7 ธ.ค. 2020 เวลา 12:32 • ประวัติศาสตร์
เมื่อกษัตริย์เป็นผู้นำการปฏิรูป (Enlightened Despotism)
ตอนที่ 3 (สุดท้าย)
1
สำหรับท่านใดที่ต้องการย้อนอ่านตอนก่อนหน้านี้
แอดมินทำสารบัญเอาไว้ สามารถตามอ่านกันได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลยนะคะ
⭐️ยุคเรืองปัญญา (The Enlightenment)
📍ตอนที่ 1 : https://bit.ly/33Prtwh
📍ตอนที่ 2 : https://bit.ly/3qvRuKC
📍ตอนที่ 3 : https://bit.ly/39TSVNf
📍ตอนที่ 4 : https://bit.ly/2IjIkzy
📍Age of Enlightenment : https://bit.ly/3orNXew
⭐️เมื่อกษัตริย์เป็นผู้นำการปฏิรูป (Englightened Despotism)
📍ตอนที่ 1 : https://bit.ly/33PrFM1
📍ตอนที่ 2 : https://bit.ly/2L8vRQd
..........................................................................
1
โจเซฟที่ 2 (Joseph II) แห่งออสเตรียคือกษัตริย์นักปฏิรูปคนตามแนวคิดของ Enlightenment ที่สามและคนสุดท้ายที่เราจะพูดถึง
ถ้าเทียบกับพระนาง Catherine the great แห่งรัสเซีย และ Frederick the great แห่งปรัสเซีย แล้ว Joseph ที่ 2 คือ คนที่ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศมากที่สุด
แต่ถ้าเทียบกันทั้งสามคน พระองค์ก็อาจจะถือได้ว่า ล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเช่นกัน
2
และจะเป็นอีกครั้งที่ความพยายามจะปฏิรูปประเทศจากบนลงล่างหรือจากกษัตริย์ลงสู่ประชาชนจะล้มเหลว
ในตอนนี้ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของ Enlightened Despotism เราจะไปดูกันว่า ทำไมพระเจ้าโจเซฟที่ 2 จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศตามแนวคิดของ Enlightenment ได้
แต่ก่อนอื่น เราคงต้องปูพื้นเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของออสเตรียและ Holy Romane Empire หรือจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์กันก่อนสักเล็กน้อยครับ
..........................................................................
2
โจเซพที่ 2 เป็นโอรสองค์โตของพระนางมาเรีย เทเรซ่า (Maria Theresa) และจักรพรรดิ์ Francis ที่ 1 แห่ง Holy Roman Empire
โจเซฟเติบโตมาท่ามกลางแนวคิดใหม่ของนักคิดยุคเรืองปัญญา อ่านหนังสือของนักคิดชาวอังกฤษและฝรั่งเศสหลายคนแล้วเห็นคล้อยตาม แต่ถ้าจะว่าไปแล้วพระองค์ไม่ใช่คนเดียวที่คิดเช่นนั้น ก็อย่างที่เราคุ้นเคยกันดีว่า คนเจเนอเรชั่นเดียวกันมักจะมีความคิดคล้าย ๆ กัน และต่างไปจากรุ่นพ่อแม่ คนเจเนอเรชั่นเดียวกับพระองค์ หลายคนก็คิดแบบเดียวกัน ซึ่งก็รวมไปถึง founding father หรือกลุ่มคนที่ร่วมกันก่อตั้งประเทศอเมริกาหลายคน เช่น Thomas Jefferson หรือ John Hancock ด้วย
1
เมื่อจักรพรรดิ์ ฟรานซิส สิ้นพระชนม์ลงอย่างกระทันหัน โจเซฟ ที่ 2 ก็ได้รับเลือกให้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ์ต่อ แต่ด้วยความที่พระนาง เทเรซ่า มีอิทธิพลมาก จึงยังคงตำแหน่งของราชินี และพยายามที่คงอำนาจการปกครองไว้ ช่วงแรกของการครองราชย์ พระองค์จึงไม่มีอำนาจในการปกครองมากนัก อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ทำไม่ได้มากนัก เพราะลูกชายกับแม่มีแนวคิดการปกครองที่ค่อนข้างจะต่างกัน
2
พระนางมาเรีย เทเรซ่า แม้ว่าจะมีแนวคิดปฏิรูปตามแบบ Enlightenment อยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากและไม่ไปไกลเท่าลูกชาย ดังนั้นในช่วงที่ปกครองร่วมกัน จึงมีความคิดหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน
ช่วงเวลานั้นโจเซฟที่ 2 จึงใช้เวลาไปกับการเดินทางไปที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อที่จะไปให้เห็นกับตาว่า ประชาชนในแต่ละพื้นที่มีปัญหาอะไรบ้าง ประเทศที่พระองค์ต้องปกครองมีปัญหาอะไรบ้าง
1
นอกเหนือไปจากนั้น ยังทรงเดินทางไปพบปะกับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งปรัสเซีย ซึ่งเป็นไอดอลของพระองค์ด้วย เพราะในเวลานั้นเฟรเดอริกถือได้ว่าเป็นกษัตริย์ที่พยายามปฏิรูปประเทศตามแนวคิดใหม่ของฟิโลโซฟ์มากที่สุด
ที่น่าสนใจคือ ขณะนั้นออสเตรียและปรัสเซีย ถือว่าเป็นศตรูที่สำคัญต่อกัน โดยทั้งสองประเทศรบกันมาตลอด ทำให้พระนางมาเรีย เทเรซ่า เกลียดเฟรเดอริกที่ 2 มาก แต่สำหรับโจเซฟแล้ว เฟรเดอริกที่ 2 คือไอดอล แม้แต่เมื่อพระองค์มีอำนาจปกครองประเทศเต็มที่แล้ว ทั้งสองประเทศก็ยังทำสงครามกันอยู่ แต่ในแง่ส่วนตัวทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
1
Holy Roman Empire เป็นประเทศที่เกิดจากการรวบรวมดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างหลวมๆ ทำให้ มีความหลากหลายสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นคนที่เชื้อชาติต่างกัน พูดภาษาต่างกัน มีวัฒนธรรมต่างกัน นับถือศาสนาต่างกัน มีผู้ปกครองท้องถิ่นที่ไม่ต้องการขึ้นต่อราชวงศ์ Hapsburg ของพระองค์มากมาย
โจเซฟมองว่า Holy Roman Empire เป็นรัฐที่เต็มไปด้วยความไม่สมเหตุสมผล มีกฎเกณฑ์ที่สับสน ซ้ำซ้อน หลายครั้งกฎที่ใช้ยังยึดถือกับความเชื่อแบบโบราณ และเพราะความหลากหลายที่มากเกินไปยังทำให้การทำงานของรัฐไม่มีประสิทธิภาพ
แล้วในที่สุด โอกาสที่พระองค์เฝ้ารอคอยก็มาถึง
เมื่อพระนางมาเรีย เทเรซ่า เสด็จสวรรณคต พระเจ้าโจเซฟก็มีอำนาจในการปกครองเต็มที่ การปฏิรูปจึงเริ่มต้นขึ้น
1
..........................................................................
3
อาจจะเพราะรอมานาน เมื่อมีโอกาสพระเจ้าโจเซฟจึงเริ่มการปฏิรูปมากมายอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กัน
เนื่องจากการปฏิรูปที่พระเจ้าโจเซฟริเริ่มมีเยอะมาก ผมเลยจะขอสรุปแค่บางส่วนคร่าวๆ ให้ฟังเพื่อจะได้นึกภาพออกนะครับ
แล้วเดี๋ยวเราจะได้เห็นกันว่า ทำไมความพยายามปฏิรูปของพระองค์จึงล้มเหลว
อย่างแรกสุดเลยก็คือเรื่องของกองทัพ นึกภาพยุโรปยุคกลางนะครับ คนที่เป็นผู้นำออกไปรบมักจะเป็นอัศวินทั้งหลาย เป็นขุนนาง ต่อมาเมื่อกองทัพมีความทันสมัยมากขึ้น นายทหารใหญ่ ๆ ตำแหน่งสูง ๆ ก็ยังเป็นชนชั้นสูงเช่นเดิม เหมือนอย่างที่ตอนเรื่องคุยเรื่องตอนเฟรดเดอริค ที่ 2 ของปรัสเซีย ซึ่งเชื่อว่าคนที่จะเป็นระดับนายพล เป็นคนนำทัพได้ต้องเป็นขุนนางเท่านั้น
แต่ว่าโจเซฟที่ 2 ไม่เห็นด้วย จึงปฏิรูปกองทัพให้คนทั่วไปสามารถไต่เต้าขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพได้ โดยทั้งหมดวัดกันที่ความสามารถ ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการเปิดโอกาให้ ชาวบ้านธรรมดาสามารถไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจได้
อย่างที่ 2 ที่ปฏิรูป ก็คือเรื่องของกฎหมาย คือให้มีความทันสมัยมากขึ้น แยกกฎของรัฐออกจากศาสนาให้ชัดเจนขึ้น
1
ในยุโรปยุคกลางหลายครั้งกฎหมายของรัฐนอกจากจะไม่มีความชัดเจนแล้ว ยังเกี่ยวโยงกับคำสอนทางศาสนาค่อนข้างมาก เช่น จะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการจับคนที่สงสัยว่าจะเป็นแม่มดไปเผา ถ้าใครวิจารณ์ศาสนา วิจารณ์พระเยซูก็จะโดนรัฐลงโทษได้
1
โจเซฟปฏิรูปให้กฎหมายมีความเรียบง่ายขึ้น เขียนออกมาชัดเจน จนใครอ่านก็รู้ได้ง่ายว่าถ้าทำผิดแบบนี้ จะต้องโดนลงโทษอะไร ไม่ใช่เขียนไว้งงๆ ถึงเวลาจริง จะลงโทษใครตามอำเภอใจก็ได้ และที่สำคัญคือทุกคนจะโดนลงโทษเหมือนกันหมด คือ อยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
2
เดิมขุนนางที่ทำผิดอาจจะไม่โดนลงโทษอะไรเลย แต่ชาวบ้านทำผิดแบบเดียวกันอาจจะโดนจับขัง แต่กฎหมายใหม่ คือไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม ต่างก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอย่างเท่าเทียม
4
การปฏิรูปที่สำคัญอีกอย่างคือ การยกเลิก โทษประหารชีวิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศแรก ของยุโรปที่มีกฎหมายเช่นนี้
2
อย่างที่ 3 คือการปฏิรูปทาง สังคม ที่เด่น ๆ ก็คงเป็นเรื่องของยกเลิกระบบไพร่ ยกเลิกทาสติดที่ดิน ทำให้ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของที่ดิน ทุกคนสามารถย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยได้ตามความพอใจ (เดิมถ้าเป็น serf ไม่สามารถจะย้ายถิ่นตามอำเภอใจได้)
4
ในยุโรปยุคกลาง เวลาใครจะแต่งงานหรือตาย จะต้องไปที่วัด (โบสถ์) แล้วทางโบสถ์จะเป็นคนลงบันทึกว่าใครเกิด ใครแต่งงาน ใครตาย คือ รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่ง
แต่โจเซฟ สั่งให้ย้ายการดูแลเรื่องราวเหล่านี้มาที่รัฐ เหมือนที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน คือแจ้งเกิด แจ้งสมรส แจ้งตาย เราต้องไปที่เขตเพื่อแจ้งให้รัฐรู้
1
การปฏิรูปเหล่านี้ฟังดูเผิน ๆ มันฟังดูเหมือนแค่เปลี่ยนคนดูแล แต่จริงๆ แล้วมันมีผลให้อำนาจของสถาบันทางศาสนาลดลง เพราะนักบวชจะไม่ได้เข้ามามีอำนาจในการตัดสินว่าใครจะแต่งงาน ใครจะหย่า อีกต่อไป นอกไปจากนี้ สถาบันศาสนายังขาดรายได้จากกิจกรรมเหล่านี้ไปอีกมาก ซึ่งก็แน่นอนว่าทางสถาบันศาสนาย่อมไม่พอใจ
2
4
ในทางเศรษฐกิจ โจเซพที่ 2 ก็ให้มีการปฏิรูปหลายอย่าง เช่น การให้สามารถปล่อยกู้และคิดดอกเบี้ยเป็นเรื่องถูกกฎหมาย
คืออย่างนี้ครับ เดิมทีเดียว ประเทศคาทอลิก ทั้งหลายจะมองว่าการปล่อยกู้แล้วคิดดอกเบี้ยเป็นบาป ดังนั้นชาวคาทอลิกจึงปล่อยกู้คิดดอกไม่ได้ มีแต่ชาวยิวเท่านั้นที่ทำเช่นนี้ได้ การที่โจเซพที่ 2 ออกกฎให้กู้ยืมและคิดดอกเบี้ยได้ จึงทำให้ระบบธนาคารเติบโตขึ้น เมื่อธนาคารปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น คนก็สามารถลงทุนสร้างธุรกิจได้ง่ายขึ้น เศรษฐกิจและการค้าจึงเติบโตขึ้นมาก
3
การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่าง ก็คือเรื่องของภาษี คือสมัยยุโรปยุคกลาง ขุนนางทั้งหลายจะมีอภิสิทธิ์ที่ไม่ต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐ ซึ่งฟังดูแล้วก็แปลก เพราะเหมือนกับว่าคนที่รวยที่สุดของประเทศไม่ต้องจ่ายภาษี แต่พระเจ้าโจเซฟ ก็ออกกฎหมายว่า ทุกคนที่เป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือชาวบ้านก็ตาม จะต้องจ่ายภาษี
4
เมื่อรัฐมีรายได้มากขึ้น ก็นำเงินนี้ไปสร้างสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือคนยากจน โจเซฟมองว่า คนที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นไพร่ หรือทาสติดที่ดิน หลายคนพอเป็นอิสระแล้ว ไม่สามารถตั้งตัวได้ แม้ว่าจะมีการพยายามจัดสรรที่ดินให้บ้าง
ซึ่งในยุโรปสมัยก่อนนั้นคนที่จนมาก ๆ ก็คืออดตาย ไม่มีทางเลือกอื่น แต่พระองค์มองว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้องดูแลประชาชน ดังนั้นคนที่ยากจนไม่ควรถูกทอดทิ้งจึงให้มีการตั้งหน่วยงานของรัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่คนที่ยากจนเหล่านี้ เช่น มีอาหารให้กิน มีที่พักให้นอนหลบหนาวชั่วคราว
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ช่วยเหลือ คนพิการ คนปัญญาอ่อน และให้มีการสร้างโรงพยาบาลรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปยามเจ็บป่วย
6
5
ในแง่ของการปฏิรูปทางศาสนา ก็ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ใครอยากจะนับถือศาสนาอะไรก็ได้ และไม่ใช่แค่นับถือศาสนาอะไรก็ได้โดยไม่โดนลงโทษ แต่จะไม่โดนกีดกันในการประกอบอาชีพด้วย ทำให้ในยุคของพระองค์ข้าราชการตำแหน่งสูงๆ บางคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ หรือเป็นชาวยิงก็ยังมี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่มาก
นอกจากนี้พระองค์ยังให้มีการปฏิรูปการศึกษาด้วย คือ ให้ที่ดินสำหรับไปสร้างมหาวิทยาลัย ออกกฎว่าที่ชุมชนไหนมีเด็กมากกว่าร้อยคนจะต้องมีการสร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อให้เด็กได้เรียนหนังสือ และยังมีการออกกฎหมายการศึกษาพื้นฐานคือ เด็กทุกคนจะต้องเรียนหนังสือ โดยกำหนดหลักสูตรให้โรงเรียนต้องสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางโลก คือ นำไปประกอบอาชีพได้ ไม่ใช่วิชาที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาอย่างที่ทำกันในอดีต
3
การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างที่สำคัญมาก และจะเป็นผลเสียอย่างไม่ตั้งใจคือการให้ประชาชนทุกคนเรียนที่จะพูดภาษาเยอรมัน
เนื่องจากประชาชนในดินแดนของพระองค์เวลานั้นมีความหลากหลายมาก คือมีทั้ง ชาวฮังการี ชาวโครแอต ชาวเซิร์ป ชาวเยอรมัน ชาวเช็ค พระองค์จึงเชื่อว่า ถ้าทุกคนพูดภาษาเยอรมันได้ จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงให้มีการบังคับเรียนภาษาเยอรมันทั่วประเทศ
ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างให้เห็นนี้ฟังดูดีมาก ใช่ไหมครับ ?
1
แต่มันดูดีแค่บนกระดาษเท่านั้น ...
3
6
โจเซฟ เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยไฟ และพลังมหาศาล ในช่วงสิบปีที่พระองค์มีอำนาจปกครอง พระองค์ออกกฎหมายมามากกว่า 6,000 ข้อ
1
คือเรียกว่า พยายามจะเปลี่ยนแปลงในทุกๆอย่างที่เป็นไปได้
ในความเป็นจริงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในเวลาสั้นๆไม่กี่ปี มันมากเกินไป มากจนไม่มีใครอ่านกฎใหม่ได้ครบ และแน่นอนว่า ไม่มีใครทำตามได้ทั้งหมด
1
การเปลี่ยนแปลงยังมีผลกระทบต่อคนที่เสียประโยชน์หรือเสียอำนาจมากมาย โดยเฉพาะขุนนางเก่า ผู้ปกครองท้องถิ่น และสถาบันศาสนา ทำให้มีกลุ่มคนที่พยายามต่อต้านเกิดขึ้นมากมาย
.
