28 พ.ย. 2020 เวลา 10:09 • สุขภาพ
"แจ้งตำรวจ เกิดเหตุฆาตกรรมในไอซียู"
วันนี้จะมาเล่าให้ฟัง ถึงกรณีผู้ป่วยคนหนึ่งที่ไม่สามารถตัดสินใจการรักษาเองได้แล้ว ต้องให้คนอื่นตัดสินใจการรักษาให้ จนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย
2
ผู้ป่วยหญิงรายนี้สูงอายุมากแล้ว มีภาวะเลือดออกในสมอง นอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มานาน ที่สำคัญคือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เกิดภาวะติดเชื้อบ่อยๆ จนเป็นผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เข้าออกรพ.ตลอดในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อยู่บ้านประมาณ 3-4 เดือน ที่เหลืออยู่ในรพ.
ผู้ที่ดูแล และตัดสินใจการรักษา คือลูกสาวของเขา ผู้ป่วยมีลูกหลายคน แต่จะเหลือเพียงลูกสาวที่มารพ. และตัดสินใจการรักษาตลอด
1
ผู้ป่วยตอนนี้นอนหลับตา กระตุ้นก็ไม่ลืมตา ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีสายระโยง ระยางเต็มร่างกาย ร่างกายมีรอยช้ำตามตัว บวมจนไม่สามารถเจาะเลือดใดๆได้แล้ว
1
แต่ละครั้งที่เกิดภาวะติดเชื้อ ก็จะรุนแรงต้องได้ยาฆ่าเชื้อหลายขนาน ได้ยากระตุ้นความดันมากมาย แพทย์ที่ดูแลมีการพูดคุยถึงแนวทางการดูแล โดยเน้นที่ความสุขสบายของผู้ป่วย จึงได้นัดประชุมครอบครัวกับทางลูกสาว
1
ได้พบว่า ลูกสาวเป็นผู้มีการศึกษาสูง แต่มีความคิดบางอย่างที่ไม่ปกติ คือ มีความคิดว่า ผู้ป่วยตายไม่ได้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มีการด่า กราดทีมแพทย์ ทีมผู้ดูแลต่างๆ จนทุกคนก็ขยาด และที่สำคัญคือ ผู้ป่วยมีลูกคนอื่นๆอีก แต่ลูกคนอื่นไม่อยากยุ่งด้วยแล้ว เพราะลูกสาวคนนี้จะด่าทุกคนที่ไม่ทำตามที่ตนต้องการ ถึงขั้นฟ้องร้อง และแจ้งความกับตำรวจ (มีinappropriate judgement ชัดเจน แต่กลับเป็นคนตัดสินใจการรักษาเพียงผู้เดียว)
11
ระหว่างที่อยู่รพ. มีการติดเชื้อ และช้อคอีกหลายครั้ง จนเกิดภาวะไตวาย ต้องล้างไต การรักษาทุกๆวันเต็มไปด้วยการรักษาที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดกับผู้ป่วย เปลี่ยนที่เจาะเลือด เปลี่ยนที่ฟอกไต ไปตามที่ต่างๆเท่าที่มี แต่ลูกสาวมองว่า เป็นสิ่งที่แม่ทนได้
ระหว่างนี้ผู้ป่วยไม่เคยตื่นลืมตาเลย หลายคนถามหมอว่า เค้ายังเจ็บอยู่มั้ย คนไข้เหล่านี้
หมอคงตอบไม่ได้ 100% แต่ว่าการรับรู้ตัว กับการรับรู้ความเจ็บปวด และการแสดงออกซึ่งอาการเจ็บปวดเป็นเรื่องคนละอย่างกัน
ถ้าคนทั่วไป เมื่อเจ็บก็แสดงออกได้
เมื่อคนเรามีโรคทางสมอง เมื่อเจ็บ เขาจะทำอย่างไร ถ้าร้องได้ก็คงร้องโวยวาย หรือถ้ายังสามารถแสดงออกเบื้องต้นได้ คงทำหน้านิ่วคิ้วขมวด แต่เมื่อแสดงออกไม่ได้ เมื่อเจ็บก็คงบอกใครไม่ได้ ไม่สามารถแม้แต่เปล่งเสียง ชัดมือหนี เพราะระบบการทำงานกล้ามเนื้อเสียไปแล้ว
1
แล้วระบบสัมผัสหล่ะ ส่วนมาก จะยังไม่เสียไปค่ะ เค้ามักจะยังรับรู้อยู่ได้ เพราะอันนี้เป็นคนละส่วนกับความรู้สึกนึกคิด ความสามารถในการขยับตัว
ดังนั้น สิ่งหนึ่งนี่ต้องเน้นย้ำเลย คือคนไข้มันจะยังรับรู้ความทรมานอยู่ แต่สื่อสารไม่ได้
2
วันนี้ผู้ป่วยรายนี้ได้จากไปแล้ว จากไปพร้อมอุปกรณ์ยื้อความตาย ที่แพทย์ทำตามที่ลูกสาวสั่งอย่างสุดความสามารถ แต่ร่างกายของผู้ป่วยก็เกินจะยื้อไว้ได้แล้ว
เวลานั้น แพทย์ต้องขึ้นปั๊มหัวใจผู้ป่วย ทั้งๆที่รู้ว่าไม่มีทางจะเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นได้ เมื่อปั๊มไปเป็นชั่วโมง จะขอยุติ ลูกก็ได้ด่าทอ และโทรแจ้งความกับตำรวจ ว่ามีเหตุฆาตกรรมในห้องไอซียู....พ่อของผู้ป่วยพยายามห้าม แต่กลับโดนด่า และตบหน้าอย่างแรง!!
แม้เรื่องราวต่างๆ เค้าจะเอาผิดแพทย์หรือรพ.ไม่ได้ แต่สิ่งที่เค้าทำ ยอมรับว่าทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบ ในใจบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดูแล
3
ดังนั้น ถ้าย้อนกลับไปได้ ในวันนี้ ที่ทุกๆคนยังรู้สติ รู้ตัวอยู่ วันที่เราไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับเรา เราอาจจะอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจการรักษาเองได้เลยแม้แต่น้อย คนที่คุณคิดว่าจะตัดสินใจการรักษาแทนนั้นคือใคร
1
ทางการแพทย์ เรียกคนนั้นว่า “ตัวแทนผู้ป่วยในการตัดสินใจด้านสุขภาพ” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Proxy คนคนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีความเกี่ยวเนื่องจากกฏหมาย และไม่จำเป็นต้องเกี่ยวเนื่องทางสายเลือด
แต่ต้องเป็นผุ้ที่คิดว่า รู้ใจเรามากที่สุด รู้ว่าสิ่งใด คือสิ่งที่เราน่าจะต้องการมากที่สุด และเรามอบให้เค้าเป็นผู้ตัดสินใจการรักษาแทนเรา ในวันที่เราพูดเองไม่ได้
5
ประเด็นคือ ถ้าเค้าไม่ใช่คนในครอบครัว เราต้องบอกคนในครอบครัวด้วย ไม่งั้นก็จะทะเลาะกันได้ คนคนนี้อาจจะไม่ได้มีอำนาจทางกม. เซนต์ใบนู่นนี่ได้ แต่เป็นคนที่เราหวังให้ครอบครัวฟังเขามากที่สุดที่ทำได้
(แต่ถ้าหากมีการเขียนพินัยกรรมชีวิตไว้แล้ว และเซนต์เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ คนคนนี้ก็จะมีอำนาจทางกฏหมายได้)
3
สิ่งนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของ การวางแผนด้านสุขภาพล่วงหน้า หรือ advance care plan
สิ่งนี้ ทำได้ตั้งแต่วันนี้...ควรทำตั้งแต่วันนี้.... เพราะสิ่งนี้ มีแต่คำว่า "เร็วไป" กับ "ช้าไป" ไม่มีคำว่าพอดี.....
จะฝากชีวิตกับใคร คิดให้ดีๆ ว่าไว้ใจได้
มองรอบตัว ว่าใครคือคนที่คุณไว้ใจ บอกเค้าไว้ว่าคุณต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร บอกทุกคนในครอบครัวให้ฟังเค้า เมื่อวันนั้นมาถึง
1
คำว่า ไว้ใจได้ ไม่ได้แปลว่า เค้ารักเราหรือไม่ หรือไว้ใจทางเงินทอง แต่ไว้ใจว่าเค้ารู้ใจเรา!!"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา