30 พ.ย. 2020 เวลา 08:13 • การศึกษา
วิ่งเต้นเพราะถูกหลอกลวง ..😁😁😁
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและเคารพทุกท่าน กลับมาอีกครั้งกับบทความทางกฎหมาย ที่อ่านแล้วสามารถทำความเข้าใจได้ โดยไม่ต้องเปิดตำรา อาศัยเพียงท่าน ..ลืมตาแล้วเปิดใจค่อย ๆ อ่าน ท่านก็จะเข้าใจได้เอง ซึ่งก็เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันแหละครับ ..เพียงแต่จะเกิดกับใครเท่านั้นเอง .....
1
กระผมหายไปพักใหญ่อยู่เหมือนกัน ...งานช่วงปลายปีนี้หนักเอาการ ทั้งงานเอกสาร และพยานบุคคล ที่ต้องไปต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ..ก็ลุยกันไปครับ ..สวมวิญญาณบ้านบางระจัน..เพื่อลูกเมีย กูจะสู้หลังชาฝา..555 พี่แอ้ด คาราบาว เขาว่าไว้ ...รู้สึกฮึกเหิม ฮึกเหิม.....
เคยได้ยินเรื่องการให้สินบนเพื่อให้ได้เข้าทำงานราชการไหมครับ หรือภาษาชาวบ้านก็คือ วิ่งเต้น นั้นแหละครับ ต้องเคยแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่ มีเจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้มีหน้าที่แอบอ้าง มาบอกว่า เสียเงินเท่านั้น เท่านี้ ก็จะได้เข้าทำงานรับราชการใส่ชุดสีกากีบั้งเต็มบ่า เลยนะ...
2
มีเยอะครับ เอาสบายเข้าว่า ยอมเสียเงิน เสียทอง ไปกับการวิ่งเต้นเข้ารับราชการไม่ต้องสอบหรือสอบก็เป็นพิธี ซึ่งมันก็ไม่เกี่ยวกับ ..เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร ..เออมันก็ไม่เกี่ยวกันจริง ๆ 555..มายังไง..
เมื่อเสียเงินไปแล้ว แต่กลับไม่ได้เข้ารับราชการ เอาละซิ ..ขอเงินคืนก็อ้างนู้นอ้างนี่ สุดท้ายก็ต้องไปแจ้งความฐานฉ้อโกง เรื่องแบบนี้ คำพิพากษาฎีกา บอกว่า ..
ผู้ถูกหลอกลวงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เพราะอะไรหรือครับ ..ก็เพราะเอาเงินให้เขาเพื่อวิ่งเต้นเข้าทำงานเป็นการให้สินบน ไงครับ ..แบบนี้ก็ถือว่า มีส่วนร่วมกันให้สินบนเจ้าพนักงาน ก็มีส่วนผิดด้วย ..งั้นจะมาขอเงินคืนไม่ได้นะครับ ..
แต่ถ้า ผู้ที่มาหลอกลวง กล่าวอ้างว่า สามารถช่วยเหลือฝากให้เข้ารับราชการได้ ทั้งที่แท้จริงแล้ว ไม่สามารถฝากหรือช่วยเหลือได้..แบบนี้ถ้าผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้..จะถือว่ามีส่วนในการทำผิดด้วยไหม..แล้วจะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ ...
ภาพจาก pexels.com
มีคำพิพากษาฎีกา ล่าสุด เป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 335 /2563 ได้วินิจฉัยเป็นหลักไว้ดังนี้ครับ ...
" จำเลยกับพวกกล่าวอ้างว่า สามารถช่วยเหลือฝากให้โจทก์ร่วม เข้าทำงานรับราชการ ในองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ อันเป็นความเท็จ..ความจริงแล้ว จำเลยกับพวก ไม่สามารถช่วยเหลือโจทก์ร่วม ดังที่กล่าวอ้างได้แต่อย่างใด ..โดยการหลอกลวงของจำเลยกับพวกเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นความจริง ..ตามที่กล่าวอ้าง..
ถือว่า.. โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยกับพวกได้ ส่วนที่ โจทก์ร่วมจ่ายเงิน จำนวน 550,000 บาท ให้กับจำเลยกับพวก ก็ล้วนเกิดจากการหลอกลวง ถือไม่ได้ว่า โจทก์ร่วม เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในความผิดฐาน
..ฉ้อโกงได้.."
จากคำพิพากษาฎีกานี้ จุดสำคัญก็คือ ความเป็นผู้เสียหายนั้นเอง คดีนี้ผู้เสียหายถูกหลอกลวง แต่ถ้า คิดในทางกลับกัน หากผู้เสียหาย เสนอเงินให้วิ่งเต้นเอง อันนี้แหละครับ...ถือว่าเป็นผู้ก่อให้มีการกระทำผิด ..ก็จะไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายหรือผู้เสียหายโดยนิตินัย ..เลย
2
หลักการเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย หรือผู้เสียหายโดยนิตินัย ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นแนวบรรทัดฐานมาตลอดว่า ..ต้องไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดนั้น ไม่ว่าเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน รวมทั้งจะต้องไม่มีส่วนในการกระทำโดยประมาทด้วย ...นั้นแหละครับ ..ผู้เสียหาย..
1
แต่ผมจะบอกอีกอย่าง ..หลอกอะไรก็ไม่เท่า "...หลอกให้รัก ให้รออยู่ หลอกให้ฉันทุ่มเทหัวใจ ...555 ..พี่เสก โลโซ โผล่มายังไง..ไม่ตายไม่ตาย หรอกเธอ .."
เอ้า...เอา เข้าไป...
1
สำหรับผมไม่เคยถูกหลอก..เพราะแอบชอบ เป็นงานหลัก ..แอบรักเป็นงานรอง ..แอบมองเป็นงานอดิเรก...แต่ถูกปฏิเสธเป็นงานประจำ..คร้าบ 😁😁😁
2
ภาพจากpexels.com
พบกันใหม่บทความหน้านะครับ
🤗 บุญรักษาทุก ๆ ท่านครับผม 🙏🙏🙏
โฆษณา