2 ก.ค. 2022 เวลา 00:42 • สุขภาพ
รู้มัย
มีการทดลองพบว่าอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ ไม่ใช่ทางลมหายใจหรือการกิน แต่เข้าสู่เซล์ผ่านเซลล์ การรับเอาแอมิลอยด์จากผู้ที่มีสารนี้ในกระแสเลือด ก็อาจเกิดการติดต่อได้
BBC.news.com
วิธีการใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างทีมนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย จะตรวจหาเศษของแอมีลอยด์ที่ปะปนอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งจากการประเมินอัตราส่วนของเศษแอมีลอยด์ชนิดต่าง ๆ นักวิจัยสามารถคาดเดาระดับ แอมีลอยด์ บีตา ในสมองได้อย่างแม่นยำ การศึกษาดังกล่าว ถือว่ามีนัยสำคัญซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่การตรวจเลือดจะช่วยบ่งบอกสุขภาพสมองได้
การเจาะเลือดอาจช่วยในการวินิจฉัยที่ ในระยะต่อไปอาจไม่จำเป็นต้องคอมพิวเตอร์สแกนในขั้นการค้นหาก็ได้ อีกทั้งสารยังพบว่าสารที่แสดงภาวะเสื่อมของสมอง อาจกระตุ้นร่างกายให้สร้างสารที่ทำให้สมองเสื่อมได้ ถ้ามีการปนเปื้อนจากคนสู่ตน และขณะนี้ขบวนการยังอยู่ในขั้นทดลองซึ่งต้องมีการศึกษารายละเอียดกันต่อไป
cr: images
อัลไซเมอร์ เกิดจากการฝ่อตัวของสมอง ส่วนสาเหตุที่สมองฝ่อตัวลงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีความผิดปกติที่คาดว่าจะเป็นสมมุติฐาน ที่บ่งบอกถึงโรค คือ
1.มีการสะสมของอะไมลอยด์พลัค (Amyloid Plaques) ซึ่งเป็นสารโปรตีนผิดปกติ มารวมตัวเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน
2.มีกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary Tangles)เป็นตัวทำลายระบบขนส่ง
3.สารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (Acetylcholine)ลดลงในในสมองผู้ป่วย
กลไกการเกิดโรคของเส้นเลือดในสมอง ของผู้ป่วยโรคนี้มักค่อย ๆ ถูกทำลายลง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลงและถูกทำลายทีละน้อย และเมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงแพร่กระจายไปสู่สมองหลาย ๆ ส่วน ซึ่งบริเวณที่จะได้รับผลกระทบเป็นส่วนแรกก็คือสมองที่ทำหน้าที่ด้านความทรงจำ
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากสาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังพอมีหนทางที่อาจช่วยชะลอการเริ่มต้นของโรค คือ การลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดตามมา โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
เลิกสูบบุหรี่
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน
หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที อาจเฉลี่ยเป็นวันละ 30 นาที ใน 5 วันต่อสัปดาห์ ควรเลือกการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ให้ร่างกายได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ซ้ำๆ เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งเร็ว จะช่วยให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้น
ตรวจและควบคุมระดับความดันโลหิต
หากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมการรับประทานอาหารและการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากการลดปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อีกวิธีป้องกันที่อาจได้ผลก็คือการฝึกการทำงานของสมอง
โดยมีงานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่าผู้ที่ฝึกตนเองให้มีความกระฉับกระเฉงด้านร่างกาย ความคิด และทักษะทางสังคมเป็นประจำและสม่ำเสมอ หรือผู้ที่มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่หลากหลาย อาจมีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมน้อยลง โดยกิจกรรมที่น่าจะมีส่วนช่วย ได้แก่ การอ่านหนังสือ การเขียนเพื่อสุนทรียภาพของตนเอง การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การเล่นดนตรี เล่นเทนนิส ตีกอล์ฟ ว่ายน้ำ การเล่นกีฬาเป็นทีม และการเดินออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
1
โฆษณา