5 ธ.ค. 2020 เวลา 03:43 • ประวัติศาสตร์
เมื่อกษัตริย์เป็นผู้นำการปฏิรูป
(Englightened Despotism) ตอนที่ 1
1
ยุโรปในช่วงกลางๆ ของศตวรรษที่ 18 แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปที่เดิมคุยกันแต่ในหมู่นักคิดนักปรัชญาแคบ ๆ ก็ได้รับการทำให้รู้จักในวงกว้างโดย ฟิโลโซฟ์ (philosophes)
2
เมื่อการปฏิวัติทางความคิดเกิดขึ้นแล้ว ความพยายามที่จะเรียกร้อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นตามมา
คำถามคือ ใครจะเป็นผู้นำในการปฏิรูปดี ?
ฟิโลโซฟส์ส่วนใหญ่ เช่น ดีเดอโร หรือ วอลแตร์ มองว่าการเปลี่ยนแปลงควรจะมาจากด้านบน คือ นำโดยกษัตริย์นักปราชญ์หรือ Philosopher King
3
เพราะคนที่มีอำนาจสูงสุดอย่างกษัตริย์หรือขุนนางจะมีอิทธิพลมาก และสามารถช่วยให้ ความคิดของนักคิดต่าง ๆ เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง การปฏิรูประบบต่าง ๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น
1
จะมีก็แต่รุสโซ คนเดียวที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงต้องมาจากด้านล่างของสังคม ซึ่งในมุมมองของเขาคือ การเปลี่ยนแปลงต้องนำโดยประชาชนที่ยากจนและไม่มีการศึกษา เพราะประชาชนกลุ่มนี้ คือ คนที่มีความใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด
4
แต่ปัญหาคือการปฏิรูปส่วนใหญ่ที่คุยกัน มักจะหมายถึงการลิดรอนอำนาจของกษัตริย์ ชนชั้นสูงหรือพวกอภิสิทธิ์ชน
4
แล้วกลุ่มคนเหล่านี้จะยอมเป็นผู้นำการปฏิรูปได้อย่างไร ?
2
ปัจจุบันเรารู้ว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นทั้งสองแบบ คือ ทั้งจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน
การเปลี่ยนแปลงแบบที่สองที่เริ่มมาจากการเรียกร้องของประชาชน ทุกวันนี้เราเรียกมันว่า “การปฏิวัติ” ซึ่งเราจะได้เห็นกันในตอนที่เราคุยเรื่อง ปฏิวัติอเมริกา และ ปฏิวัติฝรั่งเศส 

การเปลี่ยนแปลงแบบแรกที่นำโดยสถาบันกษัตริย์ทุกวันนี้เรารู้จักในชื่อ Englightened Despotism
2
และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบแรก ที่จะมีโอกาสได้ทดลองก่อน
2
Enlightened Despotism เป็นรูปแบบการปฏิรูปที่มีลักษณะพิเศษ
คำว่า despotism แปลว่าเผด็จการ หรือ สมบูรณาญาสิทธิราช หมายถึง การที่คนๆหนึ่ง มีอำนาจในการตัดสินใจ อำนาจการบริหารแต่เพียงผู้เดียว โดยการปกครองแทบไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายใด ๆ ซึ่งคำนี้มักมีความหมายในทางลบ
ส่วนคำว่า enlightened ที่แปลว่ารู้แจ้ง เรืองปัญญา ซึ่งมีความหมายทางบวก
คำถามคือ คำที่มีความหมายทางลบนี้มาอยู่คู่กับคำว่า enlightened ได้อย่างไร ? สมบูรณาญาสิทธิราช มันจะ enlightened ได้อย่างไร ?
คำตอบคือ เพราะคนที่มีอำนาจสูงสุดเหล่านี้ พยายามจะใช้อำนาจ สร้างสังคมที่ดี สังคมที่ใช้เหตุผล เพื่อประโยชน์ของประชาชน
4
แม้ว่าแต่ละพระองค์จะมีวิธีการที่ต่างกันไปแต่ทุกพระองค์ก็มีจุดร่วมที่คล้ายกันบางอย่าง เช่น
1 ให้เสรีภาพ ในการแสดงออกทางความคิด ให้เสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา (ในระดับหนึ่ง)
2 พยายามปฏิรูปโครงสร้างของสังคม ลดอภิสิทธิ์บางอย่างของชนชั้นสูง พยายามลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นให้น้อยลง
3 แต่สถาบันกษัตริย์ยังคงอำนาจสูงสุดไว้ และอาจจะยิ่งพยายามรวบอำนาจทั้งหมดไว้ที่ตัวเองให้มากขึ้น เพื่อการควบคุมที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
1
4 และใช้อำนาจนั้นสร้างรัฐที่มีนโยบายตามแนวคิดของเหล่าฟิโลโซฟส์ ในรูปแบบราชูปถัมภ์
คำถามที่น่าสนใจคือ แล้ววิธีการเช่นนี้จะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ? และจะเป็นกษัตริย์ประเทศไหนที่สนใจจะทำเช่นนี้บ้าง ?
1
3
อย่างที่คุยกันไปในตอนก่อน ๆ หน้าว่า ไอเดียของ Enlightenment เริ่มต้นขึ้นที่อังกฤษ แล้วมาเติบโตอย่างมากที่ฝรั่งเศส จนทำให้ปารีสกลายเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนของ Enlightenment จนเป็นที่รู้จักไปทั่วยุโรป
2
แต่กษัตริย์อังกฤษก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับนักคิดเหล่านี้มากนัก ส่วนกษัตริย์ฝรั่งเศสแม้ว่าจะสนใจบ้าง แต่ก็เป็นไปในรูปแบบของการปิดกั้นและพยายามปราบปราม คือไม่ได้เห็นด้วยกับแนวคิดนี้มากนัก
1
ส่วนใหญ่ของคนที่อ่านหนังสือของนักคิด นักปราชญ์เหล่านี้จะเป็นชนชั้นกลางที่มีการศึกษา แต่ไม่ได้แปลว่าชนชั้นขุนนางหรือกษัตริย์จะไม่ได้อ่าน และมีกษัตริย์ หรือราชินี หลายคนที่ได้อ่านและเห็นคล้อยตามไปด้วย
และมีถึงสามพระองค์ ที่ตัดสินใจที่จะปฏิรูปอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของตัวเองให้เป็นไปตามแนวทางของ enlightenment
คนที่แรกคือ Catherine the great ของรัสเซีย
คนที่สองคือ Frederick ที่ 2 หรือ Frederick the great แห่ง ปรัสเซีย
คนที่สามคือ Joseph ที่ 2 ของอาณาจักรออสเตรีย

เรามาดูกันไปทีละคนนะครับว่า การปฏิรูปที่นำโดยคนระดับกษัตริย์นั้น ผลจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง
2
4
Catherine the Great แห่งรัสเซีย พื้นเพเดิมเป็นเจ้าหญิงเยอรมันที่มาอภิเษกกับราชวงศ์ของรัสเซีย ดังนั้นสำหรับชาวรัสเซียจำนวนมาก พระนางยังไงก็เป็นชาวต่างชาติ แม้ว่าจะทุ่มเทให้กับรัสเซียมากมายเพียงใด
แต่ก่อนที่จะไปดูกันว่าแคทเทอรีนทำอะไรบ้าง ต้องเข้าใจพื้นหลังของรัสเซียในเวลานั้นกันก่อนสักนิดครับ
1
ประเทศรัสเซียแม้ว่าจะเป็นประเทศที่ดูยุโรป แต่เพราะประวัติศาสตร์หลาย ๆ อย่างจึงทำให้รัสเซียต่างจากยุโรปตะวันตกทั้งหลายค่อนข้างมาก
ซึ่งความต่างนี้ มองในมุมของเทคโนโลยีหรือมุมของชาวตะวันตกอื่น อาจจะมองว่าเป็นความล้าหลัง งมงายกับความเชื่อเหนือธรรมชาติ ชนบท ยึดติดกับวัฒนธรรมโบราณ ยากจนและดื่มจนมีนเมาตลอดเวลา
แม้ว่าในยุคก่อนที่พระนางแคทเธอรีนจะขึ้นเป็นจักรพรรดินี รัสเซียเคยพยายามปฏิรูปมาบ้างแล้วโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter the great) แต่รัสเซียก็ยังถือว่าล้าหลังประเทศตะวันตกอื่นอยู่ดี
เมื่อแคทเธอรีนมาอภิเษกเป็นสมาชิกของราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียก็ต้องพบว่าพระสวามี เป็นเจ้าชายที่เหมือนเด็กไม่ยอมโต ชอบเล่นของเล่น ไม่มีความเป็นผู้นำ และไม่ค่อยสนใจเรื่องทางเพศมากนัก พระนางจึงเริ่มหาความสัมพันธ์ทางเพศกับนายทหารคนอื่นๆ จนมีโอรส ซึ่งแม้ว่าจะเป็นรัชทายาท แต่คนจำนวนมากรู้ดีว่าไม่ได้มีสายเลือดของจักรพรรดิ์รัสเซีย
ต่อมาหลังจากที่พระสวามีสิ้นพระชนม์ (เชื่อว่าพระนางแคทเธอรีนมีส่วนในการปลงพระชนม์) พระนางก็ได้รับการช่วยเหลือจากคนรักให้ขึ้นนั่งบัลลังก์เป็นจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย
2
แต่การเป็นผู้ปกครองเพศหญิงในรัสเซียก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นกันได้ง่าย ๆ เพราะวัฒนธรรมของรัสเซียยุคนั้นแม้แต่ในบ้านของสามัญชนธรรมดา ภรรยาและลูกสาวก็แทบจะไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร หรือแม้แต่ระดับขุนนาง ผู้หญิงที่กลายเป็นแม่หม้ายหลายครั้งก็จะถูกส่งตัวเข้าไปบวชอยู่ในคอนแวนต์
1
นี่ยังไม่นับที่พระนางเป็นชาวเยอรมัน และใคร ๆ ก็รู้ว่ารัชทายาทที่มีพระนามว่าพอล (Paul ในเวลาต่อมามีพระนามว่า Paul ที่ 1 แห่งรัสเซีย) ไม่ได้มีเลือดของราชวงศ์โรมานอฟจริงๆ ทำให้การปกครองของแคทเธอรีนถูกท้าทายอยู่หลายครั้ง
1
แต่แคทเธอรีนเป็นคนฉลาด มีความรู้กว้างขวางจากการเป็นคนชอบอ่าน ซึ่งก็รวมไปถึงการอ่านแนวคิดใหม่ ๆ จากนักคิดชาวฝรั่งเศสทั้งหลายด้วย หลายครั้งยังเชิญวอลแตร์และดิเดอโรมารัสเซียเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความมคิด รวมถึงตอนที่ดิเดอโรมีปัญหาด้านการเงิน พระนางก็ให้การช่วยเหลือด้วยการขอซื้อห้องสมุดทั้งหมดของดิเดอโรต์ แต่ฝากหนังสือทั้งหมดไว้กับดิเดอโรต์แล้วให้ค่าจ้างแก่ดิเดอโรต์ในฐานะของการเป็นบรรณารักษ์ดูแลห้องสมุดนั้น
1
นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้พระนางต้องการที่จะปฏิรูปรัสเซียให้มีความเป็นตะวันตกมากยิ่งขึ้น
แคทเธอรีน ทดลองปฎิรูปหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ในปีค.ศ. 1767 ก็ให้มีการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อให้มีความเรียบง่ายและสมเหตุสมผลมากขึ้น โดยคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิรูป คัดเลือกมาจากประชาชนโดยที่ไม่ต้องเป็นลูกหลานของชนชั้นปกครองอย่างที่เคยเป็นมา
พระนางยังให้มีการจัดตั้งโรงเรียน สนับสนุนเสรีภาพของสื่อ ส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์หนังสือและบทความต่างๆ เพิ่มขึ้น
แต่การปฏิรูปต่างๆก็หยุดชะงักลง
ในปีค.ศ. 1774 เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติของชนชั้นชาวนาที่มีชื่อว่าการปฏิวัติพูกาเชฟ หรือ Pugachev’s peasant rebellion นำโดย Yemelyan Ivanovich Paguchev (อิมีเลียน อิวาโนวิช พูกาเชฟ) ซึ่งการปฏิวัตินั้นพระนางแคทเธอรีนก็สั่งให้ปราบลงอย่างราบคาบด้วยความรุนแรง
และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะหลังเหตุการณ์นั้น พระนางก็เปลี่ยนพระทัย แล้วหันกลับมาปกครองแบบเด็ดขาดอีกครั้ง คือกลับมาควบคุมประชาชนอย่างเข้มงวด มีการดึงอำนาจต่างๆกลับเข้าสู่สถาบันกษัตริย์และชนชั้น aristocrat เช่นที่เคยเป็น
โดยสรุป การปฏิรูปจึงไม่มีอะไรที่จับต้องได้มากนัก เพราะแม้ว่าแคทเธอรีนจะสนใจแนวคิดการบริหารรัฐในแบบใหม่ๆ
แม้ว่าจะส่งเสริมและพูดคุยกับนักคิดมากมายหลายคน แต่สุดท้ายเมื่ออำนาจของผู้ปกครองถูกท้าทาย พระนางก็เลือกที่จะยกเลิกการปฏิรูปต่างๆ
การปฏิรูปจากบนลงล่างในรัสเซียจึงล้มเหลงลงไปง่ายๆ
ในตอนหน้าเรามาดูกรณีของการปฏิรูปในปรัสเซีย
โดยพระเจ้า เฟรเดอริกที่ 2 กันบ้างนะครับ
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา