20 ต.ค. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
ทำไมร่างกายของเราจึงแก่ชรา?
#สาระจี๊ดจี๊ด
ร่างกายคนเรารองรับการแก่ชรามากสุดอยู่ที่ 90 ปี
เจนนี คัลมอง (Jeanne Calment) หญิงชาวฝรั่งเศส เสียชีวิตด้วยวัย 122 ปี กับอีก 164 วัน (1875-1997) ทำให้เธอเป็นคนที่มีอายุมากที่สุดบนโลกใบนี้
เรารู้กันว่าการแก่ตัวคืออะไร
สำหรับบางคน มันหมายถึงการเติบโตขึ้น
ในขณะที่บางคน มันมันหมายถึงการแก่ตัว
การแก่ชรา คืออะไร?
เพราะการหานิยามทางวิทยาศาสตร์ที่ตายตัว สำหรับการแก่ชรานี้ ยังเป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้าต่อไป
แต่ที่สามารถบอกได้ก็คือ การแก่ชรา เกิดขึ้นเมื่อกระบวนการตามธรรมชาติปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ และพิษในอากาศ น้ำ และการบริโภคของเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และหน้าที่ของโมเลกุลและเซลล์ของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นผลักดัน ให้เกิดการเสื่อมถอย และต่อมากลายเป็นความล้มเหลวของร่างกายทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต
เมื่อเวลาผ่านไปตามธรรมชาติ ร่างกายของเราสะสมความเสียหายทางพันธุกรรม ในรูปแบบของดีเอ็นเอที่เสื่อม
ทำไมร่างกายของเราจึงแก่ชรา?
เมื่อดีเอ็นเอของร่างกายถูกสร้างขึ้น และเกิดในเซลล์ที่ไม่แบ่งตัวอีกแล้ว ออแกเนล (Organelle) ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) มีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายนี้เป็นพิเศษ
หากการทำงานของไมโตคอนเดรียลดลง เซลล์จะเสื่อมลง และจากนั้นทั้งอวัยวะก็จะเสื่อมลงเช่นกัน
#สาระจี๊ดจี๊ด
ไมโตคอนเดรีย ผลิตอะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต หรือ เอทีพี ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน สำหรับกระบวนการระดับเซลล์ รวมถึงไมโตคอนเดรียยังกำกับกิจกรรมของเซลล์อีกมากมาย และมีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดให้เซลล์ตาย
การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในรูปแบบการแสดงออกของยีน ที่รู้จักกันว่า การเปลี่ยนแปลง อิพิจีเนติก (epigenetic) จะส่งผลต่อเนื้อเยื่อ และเซลล์ของร่างกาย จากที่ยีนไม่เคยแสดงออก หรือแสดงออกในระดับที่ต่ำในตอนแรกเกิด ก็จะแสดงออกเด่นชัดในผู้ใหญ่ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาของ โรคการเสื่อมสภาพ เช่น อัลไซเมอร์ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
แม้ว่าเราจะสามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง ทางพันธุกรรมที่เป็นอันตรายเหล่านี้ได้ เซลล์ของเราเองก็ไม่อาจช่วยเราได้ ความจริงก็ยังเป็นดังเดิม คือ การเกิดใหม่ของเซลล์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของชีวิตเสื่อมถอยด้อยลง
เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ดีเอ็นเอในเซลล์ของเราที่ถูกขดเก็บอยู่ใน โครโมโซม (Chromosome) ซึ่งแต่ละส่วนมีตัวปกป้องที่บริเวณตรงปลายเรียกว่า ทีโลเมีย (Telomeres)
ทีโลเมีย จะหดสั้นลงทุกครั้ง ที่มีการสร้างเซลล์ใหม่ เมื่อทีโลเมียสั้นเกินไป เซลล์หยุดแบ่งตัวและตาย หรือลดความสามารถของร่างกายในการสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่
การแก่ชรายังเกี่ยวข้องกับสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ สเต็มเซลล์แบ่งตัว โดยปราศจากความสามารถเพื่อซ่อมแซมเซลล์เดิม
เมื่อเราอายุมากขึ้นสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ก็ลดลง และมักจะเสียความสามารถ
เมื่ออายุมากขึ้นอีก พวกมันหมดความสามารถในการควบคุมคุณภาพโปรตีน ทำให้เกิดการสะสมของสารอาหารที่ถูกทำลาย และอาจเป็นพิษ ซึ่งนำไปสู่กิจกรรมเมตาบอลิซึมที่มากเกินไป อาจทำให้พวกมันเป็นอันตรายได้ การสื่อสารในเซลล์เริ่มช้าลง สุดท้ายแล้ว ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายก็ลดลง
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
เทคโนโลยีในอนาคต อย่างเช่น นาโนบอท ที่ซ่อมเซลล์ได้ หรือยีนบำบัด จะยืดอายุเราออกไปได้หรือไม่ และเราต้องการที่จะมีอายุยืนนานกว่าที่ตอนนี้เราเป็นอยู่หรือไม่ ลองถามตัวเองและจินตนาการถึงตอนอายุ 120 ปี ดูสิ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา