12 ธ.ค. 2020 เวลา 09:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ
ซึมเศร้า...เล่าได้
ผู้เขียน : หลินอวี๋เหิง,ไป๋หลิน
ผู้แปล : อังค์วรา กุลวรรณวิจิตร
การเดินทางของ "ฉัน" กับ "ตัวเศร้าซึม" ที่จะพาคุณไปรู้จักและเข้าใจ "โรคซึมเศร้า" หนังสือโรคซึมเศร้าที่มีเนื้อหาเข้มขน อ่อนโยน ปลอบประโลมใจ และเป็นมิตรที่สุด
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๐
ตัวเศร้าซึม คืออะไร?
ตัวเศร้าซึม คืออีกร่างหนึ่งของโรคซึมเศร้า ตอนที่เราเผลอมันจะเข้ามายุ่งวุ่นวายกับชีวิต ทำให้ชีวิตของเรายุ่งเหยิง ไร้ระเบียบ
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๑
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๒
ประวัติของตัวเศร้าซึม
4000 ปีก่อนคริสตกาล
มีบันทึกเกี่ยวกับตัวเศร้าซึมบนแผ่นหินตั้งแต่สมัยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
400 ปีก่อนคริสตกาล
ฮิปโปคราติส แพทย์ชาวกรีกโบราณ เคยพูดถึงอีกชื่อหนึ่งของตัวเศร้าซึม Melancholia
ค.ศ. 30
คอร์เนลีอุส เคลซุส ชาวโรมันมองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงคือ น้ำดีสีดำ
ศตวรรษที่ 12
ไมมอนิดีส แพทย์ชาวยิว จัดให้ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคชนิดหนึ่ง
1
ศตวรรษที่ 19
ชื่อของตัวเศร้าซึม ถูกเปลี่ยนจาก "ภาวะซึมเศร้ารุนแรง" เป็น "โรคซึมเศร้า" หรือ "Depression"
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๓
อคติที่มีต่อโรคซึมเศร้า
คนทั่วไปอาจมองว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรค อิทธิพลจากสื่อทำให้คนมองว่าผู้ป่วยคิดมากเกินไป มีนิสัยเกียจคร้าน อันตราย และชอบคิดฆ่าตัวตาย ต้องโทษคำว่า "ซึมเศร้า" เพราะมันทำให้คนมองข้ามและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้
1
<อธิบายอย่างนี้นะ>"โรคซึมเศร้า" นั้นจะมี "ตัวเศร้าซึม" เป็นตัวก่อกวนบงการสร้างความวุ่นวาย
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๔
คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับ 5 DSM-5 (อเมริกา)
ระบุถึง 9 อาการสำคัญของโรคซึมเศร้า
ถ้าพบอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 5 อาการขึ้นไป +
โดยมีอาการที่ 1 หรือ 2 ร่วมด้วย + ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
= แปลว่า คุณอาจถูกตัวเศร้าซึมป่วนเข้าให้แล้ว
อาการที่ 1 รู้สึกเศร้าหมองเกือบตลอดทั้งวัน
อาการที่ 2 ขาดความสนใจเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
อาการที่ 3 น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อาการที่ 4 นอนไม่หลับ
อาการที่ 5 รู้สึกตื่นเต้นหรือเอื่อยเฉื่อยมากเกินไป
อาการที่ 6 รู้สึกเหนื่อยล้าหรือไม่มีแรง
อาการที่ 7 รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินไป
อาการที่ 8 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการจดจ่อลดน้อยลงหรือเกิดความลังเลใจได้ง่าย
อาการที่ 9 คิดถึงความตายซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตายจนถึงขั้นวางแผนฆ่าตัวตาย
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๕
ตัวเศร้าซึมชอบโจมตีคนประเภทไหน?
+ คนที่มีสมาชิกในบ้านเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง
+ เพศหญิง
+ คนที่มีความรับผิดชอบสูงและรักความสมบูรณ์แบบ
+ พนักงานที่ได้รับแรงกดดันสูง
+ คนที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมมืด ชื้น และหนาวเย็น
+ คนที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและสูญเสีย
+คนที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้ยาในทางที่ผิด
+ คนที่ติดโทรศัพท์มือถือ
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๖
วิธีรักษาโรคซึมเศร้าทั่วไป
1 การพักผ่อน ตัวเศร้าซึม รำคาญคนที่ตั้งใจพักผ่อนอย่างดี
2 การบำบัดรักษาทางจิตใจ ตัวเศร้าซึม ไม่ชอบให้เจ้านายพูดคุยเรื่องตนเองและเข้าใจตนเอง
3 การบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า ตัวเศร้าซึม กลัวการรักษาด้วยไฟฟ้า
4 การรักษาด้วยยา ตัวเศร้าซึม ไม่ชอบรสชาติของยา
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๗
นอกจากการพบแพทย์และกินยาแล้วควรปรับตัวอย่างไรอีก?
กฎข้อที่ 1 เข้าใจว่าสาเหตุเป็นเพราะตัวเศร้าซึมไม่ใช่ตัวเราเอง
กฎข้อที่ 2 เผชิญหน้ากับสัญญาณเตือนต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าคุณโดนตัวเศร้าซึมโจมตี
กฎข้อที่ 3 ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น พักผ่อนให้เต็มที่
กฎข้อที่ 4 หยุดคิดว่าทำไมต้องเป็นฉัน
กฎข้อที่ 5 การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องน่าอาย
กฎข้อที่ 6 พักผ่อนตามกฎที่ตั้งไว้
กฎข้อที่ 7 อย่าด่วนตัดสินใจเรื่องสำคัญ
กฎข้อที่ 8 หาประสบการณ์ที่ทำแล้วรู้สึกดี
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๘
โรคจิตคืออะไร?
โรคจิต เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการประสาทหลอน หลงผิด และคิดอย่างไม่มีตรรกะ
โรคประสาทคืออะไร?
โรคประสาท คือโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง แต่ว่าจะไม่มีอาการรุนแรงเท่าโรคจิต
อาการหลักของโรคประสาท คือ อาการวิตกกังวลควบคู่กับอาการซึมเศร้าและผิดปกติทางร่างกาย
ความผิดปกติทางจิตที่ผู้คนมักสับสนกับตัวเศร้าซึม
โรคประสาทต่าง ๆ
โรควิตกกังวลทั่วไป GAD..
อาการกังวลเรื่องต่างๆจนเกินเหตุ ตื่นเต้น และเครียดง่าย มักกังวลเกี่ยวกับเรื่องเล็กๆ ในชีวิตบางครั้งกังวลเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องเป็นพิเศษ แต่ผ่านไปสักพักก็จะเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่นแทนระดับความกังวลมักเกินกว่าความเป็นจริง ยากที่จะควบคุมความกังวล และไม่มีสมาธิจนทำงานไม่ได้
โรคกลัว...
ผู้ป่วยมักกลัวสิ่งของบางอย่างหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มีความกลัวรุนแรงและอธิบายที่มาของความกลัวไม่ได้ ความกลัวรุนแรงและอาจอธิบายที่มาของความกลัวไม่ได้ ถึงแม้จะรู้ว่าตัวเองคงไม่ได้รับอันตรายจากสิ่งของหรือเหตุการณ์นั้นแต่ก็ระงับความกลัวไม่ได้
โรคย้ำคิดย้ำทํา...
มักถูกครอบงำจากความคิดหรือความรู้สึกบางอย่างจนเกิดความหงุดหงิดหรือวิตกกังวลเรียกว่า "การย้ำคิด" นำไปสู่การทำกิจวัตรหรือพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ เพื่อควบคุมความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเรียกว่า "การย้ำทำ"
ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง PTSD...
เป็นโรควิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรงหรือน่ากลัว
"อย่าทำลายชีวิตตัวเองเพื่อคนอื่น หากคุณมีความตั้งใจที่จะเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดในใจ คุณก็จะรู้เองว่าต้องจัดการกับมันอย่างไร"
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๙
สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเศร้าซึมเข้ามาวุ่นวาย
1 ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย
2 ฝึกสมาธิ
3 ทำลายกำแพงความคิด
4 ปรับลดแรงกดดัน
5 ออกไปรับแสงแดดนอกบ้าน
อาหารที่ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเศร้าซึมเข้ามาวุ่นวาย
1 ชีส
2 กล้วย
3 กีวี
4 ปลาซัมมะ
5 หอยกาบ
6 ข้าวกล้อง
7 Dark Chocolate
ถ้าอยากกำจัดตัวเศร้าซึมห้ามกินสิ่งเหล่านี้
1 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2 ชานมไข่มุก และไก่ทอด
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๑๐
ทำลายความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
ความเชื่อที่ 1 โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจริง ๆ
ความเชื่อที่ถูกต้อง โรคซึมเศร้าคือโรคอันตราย
ความเชื่อที่ 2 โรคซึมเศร้าเป็นแค่ความรู้สึกสงสารตัวเอง
ความเชื่อที่ถูกต้อง โรคซึมเศร้าคือโรคที่เกิดจากสารเคมีในสมอง
ความเชื่อที่ 3 ถ้าขยัน คุณจะเอาชนะตัวเศร้าซึมได้
ความเชื่อที่ถูกต้อง การพักผ่อนอย่างเพียงพอคือวิธีเอาชนะตัวเศร้าซึม
ความเชื่อที่ 4 คนที่เป็นโรคซึมเศร้าร้องไห้
ความเชื่อที่ถูกต้อง โรคซึมเศร้าทำให้ผู้ป่วยไร้ความรู้สึก
ความเชื่อที่ 5 การรักษาด้วยยาเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพ
ความเชื่อที่ถูกต้อง การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพมากที่สุดแต่ก็ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่น ๆ ด้วย
ความเชื่อที่ 6 โรคซึมเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของความชรา
ความเชื่อที่ถูกต้อง ผู้สูงอายุมีสิทธิ์เป็นโรคซึมเศร้าได้แต่โรคซึมเศร้าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของความชรา
ความเชื่อที่ 7 ห้ามพูดคุยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
ความเชื่อที่ถูกต้องการพูดคุยเรื่องโรคซึมเศร้าช่วยขับไล่ตัวเศร้าซึม
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๑๑
พวกเราควรปฏิบัติต่อคนที่เลี้ยงตัวเศร้าซึมอย่างไร?
"ห้ามให้กำลังใจ" ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยว่า สู้ ๆ นะหรือ คิดในแง่ดีเข้าไว้
"ห้ามกล่าวโทษ" ห้ามโทษผู้ป่วยว่าทั้งหมดเป็นความผิดของเขาหรือพอเป็นโรคแล้วก็ทำอะไรไม่ดีสักอย่าง
"ห้ามโต้แย้ง" ถ้าผู้ป่วยระบายความรู้สึกหดหู่ออกมาให้เราฟังอย่างเดียวก็พอไม่ต้องไปโต้แย้งว่าสิ่งที่ผู้ป่วยพูดมานั้นผิดทั้งหมด
คำแนะนำข้อในการรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
1 ใส่ใจ
2 รับฟัง
3 ห้ามเมินผู้ป่วย
4 ระบายออกมา
5 ออกไปเที่ยวด้วยกัน
6 ชักชวนให้ไปพบแพทย์
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๑๒
คนที่โดนตัวเศร้าซึมโจมตีควรปฏิบัติตัวกับคนรอบข้างอย่างไร?
1 เป็นฝ่ายเข้าไปขอความช่วยเหลือก่อน
2 ออกกำลังกายและกินอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
3 กินยาให้ตรงเวลา
4 ปรับลดแรงกดดัน
"ความหวังดี" ต้องมาจาก "ความรู้ที่ถูกต้อง" และ "ฝึกฝนตามคำแนะนำ" จึงจะส่งต่อไปยังคนที่ต้องการความช่วยเหลือได้
ซึมเศร้า...เล่าได้ ๑๓
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
ซึมเศร้า...เล่าได้
สำนักพิมพ์ : INSPIRE
เดือนปีที่พิมพ์ : 2/2019
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา