14 พ.ย. 2020 เวลา 11:03 • ประวัติศาสตร์
ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Dr. Martin Luther King Jr.) เทพเจ้าของคนผิวดำ
ท่าเรือเจมส์ทาวน์ รัฐเวอร์จิเนีย ปี ค.ศ. 1619 (พ.ศ.2162) ท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆสีดำ พายุที่ก่อตัวกลางทะเลลึกโหมกระหน่ำเข้าฝั่งอย่างรุนแรง ฝนและคลื่นสาดสายน้ำขึ้นมาอย่างบ้าคลั่ง เป็นเวลานานนับชั่วโมงกว่าที่ท้องฟ้าจะคืนกลับเป็นสีฟ้า และทุกสิ่งทุกอย่างหวลกลับสู่ภาวะปกติ
ชาวเมืองเจมส์ทาวน์ที่อาศัยอยู่รายรอบท่าเรือแห่งนั้นพากันออกมาจากบ้านเรือนและที่หลบซ่อนเพื่อสำรวจความเสียหาย แต่พวกเขาก็พบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
ที่ชายหาด
เรือเดินสมุทรฟรีเกตติดธงชาติฮอลันดาลำหนึ่งสงบนิ่งอยู่ที่นั่น และเมื่อพวกเขาพากันไปยืนมุงดูก็พบว่า บนเรือลำนี้นอกจากจะมีกัปตันและลูกเรือชาวฮอลันดา
แล้ว ยังมีคนผิวดำรวมอยู่ด้วยถึง 20 คน กัปตันฮอลันดาเรียกคนซึ่งมีสีผิวแตกต่างไปจากชาวตะวันตกทั่วไปราวฟ้ากับดินเหล่านี้ว่า ทาส พร้อมกับอธิบายให้ชาวเมืองเจมส์ทาวน์ฟังต่อไปว่า ทาสเหล่านี้ตนซื้อมาจากตลาดค้าทาสยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการซื้อขาย ทาสอัฟริกันกันมากเพื่อใช้ทาสทั้งหมดนี้ทำงานหนักต่าง ๆ ในเรือแทนลูกเรือผิวขาว
แต่ตนยินดีขายทาสทั้งยี่สิบนี้ให้แก่ชาวเมืองเจมส์ทาวน์เพื่อนำไปใช้ทำงานหนักต่าง ๆ เพราะต้องการรวบรวมเงินไปใช้ในการซ่อมแซมเรือของตนที่ชำรุดเนื่องจากพายุหนักที่เพิ่งผ่านไป
ชาวเมืองเจมส์ทาวน์มีความสนใจในสินค้าชนิดใหม่เอี่ยมที่กัปตันชาวฮอลันดาเสนอขายมาก พากันประมูลซื้อทาสอัฟริกันทั้งหมดที่ติดมากับเรือฟรีเกตลำนั้นจน
เกลี้ยงลำในพริบตา
หลังจากซ่อมแซมเรือเสร็จ กัปตันฮอลันดาก็นำเรือกลับออกไป จากนั้นข่าวการขายทาสอัฟริกันในอเมริกาก็แพร่สะพัดไปในหมู่พ่อค้าทาสอย่างรวดเร็ว เพียงชั่วไม่ทันข้ามปี ดินแดนแห่งนี้ก็กลายเป็นตลาดซื้อขายทาสแห่งใหม่ที่เรือบรรทุกทาสทุกลำพุ่งทะยานมาสู่เพื่อขนถ่ายสินค้าที่มีชีวิตให้แก่ชาวอเมริกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ถึงขนาดมีเอเยนต์ใหญ่อพยพมาตั้งรกรากในอเมริกาเลยทีเดียว โดยเฉพาะเอเยนต์ที่มีชื่อว่า แอนโธนี จอห์นสัน ซึ่งเดิมเป็นชาวอัฟริกันที่รับจ้างชาวยุโรปล่าชาวอัฟริกันด้วยกันเองมาขายให้คนผิวขาวจนร่ำรวยและขยับขยายกลายเป็นเอเยนต์ใหญ่และกว้างขวางขึ้น
เพื่อสะดวกในการประกอบธุรกิจกับคนผิวขาว เขาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นชาวตะวันตกไปด้วย แอนโธนี จอห์นสันถือเป็นเอเยนต์ล่าและจัดส่งทาสผิวดำที่ใหญ่โตที่สุด
ในเวลานั้น จึงไม่แปลกที่ธุรกิจค้าทาสจะเฟื่องฟูมากเมื่อเขาอพยพมาอยู่ในอเมริกา
แทบไม่น่าเชื่อว่าจากปี ค.ศ.1619 ที่อเมริการับทาสอัฟริกันไว้เป็นครั้งแรกเพียง 20 คน แต่อีกเพียง 70 ปีจะมีจำนวนทาสอัฟริกันในอเมริกาถึง 700,000 คน และเพิ่ม
เป็น 3,000,000 คนในอีก 70 ปีต่อมา ส่วนใหญ่ทาสเหล่านี้จะรวมกันอยู่ตามรัฐต่าง ๆ ทางตอนใต้ของอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาสูบ ฝ้าย และอื่น ๆ ส่งไปเลี้ยงประชากรสหรัฐทั้งประเทศ
ประมาณปี ค.ศ.1860 (พ.ศ.2403) มีทาสอัฟริกันอยู่ในอเมริกาตอนใต้ถึง 9,600,000 คน และทำท่าว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันหมดสิ้น หากอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกาไม่ชิงประกาศกฎหมายเลิกทาสขึ้นมาเสียก่อน
แม้ว่าลินคอล์นจะประกาศกฎหมายเลิกทาสแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้คัดค้านอย่างรุนแรง โดยเฉพาะรัฐต่าง ๆ ทางตอนใต้ซึ่งต้องใช้ทาสช่วยทำงานในไร่และโรงงาน
อุตสาหกรรมของตนอย่างมาก ความขัดแย้งนี้รุนแรงจนทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ขึ้น ถึงผลของสงครามชัยชนะจะเป็นของฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายเหนือก็ตาม ชัยชนะครั้งนี้ก็ต้องสังเวยด้วยชีวิตของตัวผู้ริเริ่มออกกฎหมายให้ความเป็นไทแก่ทาสอัฟริกันทีเดียว
ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบสังหารโดยมือปืนฝ่ายใต้ที่ไม่พอใจการปลดปล่อยทาสนิโกร เล่ากันว่าในวันฝังศพของเขามีชาวนิโกรมายืนร้องไห้ข้างทางรถไฟ
ที่บรรทุกศพทั้งสองข้างเป็นระยะทางหลายไมล์
การได้รับการปลดปล่อยให้พ้นจากการเป็นทาสของคนผิวดำในอเมริกาหาได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาสุขสบายมากกว่าเดิม ด้วยกำแพงแห่งศักดิ์ศรีและชนชั้นที่คนผิวขาวสร้างเอาไว้ยังคงแข็งแกร่งจนยากที่จะมีชาวนิโกรคนใดฝ่าทะลุไปได้ แม้จะได้ชื่อว่ามีสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะประชาชนคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา แต่คนผิวดำก็ยังถูกกดขี่ข่มเหงและไม่ยอมรับให้เข้าร่วมในสังคมคนอเมริกันตลอดมา
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ระเบิดขึ้น คนผิวดำในอเมริกาจึงสามารถลุกขึ้นมายืนเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมรบกับคนผิวขาวในฐานะประชาชนอเมริกาอย่างทัดเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น รัฐบาลได้สั่งยกเลิก
การแบ่งแยกผิวในกองทัพอเมริกันโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อให้คนผิวดำได้แสดงความรักชาติร่วมกับคนอเมริกันอย่างเสมอภาค แต่คำสั่งยกเลิกนี้มิได้ประกาศทั่วไปในสาธารณะชน เพียงแต่ประกาศในกองทัพเท่านั้น เมื่อสงครามจบสิ้นลงปัญหาใหญ่จึงตามมา นั่น
คือชาวอเมริกันผิวขาวยังคงไม่ยอมรับชาวอเมริกันผิวดำ แม้ว่าคน ๆ นั้นจะเคยยืนเคียงข้างมาในสมรภูมิก็ตาม
เหตุการณ์ที่ยืนยันความคิดนี้เกิดขึ้นที่เมืองไอเคน รัฐเซาธ์ แคโรไลนา เจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งของเมืองนี้ได้ควักลูกนัยตาของอดีตนายสิบโททหารบกอเมริกันนิโกรที่เพิ่งปลดประจำการเพียง 2 ชั่วโมงโดยไม่เกรงกลัวความผิดใด ๆ
ปัญหาการแบ่งแยกผิวของชาวอเมริกันเป็นเรื่องใหญ่ที่สร้างความหนักใจให้แก่รัฐบาลทุกรัฐบาล เพราะ
นักการเมืองทุกคนต่างรู้ดีว่า คนผิวดำคือฐานคะแนนเสียงที่สำคัญยิ่งของตน จึงไม่ต้องการสูญเสียมันไป แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการขัดใจและทำลายคะแนนเสียงจากคนผิวขาวที่ต่อต้านและรังเกียจนิโกรด้วย ดังนั้นทุกครั้งที่มีการออกกฎหมายให้สิทธิทัดเทียมแก่คนผิวดำ จึงเป็นการทำไปเพียงแกน ๆ อย่างเสียมิได้ และไม่มีการติดตามดูแลผลอย่างจริงจัง
ในทางปฏิบัตินิโกรอเมริกันยังเป็นประชาชนชั้นสองที่ถูกคนผิวขาวกดขี่ข่มเหงอย่างรุนแรงมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มคนผิวขาวหัวรุนแรงที่ตั้งตนเป็น
สมาคมชื่อ คู คลุกซ์ แคน (Ku Klux Klan) ซึ่งมีชื่อย่อว่า เค เค เค (KKK) สมาคมนี้จะประกอบไปด้วยอเมริกันผิวขาวที่เกลียดชังและต้องการไม่ให้นิโกรมีสิทธิเท่าเทียมกับพวกตน โดยยึดถือความแตกต่างทางสีผิวเป็นสำคัญ พวกคู คลุกซ์ แคน มีสมาชิกมากกว่า 7,500 คน มีหน้าที่คอยก่อกวนทำร้ายและโจมตีชุมชนนิโกรมิให้อยู่กันอย่างเป็นสุข โดยขับรถยกขบวนกันเป็นแถวยาวเหยียด บางครั้งมีความยาวเป็นไมล์ สมาชิกทุกคนที่ร่วมขบวนจะสวมถุงคลุมหน้า เจาะเพียงลูกตา ส่งเสียงร้องข่มขวัญ ยิงปืนใส่ชุมชนนิโกรอย่างครื้นเครง บางครั้งมีรถตำรวจนำหน้าขบวนทีเดียว
การข่มเหงรังแกนิโกรของพวกคู คลุกซ์ แคนทำกันสารพัด ไม่ว่าจะเป็นบังคับ ให้หญิงนิโกรเต้นระบำ บังคับให้พ่อค้าปิดร้าน ปาลูกไฟใส่บ้านและคนผิวดำ จับนิโกรไปคุมขังและทรมาน มีอยู่ครั้งหนึ่งคนผิวดำไม่สามารถทนต่อการกดขี่ข่มเหงของคนผิวขาวต่อไปได้ จึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้และร้องทุกข์ต่อประธานาธิบดี ซึ่งสิ่งที่ได้รับก็คือ คำให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าการรัฐต่อสื่อมวลชนว่า คนดำกล่าวหาสมาคมคู คลุกข์ แคน
เกินความจริง
รัฐบาลเคยออกกฎแบ่งแยกแต่เท่าเทียมขึ้นเพื่อใช้กับอเมริกันนิโกร โดยอนุญาตให้เรียนในโรงเรียนของคนขาวได้ แต่แยกกันนั่งคนละห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ห้องอาหาร สื่อการสอนและเครื่องใช้ไม้สอยต้องแยกกันต่างหาก และที่สำคัญที่สุดก็คือ สิ่งเหล่านั้นชำรุดทรุดโทรมขาดการเอาใจใส่ดูแล
การกดขี่ข่มเหงของคนผิวขาวติดต่อกันมายาวนานนับทศวรรษ สร้างความเจ็บแค้นและกดดันให้แก่คนผิวดำเป็นอันมาก มีนักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
ชาวนิโกรหลายคนที่ลุกขึ้นต่อต้านการกระทำของคนขาว แต่ก็มักพบกับความพ่ายแพ้ และจุดจบในลักษณะต่าง ๆ กันตลอดมา ในจำนวนนั้นดูเหมือนจะมีนักปฏิรูปสังคมผิวดำคนหนึ่งซึ่งเป็นที่รักและยกย่องของอเมริกันนิโกรทั้งประเทศเปรียบประดุจว่าเขา คือเทพเจ้าแห่งสิทธิความเสมอภาค บุคคลผู้นั้นมีชื่อว่า ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1929 (พ.ศ.2472) ที่เมืองแอตแลนตา ในมลรัฐจอร์เจีย (Atlanta, Georgia, U.S.) เป็นลูกคนที่สองในจำนวนสามของนายไมเคิล คิง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น มาร์ติน คิง (Martin Luther King Sr.) และนางอัลเบอร์ตา วิลเลียม คิง (Alberta Williams King)
มาร์ติน จูเนียร์เป็นเด็กเฉลียวฉลาดปฏิภาณไหวพริบว่องไว ปรับตนให้เข้ากับผู้คนและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย ซ้ำยังเป็นคนหน้าตาดี พูดจาคล่องแคล่ว รูปร่าง
สมส่วน จึงถือได้ว่าเป็นเด็กที่มีความพร้อมสมบูรณ์ยิ่งคนหนึ่ง หลังจากเรียนจบระดับมัธยมแล้วก็เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาสังคมวิทยาที่มอร์เฮ้าส์ คอลเลจ (Morehouse College) ซึ่งในช่วงเวลานั้นคนดำยังถูกต่อต้านจากคนขาวอย่างหนัก แม้จะได้รับอนุญาตให้เรียนร่วมกับคนขาวได้แต่ก็ถูกกีดกันข่มเหงรังแกอย่างหนัก อย่างไรก็ตามเขาก็สามารถศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีได้
มาร์ติน จูเนียร์ เริ่มให้ความสนใจทางด้านศาสนาและปรัชญาในเวลาต่อมา เขาจึงเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยศาสนาครอเซอร์ (Crozer Theological Seminary) จนจบปริญญาโท ด้วยความเลื่อมใสในศาสนาคริสต์นิกายแบ๊พติสท์ มาร์ติน จูเนียร์ได้บวชเป็นพระที่โบสถ์แบ๊พติสท์บนถนนเดกซ์เตอร์ในมอนต์โกเมอรี รัฐแอละแบมา (Dexter Avenue Baptist Church in Montgomery, Alabama) พร้อมกับเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University)
ระหว่างทำปริญญาเอกอยู่นี้ มาร์ติน จูเนียร์ได้พบกับคอเรตตา สก็อตต์ (Coretta Scott) จึงเกิดความรักใคร่ชอบพอกัน ต่อมาจึงเข้าพิธีสมรสและอยู่กินร่วมกันในฐานะสามีภรรยาจนกระทั่งมีลูกด้วยกัน 4 คน (Yolanda, Martin, Dexter, Bernice) เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดร.มาร์ติน จูเนียร์ก็สมัครเป็นพระประจำอยู่ที่โบสถ์แบ๊พติสท์ในเมืองมอนต์โกเมอรี
สาธคุณ ดร.มาร์ติน จูเนียร์ เป็นพระนักเทศน์ที่มีความสามารถในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นพระนักปฏิบัติ เขาจึงเป็นที่เคารพรักของชาวอเมริกันนิโกรในเมืองมอนต์โกเมอรีมาก ประกอบกับความมีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และรักเคารพในสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่งของเขาจึงทำให้ ดร.มาร์ติน จูเนียร์มีความเป็นผู้นำคนผิวดำอยู่ในตัวด้วย
วันหนึ่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 (พ.ศ.2498) หลังจากมาร์ติน จูเนียร์เพิ่งบวชเป็นพระได้เพียงปีเดียวได้มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นกับสตรีผิวดำชื่อนางโรซา ปาร์ค (Rosa Parks) ซึ่งมีอาชีพช่างเย็บเสื้ออยู่ในเมืองมอนต์โกเมอรีนั่นเอง เหตุการณ์ดังกล่าวก็คือขณะที่นางขึ้นรถโดยสารประจำทางในเมืองเพื่อเดินทางกลับบ้านโดยเดินไปนั่งท้ายรถตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วนั้น ปรากฏว่ามีผู้โดยสารผิวขาวขึ้นมาในรถอีกมากมายหลายคนจนที่นั่งไม่พอ คนขับรถจึงหันมาไล่ให้นางลงจากรถเพื่อสละที่นั่งให้แก่คนขาว แต่นางไม่ยินยอมจึงถูกตำรวจจับและถูกปรับเป็นเงินถึง 10 ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นเงินค่อนข้างมากสำหรับชาวอเมริกันนิโกร เหตุการณ์อันไร้ความชอบธรรมนี้รู้ถึง ดร.มาร์ติน จูเนียร์ ซึ่งมีความเห็นว่าเป็นการริดรอนสิทธิของคนอเมริกันนิโกรมากเกินไป จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนัดหมายให้ชนผิวดำในมอนต์โกเมอรีต่อต้านโดยการไม่ยอมขึ้นรถโดยสารในเมืองนั้นเป็นเวลานานถึง 11 เดือน ทำให้บริษัทรถโดยสารขาดทุนเพราะผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นคนดำ จึงยอมรับข้อเสนอของมาร์ติน จูเนียร์ที่ต้องการให้ความเสมอภาคในการใช้รถโดยสารร่วมกัน
ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของมาร์ติน จูเนียร์โด่งดังไปทั่ว เขากลายเป็นที่รู้จักของคนผิวดำในอเมริกาทั่วประเทศในฐานะนักปฏิรูปสังคมคนสำคัญของคนผิวดำ แนวทางการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคแบบสงบของเขาเริ่มแพร่หลายไปทั่วในหมู่ชาวอเมริกันนิโกร ยังผลให้เขากลายเป็นศัตรูตัวสำคัญของคนขาวและบ้านเมือง
หลังจากได้รับชัยชนะจากการนำชนผิวดำต่อสู้เรื่องรถประจำทางแล้ว มาร์ตินจูเนียร์ก็ถูกคุกคามอย่างหนัก ตัวเขาเองถูกใส่ความจนต้องถูกจับกุมเข้าที่คุมขัง บ้าน
ถูกทำลายด้วยระเบิด แต่เขาก็ยังไม่ยอมแพ้ เมื่อได้รับการปลดปล่อยออกมา มาร์ตินจูเนียร์ก็หันเข้าหาบทบาทผู้นำคนผิวดำเพื่อความเสมอภาคต่อไป
อีกสองปีต่อมาเขาได้ก่อตั้งองค์การผู้นำชนคริสเตียนแห่งชาติของภาคใต้ขึ้น ก่อนย้ายไปอยู่ที่เมืองแอตแลนตา ในปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) เขาถูกจับเข้าคุกอีกครั้งในฐานร่วมขบวนการประท้วงการแบ่งแยกผิว ซึ่งในช่วงนี้เป็นเวลาที่จอห์น เอฟ. เคนเนดี กำลังหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีแข่งกับ ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน
เคนเนดีให้ความสำคัญต่อคนดำมากและมั่นใจว่าจะใช้เป็นคะแนนเสียงของตน จึงประกันตัวมาร์ติน จูเนียร์
ออกมาจากคุก จากนั้นก็พิมพ์ใบปลิวเรื่องการช่วยเหลือครั้งนี้ถึงสองล้านแผ่นออกเผยแพร่ไปตามชุมชนคนดำทั่วประเทศ โดยที่นิกสันไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องคนดำเลยและยังแสดงท่าที่เข้าข้างคนขาวที่ต้องการแบ่งแยกผิวด้วย
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี เคนเนดีชนะโดยได้คะแนนเสียงจากอเมริกันนิโกรอย่างท่วมท้น แต่เมื่อก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งก็ไม่สามารถแก้ไขเรื่องการแบ่งแยก
ได้เท่าใดนัก เพียงแต่ทำโดยอ้อมเช่นสั่งให้หน่วยงานของรัฐรับคนดำเข้าทำงานมากขึ้น แต่งตั้งคนดำดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาล แต่ในสภาพความเป็นจริงอเมริกันนิโกรก็ยังถูกกดขี่ข่มเหงจากคนขาวเช่นเดิม
ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์นั้น หลังจากย้ายมาอยู่ที่เมืองแอตแลนตาแล้วก็เป็นผู้นำคนผิวดำในการประท้วงเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคตลอดมา ทำให้มีการประท้วงของคนดำตามที่ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่จะใช้วิธีการปราบปรามอันรุนแรง เช่น ตีด้วยตะบอง ฉีดน้ำดับเพลิง และลวดไฟฟ้า จนกระทั่งปล่อยสุนัขที่ใช้จับคนร้ายเข้ากัดทึ้งและเผา
ขณะเดียวกันพวกคู คลุกซ์ แคนก็ออกโรงเผาบ้านและโบสถ์ของคนดำตามที่ต่าง ๆ อย่างสนุกมือ แต่การประท้วงก็หาได้สงบลงไม่ ทำให้เจ้าหน้าที่พากันเพ่งมอง
มาที่ดร.มาร์ตินในฐานะผู้นำการปลุกระดมชนผิวดำ คนที่เกลียดชังเขามากที่สุดเห็นจะเป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอ.นั่นเอง
การทำงานเพื่อความเสมอภาคอย่างแท้จริงของมาร์ติน สร้างแรงศรัทธาให้แก่ผู้คนต่าง ๆ ทั่วโลก และในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) เขาก็นำฝูงชนกว่า 25,000 คน เดินขบวนมายังอนุสาวรีย์ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เพื่อสนับสนุนการออกกฎหมายยกเลิกการแบ่งผิว
หลังจากกล่าวสุนทรพจน์อันจับใจคนผิวดำทั่วโลกแล้ว เขาก็กลับมาพักผ่อนยังที่พักซึ่งเป็นโมเต็ลในเมืองเมมฟิส แต่ขณะที่อยู่บนระเบียงโมเต็ลนั่นเอง เสียงปืนก็ระเบิดขึ้นพร้อม ๆ กับร่างของเขาทรุดฮวบลงไปกองลงบนพื้นเลือดแดงฉาน
ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์จบสิ้นชีวิตลงในเวลาต่อมาไม่นาน ผู้ลั่นไกสังหารเขาที่ตำรวจจับได้มีชื่อว่าเจมส์ เอิร์ล เรย์ ซึ่งแม้จะถูกคุมขังมาเป็นเวลานับสิบปีแต่
นักโทษผู้นี้ก็ยังยืนกรานปฏิเสธตลอดเวลาว่าเขาไม่ได้ฆ่า ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
นักต่อสู้เพื่อสิทธิของคนดำในอเมริกาเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1968 (พ.ศ.2511) จนเวลาล่วงเลยมาบัดนี้ คำถามที่ว่าใครถือคนฆ่าเขาก็ยังคงไร้คำตอบ...
#PassiveDeathWish
#รบชนฮซหคชห

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา