19 พ.ย. 2020 เวลา 10:45 • ประวัติศาสตร์
⭐️ ยุคเรืองปัญญา (The Enlightenment)
⭐️ ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้น
1.
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ซีรีส์ใหม่ของเพจ หลงไปในประวัติศาสตร์ ทั้งในรูปบทความ (และ podcast ที่กำลังจะตามมา)
4
กับซีรีส์ใหม่ที่มีชื่อว่า จากยุคเรืองปัญญา สู่ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัตฝรั่งเศส
ถ้าคุยกันถึงเรื่อง History of freedom จะมีเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ นั่นคือ American Revolution และ French Revolution
2
การปฏิวัติทั้งสองเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน
การปฏิวัติทั้งสองได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากแหล่งเดียวกัน คือ ยุคเรืองปัญญา
แต่ ....
American Revolution จะนำไปสู่ เสรีภาพและการปกครอง ที่ให้อำนาจกับประชาชน
French Revolution จะนำไปสู่ การเข่นฆ่ากัน ของประชาชนชาวฝรั่งเศส ก่อนจะจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการก่อนกลับไปสู่การปกครองด้วยกษัตริย์
.
.
4
ทำไมการปฏิวัติทั้งสองจึงมีจุดจบที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ?
เราจะเดินทางไปเพื่อพยายามหาคำตอบนี้กันครับ
4
การเดินทางครั้งนี้ เราจะไปทำความรู้จักกับยุคเรืองปัญญา หรือ Enlightenment ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เราจะไปดูต้นเหตุของ การปฏิวัติอเมริกา ว่าอะไรทำให้ชุมชนชาวอังกฤษจึงประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากจักรวรรดิ์อังกฤษอันยิ่งใหญ่ และสร้างประเทศขึ้นมาใหม่
1
เราจะไปค้นหากันว่า อะไรทำให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส และทำไมการปฏิวัติในฝรั่งเศสจึงล้มเหลว
1
..........................................................................
2
2. (ทำความรู้จัก ยุคเรืองปัญญา)
ก่อนอื่น เรามาเริ่มด้วยการเข้าใจก่อนว่า ยุค Enlightenment. คืออะไร?
3
โดยทั่วไป The Enlightenment หรือยุค Age of Reason ถือว่าเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่หนังสือ Discourse on Method โดย เรเน เดการ์ต (René Descartes) ตีพิมพ์ออกมาในปีค.ศ. 1637 และจบลงเมื่อยุโรปเข้าสู่ยุค Romantic ซึ่งเป็นยุคที่ชาวยุโรปหันกลับมาให้ความสำคัญกับอารมณ์หรือความรู้สึกกันมากขึ้น
8
โดยปกติถ้ายุคไหนหรือช่วงเวลาไหนมีชื่อพิเศษเรียกขึ้นมา อย่างเช่น ยุคนี้ที่ได้ชื่อว่า ยุคเรืองปัญญา เราก็คาดหวังว่า ยุคที่มีชื่อเรียกคงจะมีลักษณะพิเศษอะไรที่ต่างไปจากยุคก่อนหน้า จนนักประวัติศาสตร์คิดว่า ยุคนี้น่าจะมีชื่อเรียกที่แตกต่าง
5
วิธีหนึ่งที่เราจะเห็นความพิเศษของยุคนี้ได้คือ การไปดูกันว่า
ก่อนที่ยุโรปจะเข้าสู่ยุค Enlightenment และหลังจากยุโรปเข้าสู่ยุค Enlightenmnet แล้ว มันต่างกันอย่างไร ?
2
และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เราลองมาจินตนาการกันว่าเรานั่งไทม์แมชชีน ไปในสองช่วงเวลานี้แล้ว เราจะเห็นอะไรที่ต่างกันมากๆ บ้าง
เริ่มแรกเราเดินทางไปยุโรปก่อนยุค Enlightenment กันครับ
..........................................................................
3. (สังคมก่อนยุคเรืองปัญญา)
เมื่อเราเดินทางไปถึงยุโรปในศตวรรษที่ 18 (ค.ศ. 1700-1800) สิ่งที่เราจะรู้สึกได้คือ บรรยากาศของสังคมหลายๆอย่าง ของยุโรปช่วงเวลานี้แทบจะไม่ต่างไปจากยุโรปยุคกลางก่อนหน้าสัก 500-600 ปี มากนัก
4
ในทางตรงกันข้าม เมื่อเทียบยุโรปในศตวรรษที่ 18 กับอีกประมาณ 100 ปีถัดมาคือ ยุโรปในศตรวรรษที่ 19 สังคมของยุโรปจะมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก
ในแง่ของสังคม ยุโรปในศตวรรษที่ 18 ยังมีความเป็นชนชั้นสูงมาก การปกครองแบบกว้างๆ จะเป็นระบอบกษัตริย์ สถาบันศาสนาจะมีอำนาจและร่ำรวยมาก และทั้งสองสถาบันนี้จะมีความใกล้ชิดและเสริมอำนาจกัน อย่างมาก เช่น สถาบันศาสนารับรองอำนาจของกษัตริย์ว่ามาจากพระผู้เป็นเจ้าให้มาปกครองประชาชน ส่วนสถาบันกษัตริย์ก็ให้ความคุ้มครองสถาบันศาสนา
10
ขุนนางต่างๆก็มีอภิสิทธ์เหนือประชาชนทั่วไปมาก เช่น จ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าหรือไม่ต้องจ่ายภาษี เมื่อทำผิดก็มักจะได้รับโทษน้อยกว่า หรือไม่ต้องรับโทษ
1
ความต่างนี้ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวัน แม้แต่การเข้าถึงความบันเทิง หรืองานศิลปะ ก็ยังมีสิทธิ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน
1
ในแง่ของความเชื่อหรือวิธีคิดของผู้คนในสังคม จะยังมีความเชื่อและวิธีคิดที่คล้ายยุโรปในยุคกลางอยู่มาก คือจะเชื่อตามๆกันมา อะไรที่ศาสนาสอนนั่นคือเรื่องจริง จะไม่มีการสงสัย ตั้งคำถาม มากนัก
6
คนในสังคมจะแบ่งคร่าวๆได้เป็น 3 ชนชั้นหรือ 3 ฐานันดร คือ หนึ่ง ชนชั้นนักบวช สอง ชนชั้นกษัตริย์และขุนนาง สาม ชนชั้นชาวไร่ชาวนา
3
โดยคนส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่า สังคมจะมีความสงบ คนแต่ละชนชั้นจะต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และไม่ควรไปทำหน้าที่ของชนชั้นอื่น เช่น ชนชั้นขุนนางมีหน้าที่รบก็รบให้ดีที่สุด ไม่ควรจะไปทำไร่ทำนาหรือทำการค้า ส่วนชนชั้นชาวไร่ชาวนาก็ควรทำงานหนักไป ไม่ควรไปต่อสู้หรือทำศึกสงคราม เป็นต้น
1
และด้วยกรอบความคิดแบบนี้ คนในสังคม จึงอยู่กันไปแบบไม่ตั้งคำถามมากนักว่า สิ่งที่เป็นอยู่มันดีไหม มันยุติธรรมไหม มันวิธีทำให้ดีกว่านี้ได้ไหม
4
.
.
อย่างไรก็ตาม รอยร้าวของระบอบเดิม ก็เริ่มมีให้เห็นบ้าง แม้ว่าจะยังไม่มากนัก แต่ก็พอเห็นว่าได้ว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น
เริ่มมีการปกครองแบบสาธารณรัฐที่ไม่ต้องมีสถาบันกษัตริย์และการเปิดเสรีให้ประชาชนนับถือศาสนาอะไรก็ได้ของดัชต์ หรือสงครามกลางเมืองในอังกฤษก็มีการนำประเด็นของความเท่าเทียมมาพูดถึง เป็นต้น
1
นอกจากนั้น ชนชั้นกลางก็เริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร่ำรวยขึ้น มีการศึกษามากขึ้น อ่านหนังสือเป็นมากขึ้น และเริ่มที่จะวิพากย์วิจารณ์ชนชั้น aristocrat และสถาบันศาสนา ถึงความไม่ยุติธรรมที่คนเหล่านี้มีเหนือคนทั่วไป
แต่ทั้งหมดก็ยังพบได้ประปราย เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
ทั้งหมดก็คือ ภาพกว้างของ ยุคก่อน Enlightenment นะครับ
คราวนี้เรานั่งไทม์แมชชีนไปช่วงหลังจากยุโรปเข้าสู่ยุคเรืองปัญญากันบ้าง
..........................................................................
4. (สังคมหลังยุคเรืองปัญญา)
1
สิ่งแรกที่เราจะเห็นได้ชัดที่สุดคือ ชาวยุโรปยุคนี้โดยเฉพาะคนที่มีการศึกษาจะหมกมุ่นกับ “เหตุผล” และ “การสังเกต” กันอย่างมาก
ยุคนี้ เราจะเห็นบรรยากาศที่ผู้คน ออกมาต่อต้าน ‘สิ่งที่ไร้เหตุผล’ กันอย่างรุนแรง
3
ผู้คนจะตั้งทำคำถามว่า “ทำไม” หรือ “เพราะอะไร” กับสิ่งต่างๆในสังคมที่เคยทำกันมาอย่างเคยชิน แม้แต่เรื่องของศาสนา หรือการปกครอง ก็จะโดนตั้งคำถาม ซึ่งการทำเช่นนี้เสี่ยงที่จะติดคุก เสี่ยงถูกลงโทษกันง่ายๆ แต่คนก็ยังไม่กลัว กล้าที่จะตั้งคำถาม ล้อเลียน และท้าทาย
11
เมื่อตั้งคำถามแล้วก็จะใช้ เหตุผล ในการวิเคราะห์ว่าทำไมมันจึงเป็นแบบนั้น สิ่งที่ทำกันอยู่นั้นมันสมเหตุสมผลหรือไม่ ?
.
สิ่งที่สองซึ่งเราจะเห็นว่าแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าอย่างมากคือ คนเรียกร้องสิ่งที่แต่ก่อนแทบไม่เคยเป็นประเด็นในสังคม นั่น คือ เสรีภาพ คุณภาพชีวิต และความเข้าใจธรรมชาติหรือโลกแบบวิทยาศาสตร์
6
คนเริ่มเรียกร้องเสรีภาพจากรัฐ คนอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากก้าวหน้าในชีวิต และต้องการที่จะเรียนรู้เข้าใจโลกในแบบใหม่ ด้วยการใช้เหตุและผล ไม่ใช่เชื่อตามที่ศาสนาสอนๆมาเช่นเคย
2
.
สิ่งที่สาม คือ ประเด็นเรื่องการศึกษา
คนยุคนี้จะให้ความสำคัญกับการศึกษามาก และการศึกษาจะต้องไม่เป็นแบบเดิมที่เน้นท่องจำ เน้นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา หรือความศรัทธาต่อสิ่งต่างๆ
4
การศึกษาที่เน้นในยุคนี้ จะต้องให้รู้จักคิด รู้จักการใช้เหตุผล และเนื้อหาเป็นสิ่งที่นำมาใช้กับชีวิตจริงได้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางโลก เพื่อให้นักเรียนเข้าใจสังคมและโลกที่อาศัยอยู่มากขึ้น
10
เมื่อเราได้เห็นโลกก่อนและหลังเข้ายุคเรืองปัญญาแล้ว ก็น่าจะพอนึกออกแล้วนะครับ ว่าทำไมยุคนี้จึงถูกมองว่าต่างไปจากยุคก่อนหน้า จนได้รับชื่อเรียกเฉพาะ
หรือถ้าจะสรุปย่อๆอีกที ก็อาจจะสรุปได้ว่า สิ่งที่ทำให้ยุคนี้ต่างคือ เป็นยุคที่คนพยายาม ใช้เหตุผล มากกว่าศรัทธา
เป็นยุคที่คนใช้การสังเกต การทดลอง เพื่อเรียนรู้ มากกว่า เชื่อต่อๆกันมา
2
และนำวิธีคิดแบบใหม่นี้ไปใช้กับเรื่องต่างๆในสังคม แม้แต่เรื่องที่เดิมเคยแตะต้องไม่ได้อย่างศาสนาหรือสถาบันกษัตริย์
5
คำถามที่น่าสนใจคำถามหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือ
อะไรทำให้จู่ๆ ผู้คนลุกขึ้นมาตั้งคำถาม และต้องการคำตอบแบบที่ใช้เหตุผลอธิบายได้ ?
อะไรที่ทำให้เกิดสังคมแบบ Enlightenment ขึ้นมา ?
ที่มาของ การปฏิวัติวิธีคิด ที่เรียกว่า Enlightenment นั้น มีรากมาจากการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างที่เกิดขึ้นก่อนหน้า นั่นก็คือ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ หรือ Scientific Revolution
3
5. (ที่มาของยุคเรืองปัญญา)
หลังจากที่กาลิเลโอ และ ไอแซค นิวตัน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า จักรวาล (หรือสวรรค์เบื้องบนในความรู้สึกของชาวยุโรปยุคนั้น) กลายเป็นเครื่องจักร ที่ดำเนินไปตามกฎ และกฎนี้มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้
สวรรค์ไม่ได้เคลื่อนไปเพราะพระเจ้าควบคุมการเคลื่อนที่ แต่เป็นแรงที่สามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุและผล
กฎที่ใช้อธิบายสวรรค์นี้ ยังเป็นกฎเดียวกับที่ใช้อธิบายสิ่งธรรมดาๆ บนโลกอย่างการตกลงสู่พื้นดินของผลแอปเปิ้ลได้อีกด้วย
ในวงการแพทย์ หมอ วิลเลี่ยม ฮาร์วีย์ (Willam Harvey) ก็แสดงให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์เองก็ทำงานเหมือนเครื่องจักร คือ หัวใจทำงานเหมือนปั๊มน้ำ หลอดเลือดทำงานเหมือนท่อน้ำ ซึ่งต่างไปจากยุคก่อนหน้าที่มองว่าร่างกายเป็นเรื่องของพลังงานและสมดุลของพลังงานที่ไหลไปมา
2
นอกเหนือไปจากนั้น เมื่อเราเข้าใจกฎของธรรมชาติ เราก็อาจจะบังคับหรือปรับเปลี่ยนหรือควบคุมธรรมชาติได้
3
จากนั้นหลักการนี้ก็ถูกขยายนำไปใช้ในเรื่องอื่นๆ
นักคิดก็เริ่มมองว่า ถ้าจักรวาลยังมีกฎธรรมชาติที่เข้าใจได้ด้วยเหตุผล สังคมของมนุษย์ก็ควรจะเข้าใจได้ด้วย การสังเกต และใช้เหตุและผลเช่นกัน
3
และเมื่อสิ่งต่างๆในธรรมชาติยังปรับได้ ควบคุมได้ สังคมของมนุษย์ก็ย่อมจะปรับเปลี่ยนได้ และควรจะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สมเหตุสมผลมากขึ้น
6
.
.
นักคิดในยุคนั้นจึงเริ่มสังเกต และตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น การปกครอง เศรษฐกิจ กฎหมาย ศาสนา เพื่อจะหาเหตุผลว่าทำไมสังคมจึงเป็นเช่นนั้น ? ที่เป็นอยู่นี้สมเหตุสมผลแล้วหรือ ?
ถ้าเมื่อไหร่ คำตอบที่ได้คือ เพราะพระเจ้ากำหนดมา เช่น กษัตริย์ได้รับอำนาจการปกครองจากพระเจ้า จะถือว่าคำตอบนั้นไม่ใช้เหตุผล แต่ใช้ศรัทธาเป็นที่ตั้ง
3
แล้วอะไรที่พวกเขาพบว่าไม่สมเหตุสมผล ก็ควรจะได้รับการเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปใหม่
9
ตัวอย่างเช่น การทำสงครามที่เดิมเป็นการตัดสินใจนำทัพของกษัตริย์ และมองว่าเป็นเรื่องปกติ (สมัยโบราณจึงประกาศสงครามกันเป็นว่าเล่น) ก็ถูก (วอลแตร์) ถามว่า ทำไมคนจำนวนมากต้องไปรบ หรือไปตาย เพื่อช่วยขยายดินแดนของกษัตริย์ ทั้งๆที่ ดินแดนซึ่งกษัตริย์ปกครองอยู่ ก็ใหญ่จนกษัตริย์ปกครอง (ให้ดี) ไม่ไหวอยู่แล้ว การทำสงครามแบบที่ทำกันเป็นประจำในยุคโบราณ จึงกลายเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล ขึ้นมา
10
มันก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาอีกว่า
แล้วสังคมที่สมเหตุสมผลมันมีหน้าตาเป็นยังไง ?
สังคมควรจะปรับให้เป็นไปในทิศทางไหน ?
6. (สังคมที่สมเหตุสมผลเป็นแบบไหน)
แต่เดิม ทิศทางของสังคมของยุโรปยุคกลาง คือ ทำตามที่ศาสนาบอกเอาไว้ สังคมตั้งอยู่บนศรัทธา เชื่อในสถาบันกษัตรย์ที่ได้รับอำนาจจากพระเจ้า เชื่อในฐานันดรหรือความเป็นชนชั้น เกิดมาอยู่ชนชั้นไหนก็อยู่ชนชั้นนั้นไปจนตาย
7
แต่เมื่อสังคมยุคเรืองปัญญา ตัดพระเจ้าออกไปจากสมการ คือ อะไรที่ตอบว่า ทำแบบนั้นเพราะพระเจ้ากำหนดมา เป็นคำตอบที่ไม่สมเหตุสมผล สังคมก็ต้องมาหาเป้าหมายกันใหม่ว่าอะไร คือ สังคมที่สมเหตุสมผล
1
แล้วเมื่อเราตอบได้ว่า อยากให้สังคมเป็นแบบไหน เราจึงค่อยออกแบบกฎ(หมาย) และรัฐบาล ที่จะช่วยให้สังคมเป็นไปในทิศทางนั้น
คำตอบที่นักคิดยุคเรืองปัญญา ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันคือ สังคมที่สมเหตุสมผล คือ สังคมที่จะช่วยให้สมาชิกทั้งหมด (หรือคนส่วนใหญ่)ในสังคม มีความสุข มีชีวิตที่ดี มีความทุกข์ลดลง ไม่ใช่สังคมที่คนส่วนน้อย (กษัตริย์ ขุนนาง) กดขี่เบียดเบียน กดขี่คนส่วนใหญ่ เพื่อความสุขของตัวเอง
6
กฎระเบียบต่างๆ ที่จะออกมาบังคับใช้จึงควรถูกถามว่า จะนำไปสู่ความสุขหรือลดความทุกข์ของคนในสังคมได้ไหม ?
2
7. (บทสรุป)
พอจะเห็นภาพกว้างๆ กันแล้วใช่ไหมครับว่ายุคเรืองปัญญาเกิดขึ้นมาได้ยังไง มีหน้าตาประมาณไหน และนักคิดนักเขียนยุคนั้นเขาคิดอะไรกัน
6
คำถามต่อไปคือ แล้วคนกลุ่มที่นำยุโรปเข้าสู่ยุคเรืองปัญญาเขาเป็นใครมาจากไหนกัน ?
คนกลุ่มนี้เขาเชื่อและคิดอะไร ทำไมมาเขียนสิ่งเหล่านี้ ?
ในสองตอนหน้าผมจะพาไปรู้จักคนกลุ่มนี้บางคนครับ
คนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ฟิโลโซฟส์ (philosophes)
1
ใครที่ชอบฟังหมอเอ้วมากกว่าอ่าน ยังไงรอติดตามซีรี่ส์
The Enlightenment กันได้ในรูปแบบ Podcast
ทั้งใน YouTube Channel , Spotify , Apple&Google Podcast , Soundcloud และ Blockdit หลงไปในประวัติศาตร์ กันเร็วๆนี้ ไม่นานเกินรอแน่นอนค่ะ 😁
1
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา