29 พ.ย. 2020 เวลา 07:36 • สุขภาพ
ภาวะหัวใจล้มเหลว และแนวทางการรักษา
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ โดยอาจเกิดจากมีความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการหายใจเหนื่อย
อ่อนเพลีย
มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวจะต้องพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย เช่น สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว ความรุนแรงของโรค ระยะของโรค โรคอื่นๆ ที่พบร่วม เป็นต้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย การรักษามีเป้าหมายเพื่อลดอาการของผู้ป่วยและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยเน้นที่การยับยั้งหรือชะลอการเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินโรค
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยากลุ่มลดการกระตุ้นระบบนิวโรฮอร์โมน ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
1
การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรชนิดที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน ร่วมหรือไม่ร่วมกับเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย
การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว
การตรวจหาความเสี่ยงโรคหัวใจและ หลอดเลือดจากพันธุกรรม เป็นการตรวจสุขภาพเชิงรุก ช่วยพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดที่เกิดจากพันธุกรรม เพื่อประโยชน์ในการวางแผนป้องกันและ เฝ้าระวังการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
การตรวจนี้เป็นการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของยีน 77 ยีน ที่มีหลักฐานว่าสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจชนิดต่างๆ ดังนี้
โรคความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่ ที่เสี่ยงต่อการโตและปริแตก
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว
โรคที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
โรคไขมันในเลือดสูงชนิดรุงแรง
สอบถามผ่านไลน์เกี่ยวกับโรคหัวใจ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา