโน (Quentin Tarantino) เครดิตภาพ : https://movie.mthai.com
คนอื่นๆผมยังนึกไม่ออก
แต่มีข้อสังเกตุครับว่างานเขียนที่เป็นงานที่อยู่ในลักษณะของวรรณกรรมมันเป็นรูปแบบดั้งเดิมของนักปรัชญากรีก
เพลโต (Plato) เวลาจะเขียนหนังสือก็จะเขียนเป็นบทสนทนา คือจะมีตัวละคร เช่นเรื่อง รีพลับบลิก (Republic) เรื่อง อุตมรัฐ ก็จะมีตัวละคร แล้วตัวละครหนึ่งในนั้นก็คือ โสเครตีส (Socrates)
เพลโตเป็นคนเขียนก็เลยซ่อนตัวเองเอาไว้ สร้างตัวละครขึ้น เช่นสร้างโสเครตีส สร้างคนอื่นๆ แล้วก็บอกว่าโสเครตีส ตื่นเช้าแล้วก็ไปตลาด ไปขอคุยกับคนนั้นคนนี้ บทสนทนาก็จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างคนในตลาดกับโสเครตีสนะครับ
เพลโต (Plato) เครดิตภาพ: https://victor-mochere.com
ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจริงๆแล้ว โสเครตีสพูดอย่างนั้นจริงรึเปล่าว เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการอ้างอิงคำพูดของโสเครตีสในงานเขียนของเพลโต เราจะอ้างในฐานะที่เป็นความคิดของเพลโต คือความคิดของโสเครตีสจริงๆนั้นเราไม่รู้ เพราะว่าโสเครตีสนั้นไม่ได้แต่งหนังสือเอาไว้ เพราะฉะนั้นเวลลาที่มีการอ้างว่า โสเครตีสพูดว่าอย่างนี้เช่น โสเครตีสบอกว่า...
"ชีวิตที่ไม่สอบสวน ทบทวนตัวเอง เป็นชีวิตที่ไม่สมควรจะหายใจอยู่"
เสร็จแล้วเราก็จะบอกว่าคนที่พูดประโยคนี้คือ โสเครตีส แต่จริงๆ เราไม่รู้ข้อเท็จจริง เราก้อ้างได้ว่าเป็นความคิดของเพลโต เพลโตเป็นคนที่ใช้วิธีทางวรรณกรรมในการเสนองานเขียนของตัวเอง มันจะมีละครอะไรต่างๆสนทนากัน แต่ว่าก็มีบางคนที่สำคัญพอๆกันที่ไม่ใช้วิธีนี้เลย แต่ใช้วิธีเขียนเรียงความ ก็คืออริสโตเติล ที่ไม่แต่งให้มีตัวละคร ว่ากันแบบเนื้อๆเลย
โสเครตีส (Socrates)
อริสโตเติล อยากจะพูดอยากจะนำเสนออะไรก็จะพูดหรือเขียนไปเลย ไม่ต้องยืมมือยืมปากใคร ดังนั้นอ่านงานของอริสโตเติลง่ายกว่า ในแง่ที่ว่าตรงนี้อริสโตเติลพูดแน่ๆ
แต่งานของเพลโต ทำให้ไม่รู้ว่าตัวละครตัวนี้ตัวนั้นเป็นตัวแทนของเพลโตหรือไม่อย่างไร บางที่พูดน่าคิด
แต่อาจจะเป็นไปได้ที่ตัวละครตัวนี้อาจจะเป็นตัวละครที่เพลโตไม่ชอบ มันก็เลยยากที่จะอ้างว่าคำพูดที่มาจากปากของตัวละครตัวนี้เป็นคำพูด เป็นทัศนะของเพลโต
ดังนั้นงานปรัชญาที่อยู่ในรูปของตัวหนังสือตรงๆ กับงานปรัชญาที่อยู่ในรูปแบบของวรรณกรรมนั้นต่างกันอย่างไร
จึงจะยกตัวอย่างโดยการใช้แนวคิดของ ซาร์ต (Jean-Paul Sartre) กับของ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจ
อริสโตเติล (Aristotle)
ตอลสตอยนั้นเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเข้าใจว่าถ้าให้โหวตกันทั้งโลกเวลานี้ โดยโหวตกันในหมู่ที่คนที่ได้รางวัลโนเบล สาขาวรรณคดีก็ได้ หมายความว่าเคยมีการสำรวจครับว่า ในทัศนะของท่านเหล่านั้น นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกคือใคร คำถามนี้เขาเขียนเฉพาะนักเขียนที่ได้รางวัลโนเบลสาขาวรรณคดี คำตอบมีสูงมากที่ว่านักเขียนเบอร์หนึ่งในใจของนักเขียนที่ได้รางวัลโนเบล คือ ตอลสตอย (Leo Tolstoy)
แล้วตัวตอลสตอยเองคือนักเขียนที่ไม่เคยได้รับรางวัลอะไรเลยในชีวิต
ซึ่งเป็นตัวอย่างสำหรับคนที่ไม่เคยได้รางวัลอะไรเลยในชีวิต แต่ก็ได้รับการโหวตจากคนที่ได้รับรางวัลสูงสุดในโลก คือรางวัลโนเบล ว่าเป็นนักเขียนเบอร์หนึ่งก็คือ ตอลสอย
ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy)
ทีนี้ในหนังสือเล่มหนึ่งของตอลสอย ใน แอนนา คาเรนินา (Anna Karenina) มีประโยคแรกเลยที่ ตอลสตอยพูดนำ ในบทแรกของนิยายเรื่องนี้ ตอลสอยบอกว่า
“คนเราเวลามีความสุข มักจะสุขคล้ายๆกัน” “แต่เวลามีทุกข์ จะเป็นรายละเอียดเฉพาะของตนเอง”
ประโยคที่สองนี้อาจจะเขียนว่า “แต่เวลามีทุกข์ ทุกข์ของแต่ละคนจะไม่ซ้ำกัน”
ซึ่งทั้งสองประโยคนี้เป็นประโยคที่สำคัญมาในนิยาย ตอลสตอยเขาบอกว่าหน้าที่ของนักเขียนนั้นคือการแสดงให้เห็นสัจจะข้อที่สอง หรือ ประโยคที่สอง
แอนนา คาเรนินา (Anna Karenina) นวนิยายแนวโศกนาฏกรรมโรแมนติก บทประพันธ์โดยลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy)
คือเรื่องทุกข์ของมนุษย์ที่มีรายละเอียดเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน คือตอลสตอยเขาพูดในทำนองว่า คนเราเวลาที่สุข ความสุขนั้นคล้ายๆกัน สุขเพราะถูกหวย สุขเพราะได้ของที่อยากจะได้ สุขเพราะเรียนจบ สุขเพราะฝ่าฟันอะไรบางอย่างมาสำเร็จ เสร็จแล้วความรู้สึกที่ได้มาจากสิ่งเหล่านี้ เราเรียกว่าความสุข (Happyness) มันจะคล้ายๆกัน
1
แล้วตัวของตอลสอยคิดว่า ความสุขเป็น “สิ่งที่ตื้น”
สมมุติว่าเราเป็นมหาเศรษฐี ใช้เงินซื้อของที่อยากได้ หรือเอนเตอรเทนตัวเองจนหน่ำใจแล้ว แรกๆอาจจะดีใจตื่นเต้น ไม่นานก็คงรู้สึกเบื่อ และชิน
แต่ตอลสตอยบอกว่าความทุกข์ของมนุษย์ ที่แต่ละคนมีไม่ซ้ำกัน เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์มันลึกซึ้งมาก ของที่ลึกซึ้งมันจะมีรายละเอียดไม่รู้จบ ของที่ตื้นมันจะมีรายละเอียดตื้นๆ ซึ่งแต่แล้วถามไปถามมาก็จะคล้ายๆกัน ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ตอลสตอยบอกว่า
เครดิตภาพ : http://postnoname.com
คนเราเวลามีความสุข ความสุขจะคล้ายๆกัน สุขของพระราชา สุขของมหาเศรษฐี สุขของยาจก ต่างกันไม่มาก ลองนึกภาพของคนที่มีเงินมากๆแล้วไปกินข้าวที่ภัตตาคาร เสร็จแล้วข้าวของเขาในมื้อนั้นราคาหนึ่งล้าน ตอลสตอยคิดว่า ความสุขที่ได้มาจากการกินข้าว มื้อละหนึ่งล้าน มันจะต่างจากการที่เราซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา มีญาติพี่น้องมา นั่งตำส้มตำ ทำลาบก้อย เนื้อปิ้งย่างกินกัน อาจจะซื้อเบียรมากินเสริมด้วยก็ได้สักหน่อย แต่ว่ารวมๆแล้วมื้อนี้ก็น่าจะซักสองพันบาท
2
โดยรวมแล้วก้ไม่น่าจะสุขน้อยกว่าคนที่กินหนึ่งล้าน
1
ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าความสุขในทัศนะของตอลสตอยนั้นมัน “ตื้น”
เครดิตภาพ : https://med.mahidol.ac.th
แต่ในขณะเดียวกัน สำหรับคนที่มีทุกข์ ตอลสตอยคิดว่า มันมีรายละเอียดที่ไม่ซ้ำกัน อย่าเพิ่งกันเชื่อนะครับ แต่ว่านี่คือแรงจูงใจที่ทำให้ตอลสตอยคิดว่ามันจะต้องมีคนบางประเภทในโลกที่จะทำหน้าที่ เสาะหาชีวิตของปัจเจกบุคคลซึ่งประสบความทุกข์ ผ่านความทุกข์มาโดยมีรายละเอียดที่ไม่ซ้ำกัน เอามาแต่งเป็นหนังสือ
2
เพราะในทัศนะของตอลสตอย ความแตกต่างระหว่าง งานปรัชญาที่เป็นปรัชญาตรงๆ กับงานปรัชญาอยู่ในวรรณกรรม ก็คือ งานปรัชญาตรงๆก็จะเป็นงานที่ เวลาพูดถึงมนุษย์ก็เป็นมนุษย์แบบที่เป็นสากล พูดถึงสิ่งสากล
สังเกตุมั้ยครับเวลาที่เราอ่านหนังสือทางพุทธปรัชญา เวลาพูดว่ามนุษย์คือขันธ์5 สังเกตุดูสิว่ามนุษย์ที่พูดถึงนั้นเป็นมนุษย์ทุกคน และเวลาแปลงมนุษย์ทุกคนเป็นขันธ์5 คอนเซปต์เรื่องขันธ์5 ก็จะเหมือนกัน แต่งานปรัชญาที่อยู่ในงานวรรณกรรม มันจะมีลักษณะเป็นงานที่เฉพาะ ที่พูดถึงสิ่งเฉพาะ
ถามว่าทำไมเราต้องพูดถึงบางสิ่งบางอย่างในแง่ที่มันเป็นสิ่งเฉพาะ เพราะเวลาที่เราพูดถึงสิ่งที่เป็นภาพกว้าง ที่เป็นสากลนั้นเราจะไม่ลงลึก
เครดิตภาพ : http://www.inewhorizon.net
เช่นถ้าวิเคราะห์เรื่องทุกข์ในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อวิเคราะห์เรื่องทุกข์ ผมคิดว่าเขียนไปได้ซักสิบกว่าหน้าก็จะเริ่มฝืด เพราะว่าทุกข์ที่พูดถึงนั้นเป็นทุกข์สากลที่ครอบคลุมสังขารทั้งหลายทั้งปวง
แต่ถ้าเราพูดถึงความทุกข์ที่เป็นรายละเอียดชีวิตของคนแต่ละคน ทีนี้มันจะสามารถเขียนได้ไม่ซ้ำกัน เช่นทุกข์ของนักมวยคนหนึ่งที่แต่ก่อนเคยเป็นแชมป์ สมัยเป็นแชมป์ กลับบ้านได้เหรีญโอลิมปิค ผู้ว่าราชการจังหวัดก็แห่แหนจัดงานต้อนรับ มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้เงินอัดฉีดหลายสิบล้าน ใช้ปีเดียวก็หมด เพราะพี่น้องมารุมทึ้ง
เสร็จแล้วแชมป์โอลิมปิคคนนั้นก็ไม่มีอาชีพ นี่คือเรื่องจริง มีแชมป์มวยบางคนที่เขาต้องเดินเร่ขายซีดีเก่าและซีดีของตัวเองด้วย มีชีวิตน่าสงสาร และก็อาจจะมีแชมป์โลกเก่าบางคน อาจจะมีอาชีพด้วยการตระเวนลับมีด มีหินก้อนหนึ่งก็รับจ้างลับมีด ซึ่งคิดดูสิว่าถ้านำชีวิตมาเขียนนิยายเรื่องสั้นก็จะมีรายละเอียดเยอะเลย ทุกข์ของอดีตแชมป์โลกแบบนี้ซึ่งมีได้หลายคน แต่ว่าเราเลือกมาคนเดียว สามารถเขียนได้มากกว่าสิบหน้าแน่นอน หรือไม่แน่อาจเขียนเป็นหนังสือได้เป็นเล่มๆเลยก็ได้
เครดิตภาพ : https://th.pngtree.com
เพราะงั้นตอลสตอยคิดว่างานวรรณคดี ข้อดีของมันก็คือว่า มันเป็นงานที่พูดถึงสิ่งที่เฉพาะเจาะจง ถ้าเป็นคนก็จะเป็นเรื่อง เป็นคนคนไป ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิงสาราสัตว์ เช่นเป็นหมา ก็จะเป็นหมา เป็นตัวตัวไป มันทำให้คนเขียนสามารถที่จะพูดถึงสิ่งนั้นลงรายละเอียดได้เยอะ ทีนี้การลงรายละเอียดได้เยอะเท่าไหร่นั้น มันก็จะยิ่งทำให้คนอ่านเข้าใจสิ่งนั้น ตอลสตอยคิดว่า ทุกข์ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมมันจะต้อลึกซึ้งกว่าทุกข์ที่ได้จากการอ่านงานทางปรัชญา และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมเขาเลือกที่จะเขียนนิยาย เขียนเรื่องสั้น เขียนบทกวี บทละครเป็นต้น
ฌอง ปอล ซารต์ (Jean-Paul Sartre) ก็พูดคล้ายๆกับตอลสตอย ซาร์ตเห็นด้วยว่างานทางปรัชญานั้นจะต้องเป็นงานที่สากล แต่ว่างานวรรณกรรมจะต้องเป็นงานที่เฉพาะ โดยที่ซาร์ตกล่าวไว้ใน Literature & existentialism ซึ่งเป็นหนังสือของเขาเอง โดยกล่าวไว้ในบทต้นๆ ว่าทำไมในบางสถานการณ์ผมถึงเลือกเขียนงานปรัชญาตรงๆ ทำไมบางสถานการณ์ผมจึงเลือกเขียนนิยายเรื่องสั้น
1
ฌอง ปอล ซารต์ (Jean-Paul Sartre)
ซึ่งซาร์ตเขาบอกว่า มันขึ้นอยู่กับว่า เขาต้องการที่จะโน้มน้าวใจคนอ่าน แค่ไหน เพียงใด คือซาร์ตคิดว่างานปรัชญานั้น ต่อให้ทำดีอย่างไรก็ตาม งานปรัชญานั้นก็จะลอยอยู่เหนือชีวิตคน ลอยอยู่เหนือชีวิตเรา ยกตัวอย่างว่า สมมุติมีคนอ่านหนังสือ Being and Time ของไฮเด็กเกอร์ แล้วเข้าใจ (สมมุติว่ามีคนอ่านเข้าใจ...) สิ่งที่ไฮเด็กเกอร์พูดนั้นก็จะทำให้คนที่อ่านเข้าใจเขารู้สึกว่า
เออ... มีคนแต่งหนังสือได้ลึกขนาดนี้เชียวนะ...
แต่ว่าความจริงที่อยู่ในงานของไฮเด็กเกอร์ที่คนๆนี้เห็น มันก็เป็นความจริงที่ลอยอยู่ข้างบนเหนือชีวิตคน ไม่ลงมาข้างล่างในแง่ของการมีผลต่อการปรับทัศนะคติมีผลต่อการใช้ชีวิตของเขา หรือเวลาที่เขามีปัญหาในชีวิต เขาจะสามารถใช้แนวคิดของไฮเด็กเกอร์มาแก้ได้ มันไม่ได้น่ะสิ!...
มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger)
ซึ่งโดยธรรมชาติของงานปรัชญา ซาร์ตคิดว่ามันลอยเหนือชีวิตเรา ทีนี้มันมีของบางอย่างที่ลอยอยู่ในระนาบเดียวกับชีวิตเรา สิ่งนี้ก็เช่นศาสนา เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าอะไรคือความต่างกันระหว่าง ศาสนากับปรัชญา
ในทัศนะของซาร์ต ศาสนานั้นลอยอยู่ในชีวิตเรา หมายความว่าสิ่งที่เรียกว่าศาสนา จะมีเหตุผลไม่มีเหตุผล จะถูกวิพากษ์วิจารณ์มากน้อยเพียงใดก็แล้วแต่ ที่แน่แน่คือโดยรวมแนวคิดของศาสนานั้น อยู่ในชีวิตของคนได้ มีอิทธิพลต่อชีวิตของคนจริงๆ ไม่ได้ลอยๆอย่างปรัชญา และอีกสิ่งที่ซาร์ตคิดว่า สิ่งมันลอยอยู่ในระนาบเดียวกับชีวิตของเราก็คืองานวรรณคดี
เพราะงั้นถ้าอยากจะพูดถึงแนวคิดอะไรบางอย่างที่ซาร์ตคิดว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องโน้มน้าวใจเพื่อนมนุษย์ให้เอาไปใช้ในชีวิต ซาร์ตก็จะแต่งเป็นหนังสือปรัชญา เช่น Being and Nothingness หรือ The Transcendence of the Ego มันจะเป็นงานเขียนที่อยู่ข้างบนเชิงอุดมการณ์ โดยซาร์ตขาบอกว่า งานแบบนี้เขาแต่งเพื่อให้คนอ่าน อ่านแล้วก็ปล่อยไว้อย่างนั้นแหละ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเอามาใช้ในชีวิตจริงได้ แต่ถ้าเห็นว่าความคิดที่เขาอยากจะเสนอ เขาอยากจะให้ผู้อ่านเขาได้เอามาใช้ในชีวิตจริงๆ ให้แง่คิดต่อชีวิตจริงๆ เขาจะเขียนเป็นนิยาย เรื่องสั้น หรือว่า บทละคร
เครดิตภาพ : https://medium.com
เพราะงั้นสิ่งที่คิดว่า ซาร์ตและตอลสตอยเห็นคล้ายๆกันก็คือ งานวรรณกรรมเป็นงานซึ่ง เป็นเรื่องเฉพาะ เวลาเราอ่านเราจะรู้สึกว่าสิ่งที่เป็นงานวรรณกรรมพูดถึงมันเป็นสิ่งเฉพาะ แต่ว่ามันลงลึก ทีนี้งานวรรณคดีที่ในทัศนะของซาร์ต ซึ่งเขาบอกว่า มนุษย์ที่ปรากฎในวรรณคดีที่พูดถึงนั้นถึงแม้จะเป็นงานเฉพาะ แต่ถ้าเราแต่งได้ดี เราก็จะเห็นว่ามนุษย์เฉพาะแบบนี้ ก็จะมีอยู่จำนวนมากในโลก ดังนั้นสิ่งเฉพาะบางแง่ก็เป็นตัวแทนสิ่งสากลได้ถ้าเราเขียนดีพอ สังเกตุจากตัวละครบางตัวของซาร์ตและกามูส์
เช่น ในงานของกามูส์ที่ผมพูดถึงในบทความก่อนๆ เรื่อง "ซิสิฟัส" (The Myth of Sisyphusand Other Essays) ผมเข้าใจว่า กามูส์ตั้งใจจะบอกว่าถึงเรื่องนี้ เขาจะพูดถึงคนที่เป็นคนเฉพาะคนหนึ่งก็จริง แต่ว่าในชีวิตจริง ซิสิฟัสในชีวิตจิงมันมีทั้งโลก เพราะคนที่ต้องอยู่กับชีวิตที่จำเจซ้ำซาก แล้วไม่รู้จะทำอย่างไร จะอยู่กับมันยังไง กามูส์คิดว่าเรื่องนี้เป็นสากลได้ เพราะงั้นท้ายที่สุดแล้วงานวรรณคดี ที่ดีๆมันก็จะสามารถที่มีผลกระทบหรือเอฟเฟคที่ยิ่งใหญ่ในระดับสากลได้ถ้าคนแต่งนั้นแต่งได้ดี
3
อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus)
แต่ถึงกระนั้นโดยภาพรวมเราก็คิดว่ามีตัวอย่างสิ่งเฉพาะที่ประสบพบ อะไรบางสิ่งบางอย่างในชีวิตซึ่งเป้นเรื่องของความทุกข์ความดิ้นรนก็ช่วยเราในทางจิตวิทยา ข้อดีของการอ่านงานวรรณคดีที่ดีก็คือ มันทำให้เรามีความรู้สึกว่าทุกข์ที่เรากำลังประสบอยู่มันช่างเล็กน้อยถ้าหากเทียบกับตัวละครที่อยู่ในหนังสือ
อีกคนหนึ่งก็คือ โชเปนฮาวเอร์ (Arthur Schopenhauer) ก็กล่าวไว้ โดยที่โชเปนฮาวเออ์คิดว่า ทุกข์ของมนุษย์นั้นมันขจัดออกไม่ได้ แต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราอยู่กับความทุกข์ได้ก็คือ อ่านงานวรรณคดีที่ดี แล้วพบว่ามันมีตัวละครที่มีความทุกข์มากกว่าเรา เพราะงั้นผมคิดว่าถ้าเราเอาชีวิตของ พระปฏาจาราเถรี มาแต่งเป็นนิยายดีๆ คนอ่านก็จะมีความรู้สึกว่า...
เครดิตภาพ : http://myalphabet2016.blogspot.com
โอ้! สิ่งที่พระเถรีท่านพบในชีวิต ถ้าเทียบกับเรานั้นมันเทียบกันไม่ได้เลย ดังนั้นเรายังไม่ควรฆ่าตัวตายนะ ทำนองนี้ นี่คือเหตุผลที่ว่าในโลกนี้ทำไมนักปรัชญาบางคนจึงเลือกแต่งงานปรัชญาในรูปของวรรณกรรม
อาร์เทอร์ โชเปนฮาวเอร์ (Arthur Schopenhauer)
เป็นที่น่าสังเกตุว่า นักเขียนนักปรัชญาเยอรมันในศตรรษที่20เป็นต้นมา หลายคนเช่น เฮอรมานต์ เฮสเส (Hermann Hesse), โทมัส มานน์ (Thomas Mann),คาร์ล เกลเลอรัป (Karl Adolph Gjellerup) คนนี้ที่เขียนเรื่องกามนิต
ถ้าเป็นนักปรัชญาก็เช่น นิชเช่ (Friedrich Nietzsche) หรือถ้าเป็นคนแต่งเพลงก็เช่น วากซ์เนอร์ (Richard Wagner)
เฮอรมานต์ เฮสเส (Hermann Hesse)
โดยที่พวกเยอร์มันเองเขาตั้งข้อสังเกตุว่า นักเขียนนักปรัชญา และนักประพันธ์ดนตรีที่มีชื่อเสียงมากๆเหล่านี้ มีลักษณะคล้ายกันอย่างหนึ่งก็คือ เป็นคนที่อ่านงานทางพระพุทธศาสนามาก่อน แล้วก็สามารถที่จะแปลงเนื้อหาของศาสนาพุทธที่ตัวเองอ่านให้กลายมาเป็นงานวรรณคดีงานวรรณกรรมที่ดี งานดีหรือไม่ก็ขนาดได้รางวัลโนเบลเอางั้นก็แล้วกัน โดยที่เอ่ยชี่อมาก็ได้โนเบลกันหมดทุกคน
เครดิตภาพ : https://www.trueplookpanya.com
ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ว่าความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในตัวนักเขียนเหล่านี้ ถ้าเทียบกับผู้รู้ทางด้านพระพุทธศาสนาในประเทศพุทธ เช่นเมืองไทยบ้านเรานั้นเทียบกันไม่ได้เลย คือเราเองรู้คำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่านักเขียนเหล่านี้มหาศาลเลย (คิดว่างั้น)แต่ข้อแตกต่าระหว่างเราและเขาก็คือ
คล้ายๆกับว่าเรานอนทับกองเงินกองทองอยู่ ทั้งที่เมืองไทยก็เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าการศึกษาพระพุทธศาสนานั้นเจริญรุ่งเรื่อง พระบิดาของเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทานให้เรานอนทับของดีอยู่แต่เราก็ไม่รู้สึกว่าเราจะเอาไปทำประโยชน์อะไรได้ ในขณะที่พวกเยอรมันพวกนี้เดินๆมาก็เห็นเศษที่กระเด็นไปนิดๆหน่อยๆ เอาไปพลิกดูไม่กี่หน้าแล้วได้แรงบันดาลใจเอาไปขยายความต่อจนกลายเป็นงานวรรณคดีชั้นเลิศ
เครดิตภาพ : https://www.pinterest.com
สำหรับคนที่แต่งนิยายเรื่องกามนิต(The Pilgrim Kamanita) ที่ชื่อ คาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอรัป (Karl Adolph Gjellerup) เป็นชาวเดนมาร์ก เมื่ออ่านดูแล้วในตอนท้ายเล่มจะมีโน๊ตของผู้แต่งนิยาย เกลเลอรัป เขาบอกว่า ตอนจะเขียนเรื่องนี้เขาต้อง research ค้นคว้าว่าสภาสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาลเป็นยังไง หลักปรัชญาที่สำคัญๆของพระพุทธศาสนาเป็นยังไง หลักปรัชญาอื่นที่มีอยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าเป็นยังไงเขาศึกษามาหมด แต่แล้วเขาก็อ้างอิงงานวิชาการว่าเรื่องนี้เขาอ่านงานของโปรเฟสเซอร์คนนั้นคนนี้ หนึ่งในนั้นที่มีอิทธิพลต่อคนเขียนกามนิตย์ ก็คือ โชเปนฮาวเออร์ (Arthur Schopenhauer)
1
กามนิต (The Pilgrim Kamanita)
มีการอ้างถึง โชเปนฮาวเออร์อยู่บ่อยในโน๊ตท้ายเล่มของเขา มากไปกว่านั้นตอนที่จะแต่งเรื่องกามนิต เกลเลอรัป เขาอ่าน อุปนิษัท อ่านพระไตรปิฎกอะไรต่อมิอะไรมาหมดแล้วล่ะ คล้ายๆกับว่าเขาต้องวิจัยมาก่อน ต้องresearchก่อน มันถึงจะแต่งได้ไง เพราะงั้น เวลาเราอ่านกามนิตเราจึงรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ในทัศนะของชาวพุทธเรามันไม่มีอะไรที่เรารู้สึกขัดเขินเลย เรื่องมันไปได้ค่อนข้างจะดี
คาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอรัป (Karl Adolph Gjellerup)
กลับมาที่ตอลสตอยจากที่บอกว่างานเขียนที่ดีมันต้องแสดงถึงการต่อสู้ความดิ้นรนของมนุษย์ สู้กันขนาดไหนท้ายที่สุดก็ว่างปล่าว เช่นลองไปดูสามก๊กก็ได้ ว่าก็คงเห็นว่าท้ายที่สุดสในสามก๊ก ไม่มีใครได้อะไรเลยว่างปล่าวหมด คนสุดท้ายที่คิดว่าได้อะไรมากว่าคนอื่น คือสุมาอี้ เราก็จะเห็นตอนที่เขาแก่ และหัวใจวายตาย ก็เท่านั้นเอง
นั่นก็คืองานที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงชีวิตมันเริ่มต้น ต่อสู้แข่งขันดิ้นรน ยื้อแย่ง บางคนได้ บางคนไม่ได้ แต่ท้ายสุดไม่มีใครได้อะไรเลย อ่านแล้วมันก็ทำให้รู้สึกได้ว่า
เอ้อ..ชีวิตมันก็เท่านี้แหละ
แล้วคำว่าชีวิตมันก็เท่านี้ ในแง่หนึ่งมันก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเราที่เรียกว่า"ทุกข์"
ทุกข์นี้ไม่ใช่ความเจ็บปวด แต่มันคือความที่มันดิ้นรนระหกระเหิน ดูเหมือนจะได้ จะมี จะเป็น สถานะอะไรบางอย่าง ครอบรองบางสิ่ง แต่ที่สุดก็ต้องหลุดมืออยู่ดี
สามก๊ก เครดิตภาพ: https://samkok4g.wordpress.com
เพราะที่ว่ามาทั้งหมดมันก็ตายไปพร้อมกับความที่เราตาย หรือกลายเป็นของผู้อื่นไป แต่ยังไงก็อย่างที่ซาร์ตว่าไว้
ปรัชญาเป็นสิ่งที่ลอยเหนือชีวิติแต่สิ่งที่ใกล้ชิดก็คือศาสนาและวรรณะคดี
แต่สิ่งที่ต่างกันระหว่างศาสนากับวรรณคดีก็คือ ดูเหมือนศาสนาจะเชื่อว่า ท้ายที่สุดแล้วเหมือนกับว่าเราจะไม่ได้อะไรจากโลกนี้ แต่มันก็จะมีบางอย่างที่เราได้ซึ่งเป็นความเต็มความสมบูณ์ในชีวิตบางอย่างที่ศาสนาจะเชื่ออย่างนั้น
ส่วนจะโน้มน้าวคนอื่นให้เชื่อเหมือนเราได้รึเปล่านั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความคิดเหล่านี้จะไม่ปรากฎอยู่ในนักเขียนโดยทั่วๆไป เพราะศาสนาเชื่อว่ามันไม่ว่างปล่าวจนถึงที่สุดหรอกชีวิต
เครดิตภาพ : https://storylog.co
ชีวิตเป็นทุกข์ก็จริงอยู่ แต่ว่า มันเหมือนกับมีสภาวะบางอย่างที่เราข้ามสิ่งนี้ได้แล้วเราไปเจอบางสิ่งบางอย่างซึ่งมันเป็นนิรันดร ถ้าจะมีสิ่งนี้ในงานวรรณคดีสิ่งนี้ก็จะมีเนื้อหาที่มาจากศาสนานั่นเอง
วิรุฬหก
โฆษณา