.
การพยายามสอนภาษาเยอรมันทั่วประเทศ ยังมีผลเสียที่คาดไม่ถึง คือ ทำให้คนในหลายท้องที่ รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียอัตลักษณ์ไป จึงกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของชาตินิยมโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมีผลเสียเกิดขึ้นต่อมาในภายหลัง
1
ความเป็น enlightened despotism ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญหลายประการ เช่น ตำแหน่งกษัตริย์เอง จริง ๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล เพราะโจเซฟได้ขึ้นมาปกครองไม่ใช่เพราะเป็นคนเก่ง ไม่ใช่เพราะได้รับการคัดเลือกมากจากคนส่วนใหญ่ที่อยู่ภายใต้การปกครอง แต่แค่บังเอิญเกิดมาในตระกูลกษัตริย์ จึงได้ขึ้นมาปกครอง
2
อย่างที่สองคือ ในการปฏิรูปเพื่อประชาชน มีผลให้ขุนนาง ผู้นำทางศาสนา เจ้าผู้ปกครองท้องถิ่นต่าง ๆ เสียอำนาจไป แต่กษัตริย์เองกลับไม่ได้มีอำนาจหรือสถานะที่ลดน้อยลง ทำให้คนในระบอบเก่าทั้งหมดมองว่าไม่ยุติธรรม และไม่สมเหตุสมผล
2
อย่างที่สาม ซึ่งน่าจะสำคัญที่สุดคือ โจเซฟ ต้องการรัฐและการปกครองที่สมเหตุสมผล แต่สิ่งที่พระองค์ทำคือ การใช้อำนาจของจักรพรรดิ์บังคับให้คนนับล้านต้องเปลี่ยนแปลง ไปตามที่พระองค์เห็นว่าสมควร โดยไม่ได้สนใจว่าประชาชนต้องการจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
2
สุดท้ายเลยกลายเป็นว่า ยิ่งปฏิรูปก็ยิ่งสร้างศตรูมากขึ้น จนถึงจุดที่พระองค์ต้องตั้งหน่วยตำรวจลับขึ้นมาสอดส่อง และหาทางกำจัดศตรูการเมือง
1
ในที่สุดหลังจาก ตรากตรำกับงานที่หนัก และแรงต้านที่มากมาย ได้แค่ 10 ปี ร่างกายของพระองค์ก็ทนไม่ไหว จึงล้มป่วยและเสด็จสวรรคตลงในเวลาต่อมา
2
ก่อนที่จะจากโลกนี้ไปพระองค์รู้ดีว่า เมื่อจากไปแล้ว สิ่งต่างๆที่ริเริ่มไว้ ก็คงถูกเหล่าคนที่ไม่เห็นด้วยยกเลิกไป
ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตจึงเสนอให้เขียนบนป้ายหลุมฝังของพระองค์ไว้ว่า
นี่คือที่ฝังพระศพของโจเซฟที่ 2 ผู้ซึ่งล้มเหลวในทุกสิ่งที่เขาพยายามจะทำ
5
แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อพระองค์จากไป หลายอย่างที่เคยริเริ่มไว้ก็ถูกยกเลิกไป
1
การปฏิรูปของโจเฟซที่ 2 จึงเป็นอีกเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ความหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปตามแนวคิดของ Entlightenment เกิดจากผู้นำระดับกษัตริย์ คงจะเป็นไปได้ยาก
2
ระบอบโบราณที่เรียกว่า ancien regime ไม่สามารถจะถูกโค่นล้มได้ง่าย ๆ
ทางเลือกอื่นที่เหลืออยู่ตอนนี้จึงมีทางเดียว นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงจากด้านล่างขึ้นไปเพื่อล้มด้านบนลง
2
นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า การปฏิวัติประชาชน
2
อีกไม่นานนัก การปฏิวัติแบบที่ว่าจะเกิดขึ้นในอเมริกา และนำไปสู่การเกิดประเทศใหม่ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และการปฏิวัติของฝรั่งเศส ที่นำไปสู่การฆ่ากันเองของประชาชน
1
ซึ่งเราจะได้เห็นกันในตอนต่อ ๆ ไปครับ
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา