6 ธ.ค. 2020 เวลา 12:17 • ประวัติศาสตร์
เมื่อกษัตริย์เป็นผู้นำการปฏิรูป (Enlightened Despotism) ตอนที่ 2
5
เฟรเดอริกในวัยหนุ่มเป็นเจ้าชายที่หล่อ รูปร่างสูงใหญ่ ผมหยักศกเป็นลอนยาวลงมาประบ่า ดูน่าเกรงขาม นอกเหนือจากรูปร่างหน้าตาแล้ว ยังเป็นเจ้าชายที่ฉลาดมาก เก่งรอบด้าน จนถือได้ว่าเป็นอัจฉริยะคนนึง
แต่ในวัยชราเฟรเดอริค กลายเป็นชายแก่ที่ดุร้าย สกปรก ไม่ชอบเปลี่ยนเสื้อผ้า ไม่มีฟัน ไม่มีมารยาท กินมูมมาม และชอบแย่งคนอื่นพูด จนไม่มีใครอยากร่วมโต๊ะอาหารด้วย
สิ่งที่ทำให้พระองค์เปลี่ยนไปมากในช่วงสี่สิบกว่าปีที่ครองราชย์ คือ การทรงงานหนัก ตื่นตี 4 หรือตี 5 เกือบทุกวัน ตัดสินใจและควบคุมเรื่องทุกอย่างเองแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ
ชีวิตในวัยเด็กของเฟรเดอริกค่อนข้างจะขมขื่น เพราะพระบิดาทรงเป็นกษัตริย์นักการทหาร ที่เข้มงวด อารมณ์รุนแรงมาก และด้วยความที่เฟรเดอริกเป็นชายหนุ่มที่รักศิลปะ รักดนตรี รักภาษา รักการอ่านหนังสือปรัชญา และรักร่วมเพศ ซึ่งลักษณะทั้งหลายนี้แทบจะตรงข้ามกับพระราชบิดาทุกอย่าง เขาจึงถูกตบตีและทำให้อับอายต่อหน้าคนอื่นหลายครั้ง
1
เหตุการณ์หนึ่งที่น่าจะรุนแรงและทำร้ายจิตใจเฟรเดอริกมากที่สุดคือ เมื่อเฟรเดอริกพยายามจะชวนเพื่อนชายซึ่งเป็นคู่รักให้หลบหนีไปอังกฤษด้วยกัน แต่โดนจับได้เสียก่อน ทั้งคู่จึงถูกลงโทษประหารชีวิต โดยเฟรเดอริกถูกบังคับให้ต้องดูคนรักโดนตัดหัวต่อหน้าต่อตา
6
ในเวลาต่อเมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ เฟรเดอริกก็แสดงความเป็นอัจฉริยะทางด้านต่างๆให้เห็น เริ่มจากการเป็นนักการทหารนักกลยุทธ์ที่เก่งกาจ นำทัพไปรบชนะในสมรภูมิสำคัญหลายครั้ง รบชนะแม้แต่กับประเทศที่ใหญ่และมีกำลังทัพที่มากกว่า จนปรัสเซียขึ้นมาเป็น 1 ใน 5 มหาอำนาจทางการทหารของยุโรป
เฟรเดอริกถือได้ว่าเป็น philosopher king ที่นักปรัชญาหลายคนเคยฝันถึง เพราะนอกจากการเป็นนักการทหารที่เก่งแล้ว ยังเก่งเรื่องการฑูตระหว่างประเทศ และการเมืองภายในประเทศอีกด้วย
1
พระองค์เคยประกาศว่า “พระองค์เป็นคนรับใช้คนที่ 1 ของรัฐ” ซึ่งประโยคนี้เป็นการแสดงเจตนาค้านแนวคิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ผู้เคยตรัสว่า “ตัวข้าพเจ้าคือรัฐ” เพราะพระองค์เชื่อว่าหน้าที่สำคัญของผู้ปกครองคือ ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น
2
นอกจากนั้นพระองค์เคยเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อโต้แย้งแนวคิดของหนังสือชื่อ The Prince ของ มาเคียเวลเลียน (Machiavelli ถ้าไม่รู้จักไม่เป็นไรครับ มีโอกาสผมจะเล่าให้ฟัง) ที่บอกว่าเจ้าผู้ปกครองรัฐต้องพยายามคงอำนาจสูงสุดไว้ด้วยวิธีการใดก็ได้
แต่เฟรเดอริกที่ 2 เดอะเกรท ไม่ได้เห็นด้วย จึงเขียนหนังสือออกมาโต้แย้ง ว่าผู้ปกครองที่ดีไม่ใช่แค่ทำให้ตนเองมีอำนาจหรือว่าสร้างความกลัวให้ผู้คนได้มากที่สุด แต่ผู้ปกครองมีหน้าที่ดูแลผู้อยู่ใต้การปกครองให้มีชีวิตที่ดี
4
อย่างไรก็ตามเฟรเดอริกก็เชื่อว่าพระองค์จำเป็นต้องมีอำนาจสูงสุดเพื่อที่จะปฏิรูปทุกอย่างให้เป็นไปตามต้องการ
ในแง่การปฏิรูปพระเจ้าเฟรเดอริกก็ให้มีการเปลี่ยนแปลงและริ่เริ่มหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น สั่งให้มีการ ปฏิรูปกฎหมายของปรัสเซียให้มีความเรียบง่ายและมีเหตุผลมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่มาใช้ในการกสิกรรม
1
ทรงให้ปฏิรูปการศึกษาให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
มีการออกนโยบายที่ดึงผู้อพยพต่างชาติให้อยากมาทำงานและอยากเป็นชาวปรัสเซีย
1
แต่ก็มีหลายอย่างที่เฟรเดอริกทำซึ่งถือว่าไม่สมเหตุสมผลในสายตาของเหล่าฟิโลโซฟส์ เช่น เฟรเดริกยังคงเชื่อในการทำสงครามเพื่อขยายดินแดนเป็นเรื่องสำคัญ
เชื่อว่าชนชั้นขุนนางมีเกียรติและศักดิ์ศรีมากกว่าชาวบ้านทั่วไปดังนั้น คนที่จะรับตำแหน่งใหญ่ ๆ ในกองทัพได้มีแต่ชนชั้นระดับขุนนางขึ้นไปเท่านั้น
ถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายท่านน่าจะรู้สึกว่ายุคสมัยของพระองค์มีความลงตัวเป็นอย่างมาก เพราะอำนาจสมบูรณ์มาอยู่ในมือของผู้นำที่เก่งขนาดเรียกได้ว่าอัจฉริยะ ก็น่าจะนำพาปรัสเซียให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอยากมาก
ซึ่งก็เป็นจริงดังนั้น เพราะในยุคสมัยของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 ปรัสเซียเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านการทหาร เศรษฐกิจและสังคม
1
แต่อำนาจสมบูรณ์แบบ หรือ absolute power ก็เผยจุดอ่อนออกมาให้เห็นด้วยเช่นกัน
เพราะแม้ว่าเฟรเดอริกจะถือว่าฉลาดในระดับอัจฉริยะ แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ดีในทุกๆเรื่องได้ คือ รู้ไม่เท่าผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา
3
แต่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญถือได้ว่าเป็นอำนาจแบบหนึ่ง คือ ทำให้คนอื่นต้องฟัง ต้องทำตาม (เหมือนที่คนส่วนใหญ่ถ้าไม่มีความรู้ด้านนั้นก็ไม่อยากจะไปเถียงกับหมอ ทนาย หรือ ช่างซ่อมรถยนต์)
และเพื่อที่จะกุมอำนาจไว้อย่างสมบูรณ์แบบ เฟรเดอริกจึงไม่สามารถที่จะปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญมาตัดสินใจแทนได้
นอกเหนือไปจากนั้น ด้วยระบบที่อำนาจทั้งหมดอยู่ที่คนๆเดียว ดังนั้น อารมณ์ของคนๆนั้นจึงมีผลต่อชีวิตคนอื่นๆได้ง่าย ซึ่งอาจจะหมายถึง ชีวิต หรือความเจริญก้าวหน้า ดังนั้นใครก็ตามที่ทำงานใกล้ชิดก็อยากให้ผู้มีอำนาจสมบูรณ์คนนั้นพอใจ อยากจะนำเสนอแต่เรื่องดีๆ จึงอดไม่ได้ที่จะโกหก และเมื่อคนๆหนึ่งโกหก คนอื่นๆก็จะโกหกตาม
ด้วยเหตุนี้ การโกหกจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกฝังอยู่ในระบอบการปกครองแบบนี้
1
ดังนั้นต่อให้ผู้นำเก่งแค่ไหน แต่ถ้าต้องตัดสินใจบนข้อมูลที่ผิด ก็ไม่สามารถบริหารประเทศให้ดีได้
6
อีกประการคือ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ในทางปฏิบัติมันทำได้ยาก เพราะเมื่อการตัดสินใจทุกอย่างทำจากคนๆเดียว ผู้ปกครองจึงต้องมีที่ปรึกษา แต่เมื่อมีที่ปรึกษาก็ยากจะรู้ได้ว่า ที่ปรึกษานั้นเป่าหูหรือเปล่า หรือให้คำปรึกษาที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องหรือเปล่า
3
ด้วยเหตุนี้ เฟรเดอริกจึงไม่ให้มีที่ปรึกษา ไม่มีคณะกรรมการ และไม่เชื่อคนอื่นเลย
อย่างไรก็ตามด้วยความที่เฟรเดอริกเป็นคนที่เก่งผิดคนธรรมดาทั่วไป พระองค์จึงสามารถที่จะบริหารประเทศจนเจริญรุ่งเรืองได้ แต่จุดอ่อนที่สำคัญที่สุด ของระบอบการปกครองแบบนี้คือ
อัจฉริยะเจเนอเรชั่นหนึ่ง ใช่ว่าจะมีผู้สืบทอดที่เป็นอัจฉริยะตามมา
2
เฟรเดอริกก็เช่นกัน ด้วยความที่เฟรเดอริกรักเพศเดียวกัน พระองค์จึงไม่มีทายาทมารับช่วงต่อ ตำแหน่งรัชทายาทจึงตกไปสู่ หลานชายซึ่งแม้ว่าจะเป็นนักดนตรีที่เก่ง แต่ไม่ใช่ผู้นำที่ดี
3
ปรัสเซียที่เคยแข็งแกร่งทั้งด้านการทหาร การเมือง และเศรษฐกิจ จึงอ่อนแอลงในรัชสมัยต่อมา การปฏิรูปต่างๆที่เคยเกิดขึ้นในยุคสมัยของ เฟรเดอริก the great ก็ถูกละเลยจนเสื่อมหรือสลายลงไปมากมาย
1
โดยสรุปแม้ว่าในขณะที่มีชีวิตอยู่ การปฏิรูปที่เฟรเดอริกริ่เริ่มไว้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จมากมาย แต่ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช และการส่งต่ออำนาจให้กับสายเลือด ก็เป็นจุดอ่อนที่ทำให้การปฏิรูปต้องเสื่อมสลายลงไป
คำถามคือ มีกษัตริย์พระองค์ไหนไหมที่พร้อมจะปฏิรูปอย่างจริงจัง โดยไม่หวงอำนาจหรือผลกระทบที่จะมีต่อสถาบันกษัตริย์มากนัก ?
คำตอบคือมีครับ เขาคือ Joseph ที่ 2 แห่งออสเตรีย 

เราจะมาคุยถึงพระองค์กันในตอนหน้าครับ
1
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา