7 ธ.ค. 2020 เวลา 04:11 • ข่าว
ความเหลื่อมล้ำ คืออะไร ไทยเคยติดอับดับหนึ่งจากการใช้ภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวตัดสิน และในยุคโดวิด-19กำลังทำให้ช่องว่างนี้ยากแก้ไขโดยเฉพาะจิตสำนึกของผู้ที่กำลังดิ้นรนเพื่อครอบครัว จริงหรือ?
การเป็นเจ้าของกิจการกับการเป็นลูกจ้างที่ขยันทำงาน เกิดรายได้แตกต่างกันมาก ตรรกะที่ว่าขยันทำให้รวยไม่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด ลูกจ้างขยันทำงานเต็มที่รายได้ไม่ได้เพิ่มจนสามารถทำให้รวย แต่เจ้าของกิจการที่ขยัน อาจรวยได้มากกว่า
ค่าแรงจากการทำงานสถานบันเทิงที่ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า เดือนหนึ่งอาจสูงถึง 2.5 แสน/เดือน การรับเงินจำนวนขนาดนี้กับการที่ต้องเสี่ยงเดินทางข้ามชายแดนใครที่คิดว่าทำได้ จะลองทำดูหรือไม่ กับตัวเลขของจำนวนคนไทยที่ข้ามฟากออกไปหาเงินก้อน เพื่อสร้างรายได้ในสถานการณ์โควิด-19
1
มันคืออะไร?ความเหลื่อมล้ำของชีวิต? ความเหลื่อมล้ำทางสังคม? ความเหลื่อมล้ำของการศึกษา? ความเหลื่อมล้ำทางความคิด???
หรือภาพลักษณ์ของสาวไทย ที่ถูกมองว่า...เกิดจากผู้อื่นมีอคติหรือมันคือความจริง
ช่วงที่ผ่านมา ได้ยินได้ เจอสิ่งต่างๆในชีวิต ถามว่ามีความรู้สึกว่าชีวิตต้องเจอความเหลื่อมล้ำมากแค่ไหน
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม มี 5 ระบบ
ความมั่งคั่ง
การปฏิบัติและความรับผิดชอบ
ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง
ความเหลื่อมล้ำในชีวิต
และความเหลื่อมล้ำทางสมาชิกภาพ
ไม่ว่าคุณจะต้องเจอความเหลื่อมล้ำในชีวิตมากแค่ไหนหรืออย่างไร
คุณอาจจะรวย หรือจน จะใช้แนวคิดใดมาใช้พิจารณา ทุกคนต่างต้องเกิดความรู้สึกของความเหลื่อมล้ำได้ตลอดเวลา ขึ้นกับสิ่งที่คุณคิดหรือต้องการในขณะนั้น
คนร่ำรวยอาจมีความเหลื่อมล้ำของศรัทธา(ความเหลื่อมล้ำในชีวิต)เพราะขาดคนชื่นชมและรู้สึกถึงกระแสไม่เป็นที่ยอมรับถ้าอีกฝ่ายใช้การ่วมกลุ่มต่อต้าน และคนที่ไม่เห็นด้วยมีมากเกินไปคนที่ร่ำรวยก็อาจรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมได้ อาจรู้สึกเหมือนถูกรังแก
ถ้าคุณรวยล้นฟ้าและสร้างอิทธิพลก็เปรียบเหมือนคุณสร้างโอกาสให้ชีวิตและนั้นก็อาจกลายเป็นความเหลื่อมล้ำที่คุณได้เป็นส่วนยอดของปิรามิดและคนจนๆคือฐานที่กว้างใหญ่
ในโลกแห่งความเป็นจริง ส่วนฐานที่กว้างใหญ่คือตัวแทนคนทั้งโลก มากว่า75%ไม่ใช่คนรวย(ทั่วโลก) คนจนที่จะสามารถเข้าถึงความสุขอิ่มทุกมื้อ บ้านที่อบอุ่น เจ็บป่วยมีช่องทางรักษา การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆของภาครัฐ และอะไรอีกมากมาย ไม่มีคำว่าทัดเทียมอย่างแท้จริงแต่การตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ต่างหากที่จะช่วยให้ความเหลื่อมล้ำนั้นสงบ และเป็นภูเขาไฟที่คุกรุ่นอยู่ข้างในและรอวันที่จะระเบิดขึ้นมา
ไทยติดอันดับ10ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง
#ด้านความมั่งคั่งรวยกระจุกจนกระจาย การแข่งขันในภาคเอกชนน้อยลง คอรัปชั่นแพร่หลาย ประโยชน์โดยมิชอบมากขึ้น
การศึกษาและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขลดลง แต่ในความจริงความทัดเทียมอาจไม่เกิดตามจริงคนรวยก็ได้รับสิทธิในการเลือกสิ่งที่ได้มาตรฐานหรือพรีเมี่ยม
การใช้ตัววัดที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุของทุกปปัญหาในโลกนี้คือ
การใช้จ่ายด้านสังคม ภาษี สิทธิแรงงาน
ประเทศที่ยอดเยี่ยมคือ เดนมาร์ก ซึ่งเอาชนะ 157 ประเทศที่เข้าแข็งขันและ เบลเยี่ยม สวีเดน เยอรมัน
และ10 รั้งท้าย มี สิงคโปร์ เพราะค่าความแตกต่างสูงมาก ทั้งเรื่องการเลือกเพศ
ประเทศไทยหรือทุกประเทศทั่วโลก ก็ต้องยอมรับว่าคนที่รวยต้องมีโอกาสในการศึกษาที่มากกว่า ไทยเองพบว่า 65.6%มีโอกาสได้เรียนในระดับป.ตรี ยังไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพ และคนจนเข้าถึงเพียง3.8%และในเมืองหลวงก็มีโอกาสมากกว่า ชนบท มีค่าช่องว่างที่17.3เท่า
ข้อมูลสภาพัฒน์
บทบรรณาธิการ สยามรัฐออนไลน์
เป็นหน้าที่ของรัฐบาลจริงหรือที่จะช่วยแก้ไขความเหลื่อมล้ำ ถ้าการประเมินความจนที่เกิดขึ้นกับคนไทย ในขณะนี้ หลายคนคงรู้แล้วตัวเองไม่จน แต่ยังคิดว่าประเทศเรายังมีความเหลื่อมล้ำอีกหรือไม่ ถ้าไม่จนแต่
ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในเกณฑ์ไหน(ยกเว้น1%ของประเทศ)
คุณต้องเผชิญความยากลำบาก และความไม่คล่องในชีวิต
และท้ายสุดคุณก็จะลำบากมากขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศ(คนไทยไม่รอด) ความเหลื่อมล้ำทางการปฏิบัติและความรับผิดชอบของคนไทยที่เดินทางออกไป เพื่อหาเงินและนำกลับมาบำบัดความต้องการที่เกิดขึ้น จากสภาวะทางสังคมที่ตัวเองมีความต้องการการชดเชย ค่าแรงของฉัน เงินของฉัน ฉันจะทำอะไรก็ได้
ยังมีอีกหรือไม่กับคนที่มีจิตสำนึก นอกจากความเจ็บแค้นที่มีต่อสังคม การแก้แค้น การเอาคืน หรือแค่ความเขลา โควิด-19เปิดสังคมจอมปลอมได้กว้างจริงๆ
ขอบคุณที่กดไลค์แชร์ติดตามคอมเม้นต์ที่สร้างสรรค์
ขอบคุณภาพจาก
ไทยรัฐออนไลน์
ข่าวช่องวันจั๊ดซัดทุกความจริง
reference
โฆษณา