20 ต.ค. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ "Hyperfocus"
ทำน้อยให้ได้มากด้วยสมอง 2 โหมด
เขียนโดย Chris Bailey ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity
สรุปโดย คุณ Kittiwin Moodang Kumlungmak
Attentional Space เป็นเหมือน RAM ของสมองที่ใช้ใน โฟกัส คิด วิเคราะห์ และ จดจำ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เรากำลังทำอยู่ ณ ชั่วขณะหนึ่ง
1
ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เราทำงาน(วงกลมใหญ่)อยู่ เราก็กำลังทำกิจกรรมอื่น ๆ (วงกลมเล็ก) ไปด้วย อย่างการหายใจ ฟังเพลง หรือว่าเคี้ยวอาหาร
กิจกรรมเหล่านี้จะใช้พื้นทีใน Attentional Space ของเราตามความยากง่าย
สมองของเราทำงานได้ดีที่สุดเมื่อเข้าสู่ 2 โหมดการทำงานหลัก แบ่งตามการใช้งานของ Attentional Space
1 Hyperfocus -> การตั้งใจจดจ่ออยู่กับงานเพียงงานเดียว ทำให้มีประสิทธิผล(Productivity มากที่สุด)
2 Scatterfocus -> ตั้งใจ ไม่จดจ่ออยู่กับอะไรเลย แต่ปล่อยใจให้ลอยไปเรื่อย ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ที่ดีขึ้น และยังช่วยฟื้นพลังขงสมองที่เหนื่อยล้าจากการทำงาน
1
ควรเลือกใช้แต่ละโหมดตามความต้องการของงาน และระดับพลังงานของสมอง
1. Hyperfocus คือการที่เราตั้งใจจดจ่ออยู่กับกิจกรรมเพียงหนึ่งเดียว ทำแทนที่จะ
ถูกสิ่งต่าง ๆ มารบกวน กิจกรรมนั้น ๆ จะเริ่มใช้พื้นที่ใน Attentional Space ที่มากขึ้น ทำให้ประสิทธิผลสูงขึ้น เนื่องจากเราดึงพลังงานสมองมาใช้กับกิจกรรมนั้น ได้มาก
ขึ้น เหมือนกับ computer ที่กำลังใช้งานแค่โปรแกรมเดียว โปรแกรมนั้นจะไม่กระตุกเลย
การที่เราทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน มีหลายครั้งที่ Attentional Space ไม่เพียงพอ เหมือน RAM ที่น้อยเกินสำหรับเปิดหลายโปรแกรมพร้อมกัน ส่งผลให้การทำงานช้าลง และไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร
ดังนั้น ยิ่งเราทำกิจกรรมพร้อมกันหลายอย่างขึ้น ประสิทธิผลของเราก็จะลดลง อย่างมีนัยสำคัญ
ผู้เขียนแนะนำ 4 ขั้นตอนที่จะช่วยให้เข้าสู่ Hyperfocus โหมดได้
1 จดจ่อกับเรื่องสำคัญเพียงเรื่องเดียว
2 กำจัดสิ่งรบกวนออกไป เช่น email โทรศัพท์ Line Facebook etc.
3 เริ่มทำอย่างตั้งใจ
4 กลับมาโฟกัสให้เร็วที่สุด เมื่อเกิดการหลุดโฟกัส ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ
1
2. Scatterfocus คือการที่เราตั้งใจไม่จดจ่อกับอะไรเลย แต่ต้องปล่อยใจให้ว่าง และล่องลอย เพื่อให้ Attentional Space ของเราเลื่อนลอยไปตามมุมต่าง ๆ ภายสมอง เพื่อรวบรวมข้อมูล มาประติดประต่อกัน จะทำให้เราสามารถคิดหาไอเดีย หรือวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ขึ้น
Scatterfocus มี 3 แบบคือ
1 Capture -> ปล่อยใจให้ลอยไปเรื่อย ๆ แล้วจดบันทึกไอเดียต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นมาในหัว
2 Problem Solving -> เก็บปัญหาไว้ในใจแล้วปล่อยใจให้ล่องลอยอยู่รอบ ๆ ปัญหา เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหานั้น
3 Habitual -> ทำเรื่องที่ง่ายและเคยชินอย่างการฟังเพลง วาดภาพ หรืออ่านหนังสือ ทำให้เราไม่ต้องจดจ่อกับเรื่องนั้นมาก แล้วก็ปล่อยใจให้ลอยไป เพื่อค้นหาไอเดียใหม่ๆ
จากงานวิจัยของผู้เขียน Habitual โหมดช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้มากที่สุด
ข้อดีของ Scatterfocus มี 2 อย่าง
1 ฟื้นฟูพลังสมอง
2 ทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์
Scatterfocus ทำได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ถ้าอยากได้ประโยชน์สูงสุดให้ทำดังนี้
1 ลองเปลี่ยนที่นั่งทำงาน เพื่อพบเจอสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้
2 จดบันทึกปัญหาไว้ เพื่อให้เราไม่ลืมจุดมุ่งหมายของการ Scatterfocus
3 นอนหลับไปพร้อมปัญหา เนื่องจากขณะนอนหลับนั้นใจของเราจะลอย และฝัน ซึ่งถือเป็น Scatterfocus อย่างหนึ่งบ่อยครั้งที่เราคิดอะไรออกตอนที่เราหลับ
4 ตั้งใจไม่โฟกัสกับเรื่องอะไรเลย เพื่อให้ Attentional space มีพื้นที่สำหรับไอเดียใหม่ๆที่ผุดขึ้นมา
5 หยุดพักระหว่างที่งานยังไม่เสร็จ ทำให้งานยังคงค้างคาอยู่ในใจ ช่วยให้เรา Scatterfocus อย่างมีจุดมุ่งหมาย
6 ขยันหาความรู้ ทำให้สมองมีข้อมูลมากขึ้นเพื่อการประติดประต่อ และสร้างเป็นไอเดีย
เราสามารถให้ Hyperfocus และ Scatterfocus ร่วมกันได้
อาจจะเริ่มจากการที่เราเข้าโหมด Hyperfocus เพื่อทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เราเจอปัญหาที่แก้ไม่ตก เราก็เปลี่ยนไปใช้ Scatterfocus โหมด เพื่อคิดหาไอเดียมาแก้ปัญหา
นอกจากนั้น เนื่องจากการ Hyperfocus ต้องใช้พลังงานสมองที่สูงมาก เมื่อเข้าโหมดนี้ไประยะเวลาหนึ่ง สมองเราจะเริ่มล้า การเปลี่ยนเข้าสู่ Scatterfocus โหมด จะช่วยฟื้นฟูพลังสมอง เพื่อให้พร้อมที่จะกลับมา Hyperfocus ได้อีกครั้ง
โฆษณา