27 ธ.ค. 2020 เวลา 20:33 • ประวัติศาสตร์
สถานีถัดไป..กรุงศรีอยุธยา judia
(ตอนจบ 4/4)
"เมืองทวาย จุดเริ่มของราชอาณาจักรสยาม อันกว้างใหญ่"
4
ท่อนบทกวีของกาโมเอส Luís de Camões * ที่ลูกหลานชาวโปรตุเกสท่องจำกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย(1) สะท้อนให้เห็นได้ว่าสุดแดนตะวันตกของสยาม ไม่หยุดแค่กาญจนบุรี แต่กว้างยาวไปสุดริมฝั่งทะเลอันดามัน ทวาย มะริด ตะนาวศรี
3
เรือสินค้า และผู้โดยสารจากอินเดีย
เปอร์เชีย ออตโตมาน ชาติตะวันตกต่างๆจะเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา หรือจะต่อไปถึงจีนได้ ก็ต้องมาลงที่เมืองท่าทั้ง 3 ของสยามก่อน
*กวีเอกของโปรตุเกส ผู้ประพันธ์บทกวี อูซ ลูซิอาดาส (Os Lusíadas) อันมีเนื้อหาสรรเสริญประวัติศาสตร์ความสำเร็จในการเป็นชนชาติแรกของยุโรปที่ออกสำรวจดินแดนตะวันออกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
เส้นทางข้ามสมุทร.. มะริด-พริบพรี
เมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี เป็นเมืองท่าสำคัญของฝั่งสยามด้านทะเลตะวันตก
ด้วยตามตำแหน่งที่ตั้งของเมือง :
ทางตะวันตกคือ เมืองมัทราส กัว อินเดีย และลังกา
ทางเหนือคือ กรุงหงสาวดี
ทางใต้เป็นเมืองชายฝั่ง ภูเก็ต มะละกาและรัฐต่าง ๆ ของสุลต่านมลายู
ที่มะริด เคยมีสถานีการค้าของฮอลันดา อังกฤษ และพ่อค้า บาทหลวง ทหารชาวตะวันตก รวมถึงฑูตคนสำคัญหลายคน ของกษัตริย์กรุงศรีฯ ก็ได้ก้าวเท้าจากเรือเดินสมุทร ก้าวขึ้นบก ณ เมืองท่าแห่งนี้
แล้วจึงเดินเท้าต่อโดยใช้เส้นทางบก ด้วยการจ้างลูกหาบชาวพื้นเมือง ช้าง :) นำทางและขนสัมภาระ
เส้นทางที่นิยมใช้ข้ามคาบสมุทรได้มี 3 ทางคือ ข้ามช่องเขาบริเวณต้นน้ำปรานบุรี, เข้ามาแถวบางสะพานประจวบคีรีขันธ์
หรือ เข้ามาด่านสิงขร-พริบพรี (เพชรบุรี)
จากนั้นจึงลงเรือต่อ ทางทะเลอ่าวไทย เรือแล่นเลาะริมฝั่งทะเล ไปจนถึงสันดอนสยาม เมืองปากน้ำ ล่องขึ้นตามลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา
และด้วยตำแหน่งที่ตั้งของมะริด ก็น่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าพื้นเมืองชาวอินเดีย หรือ
อาหรับนี้เอง ที่พาชาวฝรั่งตะวันตกกลุ่มแรก เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยา
โดยแล่นเรือจากชายฝั่งโคโรมันเดล (Coromandel Coast) อินเดีย ข้ามอ่าวเบงกอล แล้วแวะจอดเรือที่มะริด แล้วค้าขายกับชาวสยาม แขกมัวร์ที่นั่นก่อนเข้ามากรุงศรีฯ
คำว่า "ฝรั่ง" ที่ชาวสยามใช้เรียกชาวผิวขาวตั้งแต่ 500 ปีก่อน จึงเป็นไปได้มากตามที่นักวิชาการแนะไว้ ว่าเราเรียกตามพ่อค้าชาวอินเดีย ที่เรียกชาวฝรั่งทุกคนว่า"ฟรังคีส” หรือตามชาวอาหรับ ที่เรียกฝรั่งว่า “ฟารานจิ”
เส้นทางข้ามสมุทร.. มะละกา ปัตตาเวียบางกอก
หลังจากทูตโปรตุเกสคณะแรกเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีฯ และปัญหาโจรสลัดมะละกาถูกเคลียร์ด้วยเรือปืนชาติฝรั่ง
เรือสินค้าชาวตะวันตก จึงนิยมใช้เส้นทางข้ามสมุทร แล่นเรือลงใต้ ลอดคาบสมุทรอินโดจีน เข้าทะเลอ่าวไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15
เมื่อการค้าขายในยุคนั้นใช้เรือสินค้าเป็นหลัก ชาวตะวันตกชาติต่าง ๆ จึงได้ตั้งสถานีการค้าแถวเมืองชายทะเล เช่น นครศรีธรรมราช ปัตตานี สงขลา มะริด บันตัม ปัตตาเวีย*
เรือกำปั่นฝรั่งที่เข้ามาทะเลแถบนี้ ส่วนใหญ่นิยมแวะที่ปัตตาเวียก่อน แล้วจึงมุ่งหาเครื่องเทศแถวหมู่เกาะทางใต้
หรือเพื่อต่อไปค้าขายที่จีน ญี่ปุ่น
หรือเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีฯ
1
โดยเรือส่วนใหญ่จะแล่นเลียบริมฝั่งผ่านปัตตานี ประจวบคีรีขันต์ เพชรบุรี เข้าสู่ ปากอ่าวไทย ล่องขึ้นต่อไปค้าขายกับราชสำนักกรุงศรีอยุธยาอันมั่งคั่ง
แต่ก่อนชาวตะวันตกจะเข้าทะเลจีนใต้ อ่าวไทยนั้น ดั้งเดิมทะเลแถบนี้จะเต็มไปด้วย เรือคนพื้นเมือง สำเภาจีน เรืออาหรับต่าง ๆ แล่นสัญจรลัดเลาะ ผ่านไปมาค้าขายกัน
จากอาณาจักรต่าง ๆ บนคาบสมุทรอินโดจีน ลงมาหมู่เกาะทางใต้ ขึ้นเหนือ
ไปจีน ญี่ปุ่น หรือต่อไปอินเดีย อาหรับทางฝั่งตะวันตก**
นายพล อัลบูเกกี ที่ได้ส่งคณะฑูตฯ มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ก็ได้ให้คณะฑูตโปรตุเกส ติดเรือสำเภาจีนเข้ามาที่สยาม
*บันตัม และปัตตาเวีย เป็นเมืองที่ตั้งสถานีการค้าหลักในอินโดนีเซีย ของอังกฤษ และฮอลันดา ตามลำดับ
**จากหลักฐานแหล่งเรือจมหลายแห่งในแถบอ่าวไทย อาทิเช่น แหล่งเรือจมเกาะ คราม พบเรือรางเกวียน ซึ่งเป็นเรือสำเภาขนาดกลางที่มีแหล่งกำเนิดทางตะวันออกโดยเฉพาะทางตอนใต้ของจีน หรือแถบเอเชียอาคเนย์
โปรตุเกส ชาติแรกที่เข้ามาสยาม
ในปีพ.ศ. 2061
รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
โปรตุเกสและสยาม ได้มีการทำสนธิสัญญาที่ดีต่อกัน โดยโปรตุเกสสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่สยาม และฝ่ายสยามก็ได้ให้อภิสิทธิ์ในด้านศาสนา และการพาณิชย์เป็นการตอบแทน
 
สถานีการค้าของชาวตะวันตกชาติแรก ในกรุงศรีฯ จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น
ชาวโปรตุเกส ต่างหลั่งไหล ทยอยเข้ามาสู่สยามอย่างเป็นทางการ
กลุ่มพ่อค้า กลุ่มบาทหลวงมาเผยแพร่ศาสนา* กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กลุ่มพลทหารระดับล่าง ที่มารับจ้างเป็นทหาร ด้วยเพราะได้รับค่าตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากกลุ่ม2 อาชีพหลัง
เป็นที่ต้องการของราชสำนักสยาม
ทหารโปรตุเกสอาสา สอนให้ชาวสยามทำป้อมค่าย สอนการยิงปืนไฟ ปืนใหญ่ ทำกระสุน หรือกระทั่งการพัฒนาติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ จากเดิมบนเรือเดินสมุทร มาอยู่บนป้อมค่ายบนเกวียน หรือหลังช้างศึก
และในปี พศ. 2088สมัยพระไชยราชา มี ทหารโปรตุเกสอาสาในกองทัพสยาม ที่ร่วมเข้ารบในศึกเชียงกราน
ก่อนยุคสำรวจ ภาษากลางที่ใช้กันแพร่หลาย ในประเทศแถบ East Indies คือภาษามาเลย์ แต่เมื่อครั้งชาติตะวันตกต่าง ๆ หลั่งไหลเข้ามา ภาษาโปรตุเกส ก็กลายเป็น ภาษากลางอีกภาษาหนึ่ง เพราะโปรตุเกสมาถึงแถบนี้ ก่อนชาติ
ยุโรปอื่นๆ ร่วม 100 ปี
ในราชสำนักสยาม และกรมกองทหาร มีข้าราชสำนักหลายคน พอสื่อสารด้วยภาษา โปรตุเกส ในช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มมีชาวโปรตุเกส หันมายึดอาชีพเป็นล่ามภาษา
อีกอาชีพสำคัญคือ กลุ่มพ่อค้าขายอาวุธ ซึ่งไม่ใช่แค่ชาวโปรตุเกส แต่มีทั้งชาวฮอลันดา อังกฤษ ฯลฯ มีแนวทางประกอบอาชีพประสานกับราชสำนักทางยุโรปคล้าย ๆ กัน คือ หลังจากได้เชิญพระราชสาสน์ของกษัตริย์ของตนเพื่อมาเจริญสัมพันธไมตรีที่ดีกับชาวสยามแล้ว จะมอบให้อาวุธสงครามให้เป็นเครื่องบรรณาการในครั้งแรก จากนั้นกลุ่มพ่อค้าขายอาวุธ ก็จะนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยปืนใหญ่ กระสุนดินดำ มาขายให้กับราชสำนักสยามต่อไป
จากบันทึกของ แฟร์เนา เมนเดส ปินโต และบันทึกของชาวต่างชาติหลายชิ้น ระบุค่อนข้างตรงกันว่า มีชาวโปรตุเกสอย่างน้อย 130 คน ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไปกับสังคมชาวสยาม จวบจนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หมู่บ้านโปรตุเกส มีประชากรถึง 2,000 กว่า
คนส่วนใหญ่ เป็นลูกครึ่งโปรตุเกสกับหญิงสาวเอเชีย
ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนลูกหลานชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาสยามเมื่อ 500 ปีก่อน
*เรือโปรตุเกส ที่มาจากลิสบอน มักจะมีบาทหลวงประจำเรือ 2-3 รูปเสมอ
**จากบันทึกของปินโตนี้เอง ที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้สมญาว่าเป็น “เวนิชตะวันออก” เพราะเขียนจดหมายไปถึงบาทหลวงองค์หนึ่งในโรมว่า กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อม รอบ และมีคลองมากมายเป็นเส้นทางคมนาคม เหมือนที่เมืองเวนิช อิตาลี
สเปน และฮอลันดา เข้ามาในปี พ.ศ. 2141 และ 2144 รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หลังกอบกู้กรุงศรีได้ นอกจากมุ่งเน้นขยายอำนาจทางการทหาร และอาณาเขต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังทรงมีนโยบายส่งเสริมการค้านานาชาติ เปิดประเทศให้พ่อค้าต่างแดนเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น ได้แก่ เปอร์เชีย คุชราจ อาร์เมเนียน ฯลฯ
สเปน ได้เข้าทำสนธิสัญญากับสยามเช่นกัน แต่มุ่งเน้นการขยายอิทธิพลทางการค้า การเมืองกับเขมรจึงมากกว่า จึงเข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ฮอลันดา เข้ามายังสยามเป็นชาติที่ 3 เข้ามาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นหลัก ไม่มีวัตถุประสงค์ด้านศาสนา สถานีการค้าฮอลันดาแห่งแรกในสยาม ตั้งขึ้นที่เมือง ปัตตานี ทั้งนี้เพื่อค้าขายในแถบคาบสมุทร และหมู่เกาะต่าง ๆ ทางใต้
ในปี พศ. 2147 ฮอลันดาจึงได้มาติดต่อกับราชสำนัก เข้าเฝ้าถวายปืนใหญ่แด่ องค์สมเด็จพระนเรศวรฯ และปีถัดมา ได้ขอเดินทางไปจีนร่วมกับคณะทูตสยาม
เพื่อหวังผลขยายลู่ทางการค้ากับจีน
สมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เคยส่งคณะฑูตานุฑูตสยามโดยทางเรือไปถึงยุโรป
ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับราชวงศ์ออเรนจ์ของฮอลันดา และเจ้าชายมอริทซ์ ได้ฝากปืนใหญ่และอาวุธยุทโธปกรณ์ มาถวายแด่พระองค์ เป็นการตอบแทน
ราชวงศ์ออเรนจ์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชื่อของราชวงศ์ ซึ่งเป็นที่มาของสีประจำชาติ
ปี พศ. 2150 ได้มีการจัดตั้งสถานีการค้า V.O.C ** หรือบริษัทอินเดียตะวันออกของ
ฮอลันดา ในกรุงศรีฯ
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พระราชทานที่ดิน ให้รสร้างสถานีสินค้าอีกแห่งหนึ่ง
ตรงริมคลองบางปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ เรียกชื่อว่า เมืองอัมสเตอร์ดัมใหม่
(เป็นวิธีหนึ่งที่พระองค์ต้องการถ่วงดุยล์อำนาจโปรตุเกส)
ฮอลันดา นับเป็นชาติการค้าตะวันตก ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่การที่จะมาถึง
จุดนี้ ฮอลันดา เอง ก็ได้ใช้กลวิธีต่าง ๆ ทั้งกับราชสำนักสยาม เช่น การทำความดี
ความชอบในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถด้วยการเป็นกองทหารอาสา
หรือแม้กระทั่ง เคยส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย เพื่อกดดันสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
เรียกร้องสิทธิในการจำหน่ายสินค้าที่ทางการควบคุม
หรือกลยุทธต่าง ๆ กับชาติตะวันตกอื่น ๆ ด้วยกันเอง เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทาง
การค้าเหนือดินแดนสยาม ฮอลันดาเคยส่งเรือรบทำสงคราม เพื่อขจัดคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญในยุคนั้น ซึ่งคือ อังกฤษ
*นับเป็นครั้งแรกที่คณะฑูตชาวสยามไปเยือนประเทศชาติตะวันตก
**เยเรเมียส ฟาน ฟลีต หรือที่ชาวสยามเรียกว่า วันวลิต ก็เคยเป็นหนึ่งในสถานีการ
ค้าของฮอลันดา
อังกฤษ เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
หลังจากได้ครอบครองอินเดีย เป็นฐานที่มั่นทางการค้าในโลกตะวันออก อังกฤษ
จึงเริ่มขยายอิทธิพลทางการค้า มายังดินแดนสยาม
 
เรือกำปั่นอังกฤษแล่นจากชายฝั่งอินเดีย ข้ามอ่าวเบงกอล มาจอดเรือกำปั่นที่เมือง
มะริด แล้วใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรเช่นกัน ลงเรือถ่อพายขึ้นทางลำน้ำตะนาวศรี ขึ้นเดินบกข้ามเขามาด่านสิงขร มาถึงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ เข้ากรุงศรีฯ
ฝรั่งชาติอังกฤษ ต้องการมาอยุธยาเพื่อขายผ้าแดง เพราะชาวกรุงศรีฯ นิยมใช้ผ้า
แดงในการพิธีต่าง ๆ และต้องการมาซื้อสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ ทองคำเนื้อดี พลอย
กลับไปขายที่ยุโรป เพราะเป็นของหายาก คุณภาพดีราคาถูก รวมถึงต้องการให้
กรุงศรีฯเป็นสะพานการค้า ไปยังประเทศปิดอย่างจีน เช่นเดียวกับฮอลันดา
พ.ศ. 2155 พ่อค้าชาวอังกฤษ ได้อัญเชิญพระราชสาสน์จากพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เพื่อมาถวายแต่พระเจ้าทรงธรรม เพื่อเป็นเจริญสัมพันธ์ไมตรีกันอย่างเป็นทางการ
มีการเปิดสถานีการค้า EIC* ที่กรุงศรีอยุธยา ภายใต้การบริหารของ บริษัท
อินเดียตะวันออกของอังกฤษ
พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1566- ค.ศ. 1625)
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงเคยอนุมัติให้ชาวอังกฤษ ยืมเงินเป็นทุนค้าขาย เพื่อคงไว้ซึ่งสถานีการค้าของอังกฤษ (ได้รับการสันนิษฐานกันว่า พระองค์ต้องการถ่วงดุลย์อิทธิพลทางการค้าของฮอลันดา)
แต่สถานีการค้าอังกฤษ ก็ยังประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง ส่วนสำคัญคือผลกระทบ
เชิงการค้าจากฮอลันดา จนมีข้อขัดแย้งกันอย่างรุนแรง นำไปส่งสงคราบเรือรบ
อังกฤษเป็นฝ่ายแพ้ แต่ในทางเดียวกัน อังกฤษเอง ก็สนใจทำการค้าขายในอินเดีย
มากกว่าด้วย จึงได้ถอนการติดต่อการค้าจากอยุธยาไปในช่วงแรก ๆ
*หัวหน้าสถานีการค้าอังกฤษคนหนึ่งในระยะต่อมา คือ ริชาร์ด เบอร์นาบี (Richard
Burnaby) บุคคลที่สนิทสนมกันดีกับคอนสแตนติน ฟอลคอน
ฝรั่งเศส ในสมัยพระนารายณ์มหาราช (พศ.2205)
ฝรั่งเศส เข้ามาสู่สยามในครัั้งแรก ด้วยนโยบายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่มุ่งเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกในประเทศแถบเอเชีย หลายปีต่อมา ผู้แทนการค้า จึงได้มาเปิด สถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส
สยามและฝรั่งเศสได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของคณะทูตกันหลายครั้ง ซึ่งก็เป็น
กุโสลบายสำคัญของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในการที่จะกระชับความสัมพันธ์
กับฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจของฮอลันดา
1
ในปี พ.ศ.2228 เจ้าพระยาโกษาธิบดี (โกษาปาน) ราชทูตของคณะฑูตชุดที่ 2
ก็ได้ออกเดินทางจากสยามโดยเรือลัวโซ และเรือลา มาลีญ ไปเยือนฝรั่งเศส
ได้สำเร็จ ใช้เวลาเดินทางร่วม 7 เดือน ระยะทางรวมกว่า 68,800 กิโลเมตร
ถนน Rue de Siam ถนนเส้นหนึ่งในเมืองท่า Bratt ก็ได้ถูกตั้งชื่อเพื่อ
เป็นเกียริตแด่ชาวสยาม ซึ่งถือเป็นฑูตชาวตะวันออกชาติแรก ที่มาเยือนฝรั่งเศส
การเยือนครั้งสำคัญของทางการฝรั่งเศส คือ คณะราชทูต ซีมง เดอ ลา ลูแบร์
(Simon de La Lubere) ในปี พศ. 2230 ที่มาเจรจาเรื่องการให้กษัติรย์เปลี่ยน
ศาสนา และผลประโยชน์ทางการค้า
คณะฑูตนี้ มีทหารฝรั่งเศสร่วมมาด้วยถึง 600 นาย และมีนักดนตรีวัยรุ่นฝรั่งเศส
คนหนึ่งเดินทางเข้ามาสยามด้วย เพื่อแสดงการเล่นดนตรี ให้เป็นเกียริตแก่วงศ์
กษัตริย์สยาม ที่ต่อมา คือ คีตกวีเพลงชื่อก้องโลก ผู้ประพันธ์ผลงานเพลงประกอบ
บัลเล่ต์โอเปร่าชิ้นเอกอุอย่าง Les élémens ชื่อ อ็องเดร การ์ดินัล เดส์ตูชส์ (André Cardinal Destouches)
André Cardinal dit Destouches (1672-1749)
………………………………………………………………………………………………………..
ในบรรดาฝรั่งชาติ ๆ ที่เข้ามาสยาม และดินแดนตะวันออก มีทั้งกลุ่มแพทย์ นักดารา
ศาสตร์ นักเดินเรือสมุทร วิศวกร เช่นวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่ออกแบบสร้างพระราชวัง
ลพบุรี, ป้อมเจ้าพระยาวิชาเยนตร์ หรือวิศวกรที่ออกแบบก่อสร้างคลองแนวตรงดิ่ง
อย่างคลองมหาชัยในสมัยพระเจ้าเสือ ฯลฯ
หากดูจากอาชีพผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในยุค 300 ปีก่อนนั้น
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ของชาวตะวันตก ก้าวไกลล้ำหน้ากว่าชาวตะวันออก
อยู่หลายระดับ เป็นปัจจัยสำคัญที่พาเรือกำปั่นฝรั่งมา ทำให้ West meet East
ส่งผลดีและลบ ในแง่ดีเช่น เป็นความรู้เชี่ยวชาญสมัยใหม่ที่ผู้นำพื้นเมืองต้องการ
เพื่อการพัฒนาบ้านเมือง
เมืองปัตตาเวียที่ถูกออกแบบผังเมือง ถูกสร้างพัฒนาขึ้นโดยชาวฮอลันดา
แต่ในแง่ลบยิ่ง คือทำให้ชาวพื้นเมือง ต้องสูญเสียผลประโยชน์บนดินแดนต่างๆ ของตน จากการถูกปล้น แย่งชิงและครอบครองโดยชาวตะวันตก ที่อาศัยอำนาจของ
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย
 
อินเดียต้องสูญเสียมากมายจากการยึดครองโดยอังกฤษ ,
อินโดนีเซีย ต้องสูญเสียผลประโยชน์เหนือดินแดนเครื่องเทศ ให้แก่ฮอลันดา
จากยุคนั้นมาอีก 300 ปี
หรือฝรั่งเศสเอง ที่ต้องการรุกคืบสยาม จากหลักฐานบันทึกลับคำพูดของฑูต
ลาลูแบร์ (ที่ Back up ด้วยกองทหารฝรั่งที่มาพร้อมกันด้วย 600 นาย) ที่ว่า
“หากเราจะขอบางกอกจากไทยนั้น เราควรจะขอเมืองมะริดเสียด้วยทีเดียว”
อย่างไรก็ดี สยาม ก็เป็นหนึ่งในอาณาจักรที่รอดจากภัยคุกคามชาติตะวันตกมาได้
หรือเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเป็นเพราะเหตุและปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ :
1 "ไม่ใช่ทางเสือผ่าน" อาณาจักรสยาม ไม่ใช่แหล่งเครื่องเทศรายใหญ่เหมือนกับ
อินเดียหรืออินโดนีเซีย ที่ชาติตะวันตกลงทุนข้ามโพ้นน้ำโพ้นทะเลมาเสาะหา
2. ชาวกรุงศรีฯส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา จึงไม่ต่อต้าน หรือต่อสู้อย่างรุนแรง
ในเรื่องลัทธิศาสนา
3 มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน จากความเชื่อว่า กษัตริย์ คือเจ้าชีวิต คือเทพ เทวราชา
ศูนย์กลางของจักรวาล*โดยมีกฎมลเทียรบาล ข้อบังคับที่เข้มงวด น่าเกรงขาม ประกอบกับ มีพระราชพิธี พิธีกรรมต่าง ๆ คำราชาศัพท์ ขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่ช่วยหล่อหลอมเสริมส่งความเชื่อนี้ในหมู่ชาวสยาม**
ความเชื่อของชาวสยามในเรื่องดังกล่าว ทำให้กษัตริย์กรุงศรีฯ มีอำนาจการตัดสินใจภายใต้ผู้นำคนเดียว แผ่นดินกว้างใหญ่ ที่แบ่งป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช แต่ทั้งหมดรวมอำนาจปกครองสู่ศูนย์กลาง ไม่แตกแยก
และไม่แยกกันแคว้นเล็กแคว้นน้อยต่าง ๆ อย่างอินเดีย หรืออินโดนีเซียในยุคนั้น ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการเข้าแทรกแซง แทรกซึมของอังกฤษ และฮอลันดา จนสามารถเข้ายึดอำนาจการปกครองเหนือดินแดนได้
*อิทธิพลจากลัทธิเทวราชา ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่สยามได้รับอิทธิพลจากเขมร
*แม้กระทั่งชาวต่างชาติที่เข้ามาสยาม ก็คือ ชนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร,
หัวหน้าบ้านฮอลันดา ก็ต้องเข้าร่วมพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาพร้อมเพรียง
กับเหล่าขุนนางสยาม, แฟรเนา เมนเดส ปินตู (Fernao Mendes Pinto) พ่อค้านักเขียนชาวโปรตุเกส ได้มีการบันทึกไว้ว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ขณะ ทรงเสด็จราชดำเนินเยี่ยมราษฎร กลุ่มชาวโปรตุเกสที่รอเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูล ต่างก็ ก้มลงหมอบกับพื้นเช่นเดียว กับชาวสยาม
4. ราชสำนักกรุงศรีฯ เป็นศูนย์กลางและมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ที่ช่วยอำนวยความ
สะดวกในการหาของป่า สัตว์ป่า พืชสำคัญ แร่ธาตุมีค่า หรือสินค้าพื้นเมืองที่อยู่ห่างลึกไปไกลในแผ่นดิน เรียกว่าแหล่งที่ "เข้าถึง พึ่งได้" ของชาวตะวันตก
5. กษัตริย์กรุงศรีฯ ส่วนใหญ่แสดงความเป็นมิตรกับชาวตะวันตก ไม่ต่อต้าน
การเผยแผ่ศาสนา แต่ยอมเปิดรับ ปรับตัว ตอบรับผลประโยชน์ต่างตอบแทน
และหลายพระองค์ โดยเฉพาะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่รักษาเอกสาร
อำนาจการปกครอง ด้วยการรักษาสมดุลย์อำนาจระหว่างชาติตะวันตกต่างๆ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ นับเป็นยุคทองแห่งการค้าต่างประเทศ พระองค์เป็นผู้นำสยามคนแรก ที่ทรงมีพระดำริไว้เรื่องการขุดคลองทางใต้ เพื่อให้สยามเป็นจุดผ่าน
เรือสินค้าที่สำคัญ ระหว่างทะเลอันดามัน กับอ่าวไทย เมื่อ 300 กว่าปีที่แล้ว
หรือก็คือ แนวคิดของโครงการ คลองไทย ในปัจจุบัน
และการที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีความคิดเป็นสากล น่าจะมาจากการที่ทรงเป็น
กษัตริย์องค์ลำดับที่ 27 ของกรุงศรีอยุธยา จึงเติบโตในเมืองที่มีการค้ากับต่างชาติ
มาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี เมืองที่แวดล้อมด้วยผู้คนนานาชาติ ภาพเหล่านี้เห็นได้หลายต่อหลายครั้ง จากบันทึกของชาวต่างชาติที่มาเยือน
เมืองที่ชาวตะวันตก แล่นเรือกำปั่นลำใหญ่ ข้าม 3 ทวีป 3 มหาสมุทร จากกรุง
ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส แล่นลัดเลาะไหล่ทวีปแอฟริกา ลงมาทางใต้ของ
โลก-แหลม Good Hope ข้ามน้ำข้ามทะเลมาอินเดีย ข้ามอ่าวเบงกอลมายัง
East Indies ลอดช่องแคบมะละกา เข้าอ่าวไทย ล่องเจ้าพระยา
เรือมาจอดริมน้ำหน้าป้อมเพชร แล้วฝรั่งคนผิวขาว ตัวสูงใหญ่ขายาว ก็เดินเรียงราย
ก้าวขาขึ้นบกกันมา...
“ครั้นถึงระดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เปนมรสุมเทศกาล...ฝรั่งกำปั่น ... ฝรั่งเสศ
ฝรั่งโลสงโปรตุเกศ วิลันดา อิศปันยอน* อังกฤษ เปนพ่อค้าพานิชคุมสำเภาสลุป
แล่นเข้ามาทอดสมออยู่ท้ายคู"
จบครบตอน 4/4
ท้ายสุดนี้ ในวาระปีใหม่ พ.ศ.2564 ที่ใกล้เข้ามาถึง ขออวยพรให้ผู้อ่านทุกท่าน
ประสพแต่ความสุข สวัสดี ได้ทำอะไรสมดั่งความตั้งใจ และเจริญด้วยสติที่ถึงพร้อม
.....................กวีธารา...................
หมายเหตุจากผู้เขียน
1. ขอแนะนำให้ย้อนติดตามอ่านตอนที่ 1-3 ก่อนหน้านี้ เพื่อให้ได้อรรถรส เข้าใจ และเห็นความต่อเนื่องของรายละเอียดและเหตุการณ์โดยรวมมากขึ้น
2. หากต้องการสนับสนุนให้กำลังใจผู้เขียน ในฐานะที่เป็น Elephant FC จึงขอเชิญ
ชวนบริจาคทำบุญให้ช้าง/ให้อาหารช้างไทยได้ที่ชมรม ช ช้างชรา (Elephant
World)อ. เมือง จ. กาญจนบุรี หรือ ศูนย์อนุรักษ์ช้างต่าง ๆ ทั่วประเทศ
3. เนื้อหาที่จัดทำ ได้จัดทำโดยค้นหา รวบรวม เรียบเรียง และวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลมาในระดับหนึ่ง ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แต่เป็นผู้สนใจยิ่งใน เรื่องดังกล่าว ศึกษาไป จึงอยากแชร์ไว้ด้วย เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใน เรื่องราวเดียวกัน
ดังนั้น ขณะที่รับข้อมูล ขอให้ผู้อ่านพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลไปในพร้อมกันก่อนเก็บไปเป็นความรู้ หรือแชร์ข้อมูลต่อไป
4. มีบทความอื่น ๆ ที่ทางเรา กวีธารา ตั้งใจเขียน รวบรวมไว้และเนื้อหาน่าสนใจ ไม่แพ้กันเช่นกันนะคะ ติดตามได้ที่ https://www.blockdit.com/kaweetara
กวีธารา เป็นร้านค้าเชิงอนุรักษ์ ขายถุงผ้า+โปสการ์ดภาพลิขสิทธิ์ งานHandmade และรับสั่งทำถุงผ้าลดโลกร้อน ร้านตั้งอยู่ริมคลอง ตลาดน้ำลัดมะยมโซน 7 ถ. พุทธมณฑลสาย 1 ตลิ่งชัน กทม ***แต่ขณะนี้ร้านปิด เพราะภาวะไวรัสโควิท ***
หากสนใจ กรุณาสั่งซื้อถุงผ้าและโปสการ์ดได้ที่ Shopee Search ชื่อร้าน กวีธารา
หรือสั่งทำถุงผ้าได้ที่ line 3514653
ถุงผ้าแม่ค้าแจวเรือตาหวาน ภาพลิขสิทธิ์ของกวีธารา
กวีธารา ขอขอบคุณแหล่งที่เอื้อเฟื้อข้อมูลบทความตอนที่ 1-4 :
-วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม –มิถุนายน ๒๕๖๒ I
-จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช์(Ralph Fitch). แปลโดยนันทา วรเนติวงศ์
,กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร.
-หนังสือเด็กรักลูก, สุดยอดมหัศจรรย์ประดิษฐกรรมโลก ภาพประกอบโดย
สตีเฟน ไบสตี
- งานวิจัยเรื่อง “การส่งผ่านวัฒนธรรมโปรตุเกสแก่สยามกับมรดกที่หลงเหลือใน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”,วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 28 ฉบับที่ 2
(ตุลาคม 2558–มีนาคม 2559)
wind.html
- ประวัติการค้าไทย / ขุนวิจิตรมาตรา. พิมพ์ครั้งที่ 4
- สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ส.พลายน้อย พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2542, สำนักพิมพ์
รวมสาส์น
- "500 ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ไทย-โปรตุเกส",ไกรฤกษ์ นานา,มติชน, 2553
- "กระดานทองสองแผ่นดิน"ปรีดี พิศภูมิวิถี..กรุงเทพฯ:มติชน, 2553.ยุวดี วัชรางกูร
- "ฝรั่ง คำไทยที่มีต้นเค้าจากภาษาต่างประเทศ" ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์. อภิธานศัพท์
กรมศิลปากร. พ.ศ. ๒๕๔๕.
- "ประวัติศาสตร์ของชุมชนคาทอลิกชาวโปรตุเกสในประเทศไทย" ในหมวด ประวัติ
ศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโปรตุเกส, หอจดหมายเหตุอัครสังฑมณฑล
กรุงเทพ โดย...นายฉัตรชัย นิลเขต, 7 กันยายน คศ. 2018
- มะริด : ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์ข้ามคาบสมุทรไทย โดย: เอนก เหล่าธรรมทัศน์,
ผู้จัดการรายวัน, 10 ก.ค. 2562
- ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย (A Short History of Indonesia)เขียนโดย เอลชา
โชนดิน,แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร,กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์,2552
- ประวัติสัมพันธไมตรีสยาม-เนเธอร์แลนด์ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ (2)
ทองแถม นาถจำนง, สยามรัฐออนไลน์ 16 มีนาคม 2560 ตามรอยศึกฤทธิ์
- "ฟอลคอน แห่งอยุธยา"(1) และ "ตากสินมหาราช ชาตินักรบ" โดย Claire Keefe-
Fox, กล้วยไม้ แก้วสนธิ แปล,สำนักพิมพ์นานมีบุคส์
- "333 ปี แห่งการกลับมาของ ท่าปาเรด ของโกษาปาน โดยธีรพงษ์ เรืองขำ,
นิติกรปฎิบัติการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี,นิตยสารศิลปวัฒนธรรม
ฉบับที่ 2 ธค 2563
- "แม่น้ำเจ้าพระยา : ให้กำเนิดความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา" ,ศิริพจน์ เหล่า
มานะเจริญ, มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 28 กุมภาพันธ์ 2562
- เครดิตข้อมูลอื่น ๆ จากอินเตอรเนท
โฆษณา