30 ต.ค. 2020 เวลา 13:02 • ความคิดเห็น
-โชค 2 ชั้นของไทย โควิด-19 และการชุมนุมประท้วง-
การชุมนุมที่มีอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากบอบช้ำเพราะโควิด-19 สื่อเยอรมันแนะ ประเทศไทยต้องปฏิรูปหลายทางเพื่อหลีกเลี่ยงติดกับดักเศรษฐกิจ
บทความวิเคราะห์ของสำนักข่าว Deutsche Welle หรือ DW ของเยอรมนี พูดถึงปัญหาของไทย เศรษฐกิจที่เริ่มดูไม่ค่อยกระเตื้องตั้งแต่ก่อนโรคระบาด และถูกโควิด-19 ทำให้บอบช้ำหนัก และมาซ้ำด้วยการประท้วง ในขณะที่การประท้วงเป็นสิทธิชอบธรรมทางการเมือง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาพลักษณ์ของประเทศ
-- จีดีพี ผลิตภัณฑ์มวลรวม กับปัจจัยทางการเมือง –
ย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อครั้งปีที่เกิดรัฐประหาร ปี 2014 จีดีพีการเติบโตของไทยลดลงไป 1 เปอร์เซ็นต์ และจนถึงก่อนหน้าโควิด-19 ระบาด การลงทุนในภาคเอกชนของไทยก็ยังไม่เคยกลับไปถึงจุดก่อนรัฐประหาร
แกเรทธ์ เลเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์เอเชีย กล่าวว่า ถ้านักลงทุนอยากจะสร้างโรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาจะมองเวียดนาม เพราะสถานการณ์การเมืองมีความเสถียร ค่าแรงต่ำ และอยู่ใกล้จีน ในขณะที่หันกลบมามองประเทศไทยที่ค่าแรงสูงกว่าเวียดนามเล็กน้อย โครงสร้างพื้นฐานไม่เชื่อมโยงกับจีนเท่าเวียดนาม และมีความไม่สงบทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระยะ นักลงทุนก็ไม่เลือกไทย
-- เศรษฐกิจ หนึ่งในเหตุผลของการประท้วง ที่จะยิ่งกระทบเศรษฐกิจ --
DW สัมภาษณ์ชายวัย 58 จากภูเก็ต ที่ต้องประสบปัญหาการเงินอย่างหนัก เพราะกิจการโรงแรมของเขาต้องหยุดชะงัก และร้านอาหารอีก 2 ร้านก็กำลังพยายามเอาตัวรอด เขาโทษ นายกรัฐมนตรี ประยุทธ จันทร์โอชา ว่าไม่มีความสามารถด้านเศรษฐกิจ “โรคระบาดเหมือนเป็นตะปูตัวสุดท้ายที่ตอกฝาโลง ทั้งภาคเศรษฐกิจ ทั้งภาคโรงแรม และภาคการท่องเที่ยว อยู่ในช่วงดิ่งลง”
นั่นคือเหตุผลที่เขาหยิบสีแดงออกมาใส่อีกครั้ง เขาเข้าไปช่วยหาอาหารและช่วยด้านโลจิสติกกับผู้ชุมนุมโดยใช้เงินเก็บของตัวเอง ผู้ชุมนุมที่จำนวนมากเป็นนักเรียนที่กำลังออกมาเรียกร้องให้นายหฯลาออก เรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ และทอนอำนาจพระมหากษัตริย์
“ผมไม่มีอะไรจะเสีย ผมเสียไปแล้วทุกอย่าง”
แต่นักเศรษฐศาสตรืระบุว่า การประท้วงครั้งยิ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ เพราะทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมา และทำให้คนไม่อยากใช้เงิน และบริษัทต่างไม่อยากลงทุน
- ภาคการท่องเที่ยว –
แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยไม่ได้คาดว่าจะกลับมามีชีวิตชีวาในเร็ววัน แต่รัฐบาลก็เริ่มเปิดประเทืศรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ กับวีซ่าพิเศษ STV ที่จะให้อยู่ในประเทศได้ 90 วัน หลังกักตัว 14 วัน และมีผลตรวจโควิด 19 เป็นลบ
ประเทศไทยได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก กับการจัดการที่ดี ที่สามารถควบคุมการระบาดได้ และมีผู้ติดเชื้อในประเทศต่ำมาก แต่การท่องเที่ยวก็ไม่ใช่อะไรที่จะฟื้นฟูกันง่ายๆ เมื่อหลายประเทศในโลกกำลังเผชิญกับการระบาดระลอก 2 เลเธอร์ระบุว่า เมื่อเกิดการประท้วงในไทย ข้อดีคือ อย่างไรเสีย การท่องเที่ยวก็ไม่ตกต่ำไปมากกว่าที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและของภาคธุรกิจจะยังคงได้รับผลกระทบ ถ้าการชุมนุมยืดเยื้อ เป็นไปได้ว่าจีดีพีจะลดลงอีก 0.5 เปอร์เซ็นต์
-- รัฐประหารและวงจรการเมือง –
ความวุ่นวายทางการเมืองไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย รัฐประหารเกือบ 20 ครั้งตั้งแต่เปลี่ยนการปกครองในปี 1932 ยังไม่นับการชุมนุมประท้วงรัฐบาลนับครั้งไม่ถ้วน
ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การลงทุนและศักยภาพการผลิตของไทยตกต่ำ เป็นเหตุให้การเติบโตของไทยช้ากว่าเพื่อนบ้าน
นักวิเคราะห์ระบุว่า อย่างการลงทุนภาคเอกชนในไทยที่ยังคงไม่ฟื้นฟูกลับมาเท่ากับช่วงปีก่อนรัฐประหาร 2014 ซึ่งครั้งนั้น จีดีพีหายไป 1 เปอร์เซ็นต์
-- ประเทศไทยต้องปฏิรูปโครงสร้าง –
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ประเทศไทยต้องผลักดันภาคการผลิต และพยายามฟื้นฟูการลงทุนภาคเอกชน ถ้าไม่อย่างนั้น มีความเสี่ยงจะติดกับกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) คือเมื่อไม่ใช่ประเทศยากจนอีกต่อไป แต่ก็ไม่มีรายได้พอและไม่เติบโตพอที่จะสามารถอยู่ในกลุ่มประเทศร่ำรวย
บทความวิพากษฺวิจารณ์ว่า นายกฯ ประยุทธ ไม่ได้แสดงให้เห็นความตั้งใจที่จะผลักดันการปฏิรูปอย่างจริงจัง อย่างเรื่องจะผ่อนผันกฎหมายที่ทำให้บริษัทต่างชาติไม่ค่อยอยากเข้ามาลงทุน หรือกฎหมายที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยได้
โฆษณา