17 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
ความเครียดส่งผลต่อสมองอย่างไร?
ความเครียดเกิดจากอะไร?
เคล็ดลับเฉพาะในการเอาชนะความเครียด?
ความเครียดส่งผลต่อสมองอย่างไร?
ความเครียดนั้นไม่ได้แย่เสมอไป
บางครั้งความเครียดนั้นก็ทำให้เรามีสมาธิอยู่กับสิ่งหนึ่ง
เช่น ตอนเล่นกีฬา หรือ พูดในที่สาธารณะ
แต่ถ้าหากเราเครียดมากเกินไป เราอาจจะมีอาการเครียดเรื้อรัง
เช่น การทำงานมากเกินไป หรือ มีปัญหากับครอบครัว
ซึ่งจะส่งผลต่อขนาดของสมองโครงสร้างของสมอง และการทำงานของสมองจนไปถึงการทำงานระดับยีนส์ของคุณ
ความเครียดเกิดจากอะไร?
ไฮโพทาลามัส ต่อมพิทูอิทาลี กับ ต่อมหมวกไต (HPA) ซึ่งควบคุมร่างกายในการตอบสมองต่อความเครียด ทำปฎิกิริยาต่อเนื่องระหว่างต่อมไร้ท่อที่สมอง และที่ไต
เมื่อสมองของคุณรับรู้ถึงสภาวะที่ตึงเครียด ระบบดังกล่าว (แกน HPA) จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน และหลั่ง 'ฮอร์โมนคอร์ติซอล' ที่จะกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว
คอร์ติซอล มีผลกับความเครียดอย่างไร?
การมี 'คอร์ติซอล' ในระดับสูงเป็นเวลานาน จะทำความเสียหายให้กับสมองอย่างมาก เช่น ความเครียดเรื้อรังจะทำให้การทำงาน และจำนวนการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ในอมิกดาลา (Amygdala) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความหวาดกลัว
ในขณะที่คอร์ติซอลมีปริมาณเพิ่มขึ้น สัญญาณประสาทในอิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำ และความเครียด ถูกบั่นทอนการทำงานลง
นอกจากนี้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสยังไปยับยั้งการทำงานของสมดุลฮอร์โมนฮอร์โมนคอร์ติซอล
เมื่อสมดุลฮอร์โมนเสียไป ทำให้ความสามารถในการควบคุมความเครียดแย่ลง
เพียงเท่านี้ยังไม่หมด คอร์ติซอลยังสามารถทำให้ขนาดของสมองฝ่อลงได้ หากคอร์ติซอลมากเกินไปจะทำให้สัญญาณประสาทลดลง
การฝ่อของสมองส่วนหน้า จะทำให้การจดจ่อ การพิจารณาต่าง ๆ การตัดสินใจ การมีปฎิสัมพันธ์กับสังคมแย่ลง
คอร์ติซอลยังทำให้การเพิ่มของเซลล์สมองใหม่ ในฮิปโปแคมปัสลดลงอีกด้วย
ผลกระทบจากความเครียด?
ความเครียดเรื้อรังอาจทำให้การเรียนรู้แย่ลง จดจำสิ่งต่าง ๆ แย่ลง และนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ได้อีก เช่น โรคซึมเศร้า และสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์
เราจะสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างไร?
การออกกำลังกาย และทำสมาธิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจลึก ๆ การรู้ตัวและรับรู้ จดจ่อต่อสิ่งรอบตัว กิจกรรมทั้งสองอย่าง จะช่วยลดความเครียด และเพิ่มขนาดของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งจะส่งผลให้มีความจำดีขึ้น
5 เคล็ดลับเฉพาะในการเอาชนะความเครียด
3
ข้อ 1 เปลี่ยนความเครียดที่คลุมเครือให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจน
ข้อ 2 สะสมความเชื่อมั่นในตัวเองผ่านวิธีทำเป้าหมายเล็ก ๆ ให้สำเร็จ
ข้อ 3 นำเป้าหมายที่ยังทำไม่เสร็จใส่ลงในตารางงาน
ข้อ 4 หลังจากบรรลุเป้าหมายแล้วอย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วย
ข้อ 5 เปลี่ยนกำหนดเป้าหมายให้เป็นนิสัยอย่างหนึ่ง
3
กฎ 3 ข้อช่วยให้คุณเอาชนะความเครียดจากงานได้ง่าย ๆ
กฎข้อที่ 1 กฎ 10 นาที
ไม่ว่ามีงานอะไรอยู่ตรงหน้าก็ลองตั้งใจทำดูสัก 10 นาทีก่อน หากไม่ไหวจริง ๆ ค่อยเลือกที่จะยอมแพ้
กฎข้อที่ 2 กฎออฟไลน์
ให้ปิดฟังชั่นออนไลน์ อินเทอร์เน็ตในมือถือระหว่างการทำงาน เพื่อให้ตัวเองอยู่ในสภาวะออฟไลน์
กฎข้อที่ 3 กฎ ไอเซนฮาวร์ (Eisenhower Rule)
(2x2 สำคัญไม่สำคัญ เร่งด่วนไม่เร่งด่วน)
2
สรุปหนังสือ
ควบคุมอารมณ์ได้ เป็นนายชีวิต Emotion Control
1
งานวิจัยการเลี้ยงดูลูกหนูของแม่หนู
จากผลวิจัยเห็นได้ว่า การเลี้ยงดูลูกหนูของแม่หนู ส่งผลต่อการตอบสนองต่อความเครียด ของลูกหนูเมื่อโตขึ้น
ลูกหนูที่ผ่านการดูแลอย่างดีจากแม่ ไวต่อความเครียดน้อยกว่า เพราะว่าสมองได้พัฒนาตัวรับคอร์ติซอลมากขึ้น ซึ่งจะจับคอร์ติซอลไว้ไม่ให้ออกฤทธิ์ได้ดี
ลูกหนูที่แม่ไม่ดูแล มีพฤติกรรมตรงกันข้าม ทำให้มีความไวต่อความเครียดเมื่อโตขึ้น
เราพิจารณาสิ่งเหล่านี้เป็น การเปลี่ยนแปลงเหนือพันธุกรรม ส่งผลให้มียีนส์แสดงออกมา โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนเปลงรหัสพันธุกรรม
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สามารถแก้ไขโดยเปลี่ยนแม่ที่เลี้ยงดู
แต่ผลที่น่าสนใจ คือ การเปลี่ยนเปลงเหนือพันธุกรรมที่เกิดจาก แม่หนูที่ไม่เลี้ยงดูลูกเพียงตัวเดียว จะถูกส่งไปยังลูกหลานของหนูอีกหลายรุ่น
กล่าวคือ ผลดังกล่าวสืบทอดตามพันธุกรรมได้ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องร้ายซะทีเดียว ยังมีอีกหลายวิธีที่จะแก้ไขผลที่คอร์ติซอล มีต่อสมองที่มีความเครียด
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในทางจิตวิทยาเราเรียก
"การที่หลีกเลี่ยงความเครียดจนเกิดความเครียดยิ่งกว่าเดิม"
ว่า "การขยายพันธุ์ความเครียด"
3
#สาระจี๊ดจี๊ด
ความเครียดมีประโยชน์
"ขอเพียงแค่เรากล้าเพื่อไปเอาชนะความเครียด เราก็จะแข็งแกร่งกว่าเดิม"
2
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
Madhumita Murgia
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา