19 ธ.ค. 2020 เวลา 00:36 • สุขภาพ
โรคเสพติดการนอน (Clinomania)!!!
โรคเสพติดการนอน (Clinomania)!!!
สำหรับคนที่ชอบนอนเยอะนอนยาวจนผิดปกติ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ทำงานมาเหนื่อย ๆ ก็อยากนอนพักผ่อนยาว
แต่! เดี๋ยวก่อน...
นิสัยนอนเยอะ ๆ แบบนี้...
ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเข้าข่าย "อาการทางจิตระยะเริ่มต้น" ที่เรียกว่า... "Clinomania" สุ่มเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็น "โรคซึมเศร้า"
โดยทางจิตวิทยาแล้ว โรค Clinomania หรือ Dysania เป็นอาการของคนที่หลงรักการนอนอยู่บนเตียง ชนิดที่ว่า! "ให้นอนอยู่บนเตียงทั้งวันเลยก็ยังได้"
ซึ่งก็อาจนำมาสู่อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง งัวเงีย และยังอาจแสดงได้ถึงความกังวลที่แอบซ่อนอยู่ในใจลึก ๆ รวมทั้งบางเคสอาจมีอาการเครียด หรือความเศร้าร่วมด้วยก็ได้
อาการโรคเสพติดการนอน
1. นอนนานเป็นงานอดิเรก
ถ้าถามว่างานอดิเรกยามว่างคืออะไร?
แล้วตอบได้ทันทีว่า “นอน” ต้องแยกให้ออกว่าเราแค่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน เลยต้องนอนเวลาว่าง หรือไม่มีงานอดิเรกอื่น ๆ นอกจากการนอนจริง ๆ
ลองหากิจกรรมที่สนใจ ไม่ให้ใช้ชีวิตอยู่บนเตียงมากเกินไป
2. เครียดทันทีที่นึกถึงการลุกจากเตียง
คนทั่วไปจะโอดครวญเวลานาฬิกาปลุก ถึงจะกดเลื่อนไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ต้องตื่นอยู่ดี แต่คนที่มีภาวะ Clinomania จะรู้สึกเครียดและกังวลเมื่อนึกถึงช่วงเวลาที่ต้องตื่นนอนในตอนเช้า
3. ใช้ชีวิตบนเตียงได้ทั้งวัน
ทำอะไรก็ได้ขอแค่ได้อยู่บนเตียง ไม่ว่าจะกินข้าว ทำงาน อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ถ้ากิจกรรมไหนต้องลุกออกไปจากเตียงก็จะไม่รู้สึกอยากทำ
เรียกได้ว่า...
อยู่บนเตียงนานแค่ไหนก็ได้ เพราะคนเหล่านี้ไม่เคยรู้สึกว่าฉันอยู่บนเตียงนานเกินไปแล้ว
4. ไร้เป้าหมายในชีวิต
รู้สึกทุกข์มาก ๆ เวลาที่ไม่ได้นอน ไม่อยากลุกไปใช้ชีวิตเลย
5.รอคอยการกลับไปหาเตียง
ติดเตียงแค่ไหนสุดท้ายก็ต้องลุกออกไปทำงานอยู่ดี แต่ระหว่างวันก็จะใช้ชีวิตแบบคิดถึงแต่การกลับบ้านไปหาเตียงนอน
6.มีความสุขที่สุดตอนอยู่บนเตียง
ถ้าเตียงนุ่ม ๆ ผ้าห่มอุ่น ๆ หมอนคู่ใจ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ใครต่อใครไม่อยากลุกจากเตียงก็ไม่แปลก
แต่หากช่วงเวลาที่มีความสุขของแต่ละวันคือ การได้อยู่บนเตียง ไม่ว่าจะมีกิจกรรมหรือสิ่งอื่นน่าสนใจแค่ไหนก็ไม่ทำให้มีความสุขได้เท่าการอยู่บนเตียง บอกเลยว่า "เสี่ยง" เป็น Clinomania
Clinomania มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้ารึเปล่า!!?
คำตอบคือ...
มีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่!!!
เพราะ อาการชอบนอนไม่ทำอะไรทั้งวัน เป็นอาการของคนไร้แรงบันดาลใจในการทำอะไร ซึ่งในทางจิตวิทยาจะนับรวมเป็นอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้าหรือภาวะเครียดหนัก ๆ
แต่! ก็มีอีกกรณีนึงเช่นกัน เพราะผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้มีอาการ Clinomania ก่อนจะเป็นโรคซึมเศร้า
ทว่าโรคซึมเศร้าต่างหากที่ผลักดันให้เกิดอาการ Clinomania หรือความรู้สึกอยากนอนอยู่บนเตียงไปทั้งวันนั่นเอง
แต่! บางทีอาจเป็นเพราะนิสัย หรือพฤติกรรมเคยชิน นานวันไปจึงเริ่มไร้จุดหมายของชีวิต จนเกิดโรคซึมเศร้าก็มีให้เห็นมาแล้ว!!!
Clinomania ไม่ใช่คนขี้เกียจ!
สำหรับคนทั่วไปอาจจะอยากนอนหลับเพิ่มขึ้นอีกชั่วโมง หรือสองชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่าเราขี้เกียจ หรือเบื่อ นั่นเป็นเรื่องปกติ
แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเสพติดการนอน Clinomania ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความเกียจคร้าน หรืออ่อนเพลีย แต่มันเป็น "ความผิดปกติในระดับพื้นฐานทางจิตวิทยา"
ทำยังไงให้หายเสพติดเตียง?
1. เข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา
คนทั่วไปต้องการการนอนหลับ 6-9 ชั่วโมงต่อวัน แต่คนที่มีอาการ Clinomania จะใช้เวลานานกว่านั้น ลองปรับเวลานอนให้สม่ำเสมอมากขี้น เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิม แรก ๆ อาจจะฝืนหน่อยแต่ทำบ่อย ๆ ร่างกายจะคุ้นชิน เมื่อถึงเวลาจะลุกจากเตียงได้ง่ายขึ้น
2. หากิจกรรมที่สนใจ
แม้จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรผ่อนคลายไปกว่าการใช้เวลาบนเตียง แต่ลองลุกออกจากเตียงทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ หรืออาจจะเป็นงานอดิเรกที่เคยทำบนเตียง แต่เปลี่ยนบรรยากาศ
3. กินของหวาน
ข้อดีของการกินของหวานก็คือ ทำให้อารมณ์ดี และ เพิ่มน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ไม่อ่อนเพลีย ทำให้ร่างการกระปรี้กระเปร่า ไม่เฉื่อยชา
ควรกินแต่พอควรและพอดี
4. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพดีแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายหลั่งเอนดอร์ฟิน สารเคมีที่กระตุ้นความรู้สึกแง่บวก
การออกกำลังกายระหว่างวันจะทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากได้นอนหลับสนิท ตื่นเช้ามาก็จะมีแรงกาย แรงใจไปทำกิจกรรมมากขึ้น
5. ปรึกษาแพทย์
อาการเสพติดเตียง หากเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น ภาวะซึมเศร้า Depression และอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Disorder)
ดังนั้น...
หากเริ่มมีสัญญาณที่กล่าวมาข้างต้น "ควรไปพบแพทย์" เพราะอาจ "ไม่ใช่แค่อาการทางกาย แต่เป็นความเหนื่อยล้าทางใจ จะได้หาทางแก้ไขก่อนจะเป็นอะไรร้ายแรง"
#สาระจี๊ดจี๊ด
สิ่งของเหล่านี้! ไม่ควรอยู่บนเตียงนอน โทรศัพท์มือถือ อาหาร สัตว์เลี้ยง แลปท็อป ธนบัตร เพราะเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียเป็นอันตราย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา