1 ธ.ค. 2020 เวลา 23:00 • สุขภาพ
โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder )
Paraniod Personality Disorder
บุคลิกหวาดระแวง
คือ บุคคลที่มีความระแวดระวังตนเองอยู่เสมอเป็นภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัยหรือระแวงผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล
มักคิดว่าคนอื่นต้องการทำร้าย ข่มขู่ตนเอง หรือบางครั้งมีความคิดว่าตนเองกำลังถูกตักตวงผลประโยชน์
อาการเหล่านี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาการหลงผิด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือเข้าสังคมได้ยาก
สาเหตุของโรคหวาดระแวง
ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของภาวะหวาดระแวงอย่างชัดเจน แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เสี่ยงเกิดอาการหวาดระแวงได้ ดังนี้
1
1. ปัญหาสุขภาพจิต
2. ปัญหาสุขภาพกาย
3. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเสพติด
4. สิ่งแวดล้อมภายนอก
5. ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่พบเจอ
6. ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ
7. พันธุกรรม
อาการของโรคหวาดระแวงเป็นอย่างไร?
คนทั่วไปอาจมีอาการหวาดระแวงในระดับอ่อนบ้าง แต่ผู้ที่ประสบภาวะนี้อย่างรุนแรงอาจรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยอาการที่อาจพบได้ มีดังนี้...
- ไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ ระแวดระวังผู้อื่นตลอดเวลา
- คิดว่าคนอื่นจะทำร้ายหรือพูดถึงตนเองในทางเสียหาย
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว ประพฤติตัวไม่เป็นมิตรกับบุคคลรอบข้าง
- อ่อนไหวและรับไม่ได้กับการถูกวิจารณ์
- หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
- ปล่อยวางและให้อภัยได้ยาก
- มองโลกในแง่ร้าย
- เข้าสังคมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนยาก
- ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
- เคลือบแคลงสงสัยในเรื่องที่มีหลักฐานอธิบาย แต่เชื่อข่าวลือต่าง ๆ อย่างไม่มีเหตุผล
วิธีรับมือสำหรับตัวผู้ป่วย
- เขียนบันทึก
- ปรึกษาคนรอบข้าง
- ผ่อนคลายความกังวล
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
วิธีรับมือสำหรับคนใกล้ชิด
- สังเกตอาการ ควรสังเกตว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดระแวง
- พูดคุยเปิดใจ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรู้มุมมองที่ต่างออกไปและช่วยลดความเครียดลงได้
- ทำความเข้าใจความรู้สึก ไม่ควรมองว่าภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเป็นเรื่องไร้เหตุผล
- ช่วยเหลือเต็มที่ หากผู้ป่วยไม่ต้องการไปหาหมอก็ไม่ควรฝืนบังคับ ควรคอยสอบถาม และเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ
- เคารพการตัดสินใจ ไม่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยได้คิด และตัดสินใจเอง
- แนะนำสายด่วน หากผู้ป่วยไม่พูดคุยเปิดใจ ผู้ใกล้ชิดอาจแนะนำให้ผู้ป่วยขอความช่วยเหลือจากองค์กรให้คำปรึกษาในเบื้องต้น
1
- ดูแลตัวเองให้ดี พักผ่อนและดูแลสุขภาพกายและใจให้เป็นปกติอยู่เสมอ
การรักษาโรคหวาดระแวง
1. จิตบำบัด
2. การใช้ยา
3. ฝึกทักษะในการเผชิญความเครียด
4. การพักรักษาในโรงพยาบาล
#สาระจี๊ดจี๊ด
อาการหวาดระแวงไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย แต่อาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างและการเข้าสังคม
#สาระจี๊ดจี๊ด
การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะนี้อาจช่วยลดแนวโน้มการเกิดอาการหวาดระแวงได้ เช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด และเลี่ยงการใช้สารเสพติด
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา