17 ต.ค. 2020 เวลา 01:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ข่าวลวงแพร่กระจายไปได้อย่างไร?
"เรื่องโกหกสามารถเดินทางไปไกลถึงครึ่งโลก
ในขณะที่ความจริงกำลังใส่รองเท้าอยู่"
- Mark Twain (กล่าวจริงไหมไม่รู้)
กล่าวคือ บริบทโดยรวมอาจทำให้เราเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
ทศวรรษก่อน...
สื่อส่วนใหญ่มีสาขาทั่วโลก
ประกอบด้วย
หนังสือพิมพ์ และเครือข่ายหลายแหล่ง
ซึ่งมีแหล่งที่ใช้รวบรวมข้อมูลโดยตรง
เมื่อก่อน...
มีแหล่งรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาและที่มาของข่าวก่อนที่จะตีพิมพ์ เพื่อได้รับการรับรองความถูกต้องของข้อมูล ข่าวลวงจึงถูกกระจายไปได้ค่อนข้างยาก
ปัจจุบัน...
ข้อมูลกระจายออกไปรวดเร็ว
นำไปสู่ปรากฏการณ์
"การรายงานข่าวเวียน"
รูปแบบที่ 1.
สิ่งพิมพ์ A ตีพิมพ์ข้อมูลผิด ๆ
=> สิ่งพิมพ์ B ก็ตีพิมพ์ซ้ำ
=> สิ่งพิมพ์ A อ้างอิงว่าสิ่งพิมพ์ B เป็นแหล่งข้อมูล
รูปแบบที่ 2.
สื่อหลายสำนักรายงานจากแหล่งข้อมูลเท็จ
=> คนเอาไปแชร์ต่อเพราะดูน่าเชื่อถือ
รูปแบบที่ 3.
User-Generated Content
เนื้อหาที่ถูกเขียนโดยคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น บล็อก โพสต์ในโซเชียลมีเดีย วิกิพีเดีย
=> คนนำมาอ้างอิง และถูกนำมาตีพิมพ์
=> ทำให้ยากที่จะแย้งว่าข้อมูลนี้ผิด
ข่าวลวงแพร่กระจายไปได้อย่างไร?
กรณีศึกษา
ปี 1998
มีการตีพิมพ์รายงานทางวิทยาศาสตร์ลวงโลก
"การฉีดวัคซีนทำให้เกิดอาการออทิซึมในเด็ก"
ส่งผลให้
=> เกิดการประท้วงไม่เอาวัคซีน
กลายเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง และเกิดปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน ทำให้พวกเขาไม่ได้รับการป้องกันสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ
บทความเชิงเสียดสีที่ถูกรายงานโดยคนที่ไม่เข้าใจมุก
เช่น..
'เรื่องตลก' ในวารสารแพทย์อังกฤษ "การใช้พลังงานของวัยรุ่นที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ยุคใหม่"
เรื่องทำให้เกิดความเข้าใจผิด
=> และถูกนำไปใช้อ้างอิงกว่า 400 ครั้ง ในวารสารวิทยาศาสตร์สำคัญ
#สาระจี๊ดจี๊ด
เตือนสติ
- หลีกเลี่ยงสื่อที่เล่นกับอารมณ์
- มองหาการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่น่าสงสัย
- หาแหล่งที่มาแรกของการรายงานข่าว
- ไม่ชัวร์อย่าแชร์
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา