Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THINK FUTURE
•
ติดตาม
18 ต.ค. 2020 เวลา 06:15 • การเมือง
ทิศทางการใช้โซเชียลมีเดียต่อการเมืองในประเทศไทย
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนที่ต้องการต่อต้านรัฐบาลในครั้งนี้ และสิ่งที่ทำให้เป็นกระแสอย่างรวดเร็วเกิดจากการเคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดีย จริงๆกระแสในเรื่องนี้ถูกจุดไว้นานแล้วแค่รอวันปะทุเท่านั้นเองไม่ว่าจะดูจากจำนวนการค้นหาหรือ Hashtag เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อรัฐบาลในโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆก็มีจำนวนมีสูงขึ้นเรื่อยๆ ในยุคแรกแพลตฟอร์มหลักสำหรับการสื่อสารในเรื่องนี้คงไม่พ้น Facebook หรือ Twitter แต่ปัจจุบันไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ 2 แพลตฟอร์มนี้อีกแล้ว
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในปี 2020 มากถึง 52 ล้านคนคิดเป็น 75% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และแน่นอนว่ากลุ่มคนที่เป็นตัวหลักคือกลุ่มวัยรุ่น-หนุ่มสาว ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเป็นสัดส่วนหลักของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียด้วย
โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Facebook และ Twitter แต่เนื่องจากความนิยมนี้เองที่ทำให้ เริ่มโดนข้อจำกัดและแรงกดดันจากรัฐบาลมากขึ้น แต่ในตอนนี้แรงกระเพื่อมไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ Facebook และ Twitter อีกแล้วแต่ขยายไปยัง แพลตฟอร์มอื่นไม่ว่าจะเป็น TikTok Tinder และแม้แต่ในสังคมเกมออนไลน์ และสุดท้ายรัฐบาลก็ได้เริ่มเข้ามาจำกัดการใช้งานของผู้ใช้ Tinder ที่โพสสนับสนุนม๊อบแล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่าแอพ Tinder ที่เป็นลักษณะมีความเป็นส่วนตัวสูงก็ยังคงถูกจำกัด
สื่อสังคมออนไลน์และรูปแบบการสื่อสารดิจิทัลอื่น ๆ ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยตำรวจ ทหารหน่วยงานด้านความปลอดภัยและกลุ่มผู้มีอำนาจพิเศษ ในหลายกรณีการเผยแพร่เนื้อหาทางออนไลน์ที่ถูกระบุว่า “ก่อให้เกิดความไม่สงบในที่สาธารณะ” หรือ“ คุกคามต่อความมั่นคงของชาติ” ได้นำไปสู่การล่วงละเมิดสำหรับการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะและอาจโดนควบคุมตัวได้
ตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามากำกับดูแลในปี 2557 ได้มีการบังคับใช้กฎหมายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น และในเดือนกันยายนที่ผ่านมาเว็ปไซต์ และโซเชียลมีเดียก็ถูกบล็อคถึง 2,200 รายการ ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่เริ่มมีระบบกลั่นกรองที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลไทย ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงเริ่มใช้หลายช่องทางอื่นในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์มากขึ้นนั่นรวมไปถึง Tinder แอพหาคู่ยอดนิยมด้วย
แต่เมื่อเร็วๆนี้มีผู้ใช้งาน Tinder หลายคนแจ้งว่า Profile ถูกจำกัดหรือระงับการใช้งานเนื่องจากแชร์เนื้อหาที่เกี่ยวกับการสนับสนุนประชาธิปไตย เช่น 10 ข้อเรียกร้องของกลุ่มประชาธิปไตย QR Code ที่เชื่อมโยงไปคำร้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกเซ็นเซอร์ ซึ่งในตอนนี้ Tinder ยังไม่ได้มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการ อาจจะถูกระงับการใช้งานเพราะใช้แอพอย่างผิดวัตถุประสงค์ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม Tinder เคยระบุว่า อนุญาตให้ผู้ใช้แสดงออกได้อย่างอิสระตราบใดที่ไม่เป็นการคุกคามผู้อื่น
ต้องดูต่อไปว่า Tinder จะมีมาตราการสำหรับเรื่องนี้อย่างไร ตรงข้ามกับ Twitter ที่ให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยหนุมสาว( Young Thais ) แต่ก็มีคนบางกลุ่มตั้งข้อสงสัยว่า Twitter ก็อาจไม่ปลอดภัยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้งานและอำนวยความสะดวกในการจับกุม และเรื่องของการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการเซ็นเซอร์เนื้อหาบางอย่าง
สำหรับ Facebook เองก็มีการแบนกลุ่มที่ไม่เหมาะสม และปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมตามคำร้องขอของรัฐบาล แม้ว่าจะมีการตำหนิรัฐบาลว่าเป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเป็นการจำกัดสิทธิ์ต่อการแสดงความคิดเห็นของบุคคล
และล่าสุดแอพพลิเคชันสัญชาติจีนที่กำลังได้รับความนิยมอย่าง Tiktok ก็เซนเซอร์เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียถือเป็นพลังสำคัญในการกำหนดทิศทางการเมืองไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่รวมไปถึงทั่วโลก เมื่อจุดเปลี่ยนทางการเมืองเช่นการประท้วงของไทยเกิดขึ้น โซเชียลแพลตฟอร์มเหล่านี้ยิ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และมีอิทธิพลต่อทั้งกระบวนทางสังคม และการเมือง
ปัจจุบันผู้ใช้งานเริ่มมีความระมัดระวังมากขึ้นต่อมาตราการของโซเชียลแพลตฟอร์มที่ใช้งาน และท่าทีความร่วมมือที่ให้แก่รัฐบาล ซึ่งบริษัทเจ้าของแพลฟอร์มควรมีความรับผิดชอบในการปกป้องสิทธิ์ของผู้ใช้งาน
โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งสาธาณะที่เปิดให้ทุกคนเปิดเผยความคิด และใส่ข้อมูลที่ต้องการลงไปได้ ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการนำเสนอข้อมูลผ่านทีวีสมัยก่อนที่เราจะเป็นผู้รับสารอย่างเดียว และยากที่จะคัดเลือกเองได้ แต่แน่นอนว่าความเป็นอิสระของโซเชียลมีเดียก็ย่อมเป็นดาบสองคมคือมีทั้งเรื่องจริงและเท็จ เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นผู้ตัดสินด้วยตนเองว่าจะเลือกรับสารนั้นหรือไม่ แต่ข้อดีคืออย่างน้อยเราก็สามารถเลือกที่จะรับหรือไม่รับสารได้ด้วยตัวเอง และจากสิ่งเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนสามารถใช้อินเตอร์เนตเป็นสิ่งขับเคลื่อนพลังของความคิด และไม่จำกัดแค่ผ่านโซเชียลมีเดียที่ใดที่หนึ่งอีกแล้ว
33 บันทึก
44
6
41
33
44
6
41
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย