22 พ.ย. 2020 เวลา 05:02 • ประวัติศาสตร์
The Enlightenment ตอนที่ 2 วอลแตร์
1
(ซีรีส์ จากยุคเรืองปัญญา สู่ การปฏิวัติอเมริกาและ การปฏิวัติฝรั่งเศส)
2
1.
พวกเขาเป็นนักคิด นักเขียน ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 ของฝรั่งเศส
1
พวกเขามักจะรวมตัวกันตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ซาลอน สถานศึกษา สมาคมหรือโรงพิมพ์เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น
1
พวกเขามองตัวเองอยู่ตรงกลางระหว่างสองยุคสมัย คือ ยุคอดีต ที่งมงายกับพลังเหนือธรรมชาติ ไร้เหตุผล เน้นศรัทธา มนุษย์มีชีวิตที่ยากลำบาก กับ ยุคสมัยที่ประชาชนรู้จักใช้เหตุผล คนสนใจหาความรู้ด้วยการคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล และนำความรู้นั้นไปทำให้ชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น
5
พวกเขานำวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ มาใช้กับสังคมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศาสนา
.
.
พวกเขาเชื่อว่า ชีวิตบนโลกนี้สามารถทำให้สวยงามและมีความสุขได้ ไม่ใช่โลกที่มนุษย์ต้องลำบากเพื่อไปมีชีวิตที่ดีหลังความตาย
17
และพวกเขามั่นใจว่า พวกเขาสามารถผลักดันให้เกิดโลกแบบนั้นขึ้นมาได้
5
พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย มาจากพื้นเพที่ต่างกัน ทั้งในแง่ของสังคม ฐานะ การศึกษา พวกเขาคิดไม่เหมือนกัน แต่พวกเขาเชื่อในคุณค่าเดียวกัน พวกเขามีเป้าหมายร่วมกัน และที่สำคัญคือ พวกเขามีศตรูร่วมกัน
3
พวกเขาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเพณีเก่าๆที่ ไม่สมเหตุสมผล
พวกเขาเรียกร้องให้ยกเลิกอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูง
พวกเขาเรียกร้องให้มีการเปิดเสรีทางความคิด
และพวกเขาบางคนยังเรียกร้องให้มีการแบ่งอำนาจปกครองจากชนชั้นสูงลงมาสู่ประชาชน
7
พวกเขาเรียกตัวเองว่า Les Philosophes ที่แปลว่า Philosophy หรือปรัชญา
1
แต่ปรัชญาของพวกเขาต่างไปจากยุคอื่น เป็นปรัชญาของฝรั่งเศสที่ไม่เหมือนยุคไหน พวกเขาคือ กลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญให้ยุโรป เข้าสู่ยุคสมัยที่เรียกว่า The Enlightenment ยุคเรืองปัญญา หรือในอีกชื่อคือ Age of Reason ยุคแห่งการใช้เหตุผล
2
2.
ยุคสมัยที่เรียกว่ายุคเรืองปัญญานั้น ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นในฝรั่งเศส แต่เกิดขึ้นแรก ๆ ในประเทศอังกฤษและสก็ตอแลนด์ก่อน
สิ่งที่ ฟิโลโซฟส์ (Philosophes) ชาวฝรั่งเศสเขียนนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาอ่านมาจากนักคิด นักเขียน รุ่นพี่ชาวอังกฤษ เช่น จอห์น ล็อค (John Locke) เจเรมี่ เบนตัม (Jeremy Bentham) โธมัส ฮอปปส์ (Thomas Hobbes) และไอแซค นิวตัน อีกต่อหนึ่ง
2
แต่ด้วยความที่นักคิด นักเขียนในฝรั่งเศส มีความสามารถในการเขียน ในการเล่า พวกเขาสามารถทำให้เรื่องยากและซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่ ตลก เสียดสี เข้าใจได้ง่าย ทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากมายมหาศาลได้
1
หรือพูดง่ายๆว่า นักเขียนในฝรั่งเศสเหล่านี้ทำให้ไอเดียของยุคเรืองปัญญาไหลจากหมู่นักคิดมาสู่ประชาชนทั่วไป
2
พวกเขาจึงทำให้ไอเดียของยุคเรืองปัญญาซึ่งเริ่มต้นในประเทศอังกฤษ มาเบ่งบาน และเติบโตในฝรั่งเศส จนฝรั่งเศสกลายเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนไอเดียของยุคเรืองปัญญาไปทั่วยุโรป
2
ตัวแทนของคนกลุ่มนี้ ที่เราจะพูดถึงกันเพื่อให้เห็นว่า นักคิดยุคเรืองปัญญาเขาคิดอะไรกัน มีอยู่ด้วยกัน 4 คนครับ คือ Voltaire, Diderot, Montesquieu และ Rousseau
2
3.
ฟรังซัว มารี อารูเอ็ต (Francois-Marie Arouet)
1
พื้นเพเป็นชนชั้นกลาง เริ่มต้นชีวิตนักเขียนด้วยการติดคุกบาสตีย์ (Bastille) เพราะเขียนนิยายที่มีเนื้อหาเสียดสีรัฐบาล หลังจากนั้นมาเขาก็เริ่มใช้ชื่อใหม่ซึ่งฟังดู aristocrat หรือไฮโซมากขึ้นว่า วอลแตร์ (Voltaire)
อย่างไรก็ตามด้วยความสามารถในการเขียน ที่เขียนอะไรก็ดีไปหมด ตั้งแต่บทกวี นิยาย บทละคร ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ ทำให้เขามีชื่อเสียงในหมู่ชนชั้นสูง และตลอดชีวิตของการเป็นนักเขียนเขาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของชนชั้นสูงมาโดยตลอด
2
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตวอลแตร์เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1726 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วอลแตร์ต้องหนี (หรือถูกขับไล่) จากปารีสไปอาศัยอยู่ที่อังกฤษนานประมาณ 3 ปี เรื่องของเรื่องมันเริ่มมาจากวันนึงมี ชาย aristocrat สูงอายุคนนึงจากตระกูล de Rohanเดินมาแล้วพูดจาเสียดสี ทำนองว่า ง่ายดีนะ แค่เปลี่ยนชื่อให้ฟังดูไฮโซขึ้นก็ไฮโซขึ้นได้แล้ว
2
วอลแตร์ด้วยความที่หัวไว ก็ย้อนกลับไปว่า ตั้งชื่อใหม่ที่ดีให้กับตัวเอง ก็ยังดีกว่าทำให้ชื่อเก่า (ตระกูลเก่า) ต้องเสื่อมเสีย
คืนวันถัดมา วอลแตร์ ก็โดนรุมกระทืบกลางถนนในกรุงปารีส
7
เมื่อวอลแตร์เอาเรื่องนี้ไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่เป็นชนชั้น aristocrat ก็ได้คำตอบกลับมาว่า ก็คุณไปพูดจาแบบนั้นกับ aristocrat เลือดน้ำเงิน มันก็ต้องโดนแบบนี้สิ
3
วอลแตร์จึงตัดสินใจที่จะท้าดวลดาบ แต่ Rohan ไม่มาเพราะมองว่าวอลแตร์เป็นสามัญชนมันไม่คู่ควรจะดวลด้วย เขาจึงจัดการให้วอลแตร์ถูกจับกุมแล้วไปขังไว้ในคุก บาสตีย์ (Batille) โดยการขังจะเป็นการขังลืม เว้นแต่ว่าเขาสัญญาว่าออกจากกรุงปารีสไป
5
ด้วยเหตุนี้วอลแตร์จึงต้องเดินทางไปอังกฤษ
ที่อังกฤษวอลแตร์ตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่เขาเห็น เพราะในเวลานั้นสังคมอังกฤษ มีความต่างจากฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก
.
.
ด้วยความที่อังกฤษเคยผ่านเหตุการณ์ที่อำนาจกษัตริย์ถูกท้าทายจากขุนนางมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น การที่กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจากกฎบัตร Magna carta หรือเหตุการณ์ปฏิวัติที่ชื่อว่า Glorious Revolution ที่ลดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ลงอย่างมาก (ถ้าไม่คุ้นเคยกับสองเหตุการณ์นี้ ก็ยังไม่ต้องสนใจมากก็ได้ครับ วันหลังผมจะเล่าให้ฟังตอนเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ) ทำให้อำนาจถูกถ่ายโอนมาที่สภามากขึ้น
6
วอลแตร์จึงได้เห็นว่าสังคมซึ่งกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญต่างไปจากของฝรั่งเศสที่สถาบันกษัตริย์มีอำนาจมหาศาลอย่างไรบ้าง
2
ยิ่งปีถัดมาคือในปีค.ศ. 1727 วอลแตร์ได้เห็นพิธีศพของเซอร์ ไอแซค นิวตัน ซึ่งเป็นสามัญชน แต่มีความสามารถ จนได้รับเกียรติให้ฝังศพที่ มหาวิหาร เวสต์มินสเตอร์ (Westminster Abbey) ซึ่งปกติเป็นที่ฝังพระศพของเหล่ากษัตริย์อังกฤษทั้งหลายมาช้านาน
วอลแตร์รู้สึกทึ่งมากที่เห็นคนธรรมดาสามัญได้รับการเชิดชูถึงขนาดศพถูกนำมาฝังท่ามกลางอดีตกษัตริย์และราชินีของอังกฤษมากมาย เขาเขียนถึงเหตุการณ์นี้ไว้ว่า
9
ถ้านิวตันเกิดเป็นชาวฝรั่งเศส คนที่นำเสนอความคิดที่ขัดแย้งกับศาสนาเช่น นิวตัน เมื่อเสียชีวิต ศพของนิวตันจะต้องถูกแอบฝังในตอนกลางคืนในหลุมศพที่ไม่มีป้ายหิน เพื่อไม่ให้รู้ว่าศพที่อยู่ในหลุมเป็นใคร
.
.
ช่วงเวลาที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ วอลแตร์ สนใจอ่านงานเขียนของนักคิด นักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษหลายคน ไม่ว่าจะเป็น งานเขียนวิทยาศาสตร์ของ ไอแซค นิวตัน งานเขียนด้านการเมืองของจอห์น ล็อค (John Locke) หลังจากที่เขาอ่านจนเข้าใจดี ก็นำมาเรียบเรียงใหม่ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและอ่านสนุกขึ้น
4
เขายังเขียนหนังสือเกี่ยวกับอังกฤษที่ได้พบเห็น แล้ววิเคราะห์ออกมาให้เห็นว่า อังกฤษ ต่างจากฝรั่งเศสอย่างไรบ้าง และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
3
เขาชื่นชม เสรีภาพของสื่ออังกฤษที่มีมากกว่าฝรั่งเศส อย่างเห็นได้ชัด สื่อและประชาชนชาวอังกฤษสามารถที่จะพูดหรือเขียนวิจารณ์รัฐบาลและสถาบันกษัตริย์ได้ (แต่ก็มีโดนจับบ้าง) หลายอย่างที่ชาวอังกฤษพูดหรือเขียน ไม่มีทางจะเกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสได้เลย การพูดหรือเขียนอะไรที่ไม่ระวัง มีโอกาสที่จะติดคุกได้ง่าย ๆ
8
เขาชื่นชมเสรีในการนับถือศาสนาของอังกฤษ ซึ่งมีความผ่อนปรนค่อนข้างมาก ส่วนนึงเป็นเพราะก่อนหน้านั้นอังกฤษเองก็มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคาทอลิกและโปรแตสแตนท์มานาน เสียเลือดเสียเนื้อกันไปมาก
จนในที่สุดก็ เรียนรู้ว่า รัฐไม่สามารถบังคับหรือเปลียนศรัทธาได้ด้วยความรุนแรงหรือการลงโทษ ทำไปก็มีแต่จะเกิดการต่อต้านและทะเลาะกันไม่จบ (ไอเดียนี้ได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนของ จอห์น ล็อค)
.
.
เมื่อวอลแตร์นำสิ่งที่เขาเห็นในอังกฤษมาเล่าและวิเคราะห์ ในหนังสือ Letters on English หรือในชื่อฝรั่งเศส Lettres philosophiques (ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมสูงมาก) ก็ทำให้สิ่งต่างๆที่พัฒนาในอังกฤษมาเป็นเวลานานถูกรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น มีการนำไปศึกษาและถกเถียงกันต่อในหมู่นักคิดมากมาย
6
จุดเปลี่ยนสำคัญของวอลแตร์เกิดขึ้นอีกครั้ง ในช่วงประมาณปีค.ศ. 1740
4.
วอลแตร์เริ่มหันมาโจมตีสถาบันศาสนาหนักขึ้น เพราะเขามองว่าศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกในฝรั่งเศส เป็นต้นเหตุสำคัญที่กดขี่ความคิดของคนในสังคม และยังกดขี่เสรีภาพในการจะเลือกเชื่อทางศาสนา
2
เขาเรียกร้องให้มีการต่อสู้กับ ความเชื่อที่เขามองว่างมงายและกดขี่ ซึ่งตรงนี้จะสำคัญต่อไปในอนาคต เพราะงานเขียนของวอลแตร์จะมีอิทธิพลในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเราจะได้เห็นกันในบทความต่อๆไปว่า การปฏิวัติของฝรั่งเศสมีการโจมตีสถาบันศาสนาหนักมาก ถึงขนาดว่าเป้าหมายหลักหนึ่งของการปฏิวัติคือ ความต้องการที่จะปฏิรูปศาสนา
5
วอลแตร์ไม่เชื่อในสถาบันศาสนา เขามองว่าศาสนาไม่จำเป็นต้องมี สถาบันหรือนักบวช เพราะมนุษย์สามารถที่จะอ่านพระคัมภีร์ทางศาสนาใช้เหตุผล และคิดเองได้ว่าการจะเป็นคนดีต้องทำยังไง ดังนั้น การคิดวิเคราะห์และใช้เหตุผลจะช่วยกำจัดความเลวร้ายออกไปจากสังคมได้
.
.
เขายังมองว่า สังคมที่ดี จะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมเป็นคนที่ดีขึ้น ดังนั้น การออกแบบสังคมที่รู้จักใช้เหตุผลจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสังคมที่มีเหตุผลจะหล่อหลอมให้เด็กรุ่นใหม่โตขึ้นมาเป็นคนดี
.
.
แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แปลว่าวอลแตร์ไม่เชื่อในพระเจ้านะครับ เขายังมีความเชื่อเช่นเดียวกับนิวตันที่ว่า แม้การดำเนินไปของโลกจักรวาลจะไม่ต้องพึ่งพระเจ้า เพราะมีกฎที่ทำให้จักรวาลดำเนินไปได้เอง
8
แต่ก็ต้องมีใครสักคนมาสร้างกฎหรือสร้างจักรวาลขึ้นมา ดังนั้นการมี ผู้ทรงอำนาจ หรือพระเจ้าจึงเป็นสิ่งที่มีสมเหตุสมผลที่จะเชื่อ (ศรัทธาในรูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า เดอิซึม หรือ deism คือพระผู้เป็นเจ้าสร้างสรรพสิ่งแล้ววางมือ ให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปเอง)
3
ในแง่การเมืองการปกครอง วอลแตร์ ไม่ได้ต้องการล้มสถาบันกษัตริย์ หรือแม้แต่ล้มล้างกลุ่ม aristocrat เขาแค่ต้องการให้มีการปฏิรูป แต่อย่างไรก็ตาม งานเขียนต่างๆของเขาที่โจมตีระบอบเก่าเหล่านี้ ก็ทำให้เขาถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านสถาบันเก่าแก่ต่าง ๆ
8
5.
ถึงตรงนี้น่าพอจะเห็นภาพมากขึ้นไหมครับว่า นักคิดยุคนี้อย่างวอลแตร์ต้องการให้สังคมเปลี่ยนไปยังไงบ้าง
อย่างไรก็ตามนักคิดในยุค Enlightment ก็ไม่ได้คิดเหมือนกันไปทั้งหมด แต่ละคนก็มีความคิดที่ต่างกันไป
อย่างวอลแตร์เองเราจะเห็นว่า เขาถนัดชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติของสังคม เขาถนัดนำสิ่งต่างๆในสังคมมาล้อเลียน เสียดสีในเชิงขบขัน เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่ทำ ๆ กันอยู่มันไม่สมเหตุสมผลยังไงบ้าง
2
แต่ตัวเขาไม่ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ มากนัก
3
ดังนั้นในบทความถัดไป เราจะไปดูสิ่งที่นักคิดคนอื่นเขียนถึงกันบ้างครับ เราจะไปดูว่านักคิดที่เสนอแนวทางแก้ไข เขาเสนออะไรกันไว้บ้าง
แล้วเมื่อเราได้เห็นสิ่งที่คนอื่นเขียนมากขึ้น เราก็จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นไปอีกว่า แม้แต่ละคนจะมีความคิดต่างกัน แต่พวกเขามีความเห็นร่วมกันอย่างไร และหลายสิ่งที่พวกเขาคิดขึ้นมา สร้างโลกปัจจุบันที่เราอาศัยอยู่กันอย่างไร ? หลายสิ่งที่พวกเขาเถียงกัน ก็ยังถกเถียงมาจนถึงรุ่นเราในทุกวันนี้อย่างไร ?
ในบทความหน้าเราจะไปดูความคิดของนักเขียนยุคเรืองปัญญาอีกสามคนครับ
เขาสามคนนั้นคือ คือ Montesquieu, Diderot และรุสโซ
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา