22 ธ.ค. 2020 เวลา 14:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมร่างกายถึงทำให้เราอยากกินเมื่อเหงาหรือเบื่อ ? X Ocylens
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน
1.
เคยรู้สึกอยากจะหาอะไรกิน หรือหาอะไรใส่ปากเคี้ยวเวลาเบื่อ เหงา เศร้า หรือเศร้าใช่ไหมครับ ?
5
แล้วอาหารที่มักจะอยากกินเวลารู้สึกแบบนี้มักจะไม่ใช่สลัด แต่จะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยดีกับสุขภาพ
ความอยากกินเพราะอารมณ์แบบนี้ มีชื่อที่นิยมเรียกกันเล่น ๆ ว่า emotional eating หรือกินแก้เซ็ง
4
แล้วเคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมร่างกายเราจึงทำเช่นนี้ ?
อารมณ์เหงา เศร้า เครียด มันเกี่ยวกับ การกินแก้เซ็ง ได้ยังไง
2
เรามาหาคำอธิบายกันครับ
2.
สำหรับหลายคนโดยเฉพาะคนที่อายุน้อยๆ การกินแก้เซ็ง หรือ emotional eating อาจจะไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก
แต่เมื่ออายุมากขึ้น การกินแบบนี้ในหลายคนกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนอกจากจะทำให้อ้วนได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงในโรคไม่ติดต่อหลายๆโรคแล้ว ยังมีผลเสียทางจิตใจในบางคนอีกด้วย เพราะหลายคนจะรู้สึกผิดที่กินเข้าไป ยิ่งรู้สึกผิดก็ยิ่งเครียดมากขึ้น เมื่อเครียดก็ยิ่งจะอยากกิน วนเป็นลูปเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
คำถามที่น่าสนใจคือ สองสิ่งนี้มันเกี่ยวข้องกันยังไง ?
ทำไมเวลาเครียดๆ เหงาๆ เศร้า ๆ แล้วจึงอยากกิน ?
คำตอบทางวิวัฒนาการคือ
ในสภาวะธรรมชาติของสัตว์ต่างๆ ที่เป็นมานับล้านๆปี ความเครียดทางร่างกาย (และจิตใจ) มักจะเกี่ยวข้องกับภาวะอันตรายในธรรมชาติ
ซึ่งสภาวะอันตรายของสัตว์ส่วนใหญ่ในธรรมชาติจะมีอยู่สองเรื่องด้วยกัน นั่นก็คือ ภาวะแล้วขาดอาหาร หรืออันตรายจากสัตว์อื่นวิ่งไล่ล่า
1
ดังนั้นร่างกายของสัตว์เกือบทุกชนิดในโลกจะวิวัฒนาการที่จะผูกสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน นั่นคือ เมื่อร่างกายหรือจิตใจรู้สึกเครียด จะเกิดความรู้สึกอยากกิน และไม่ใช่กินอะไรก็ได้ แต่จะอยากกินอาหารที่ให้พลังงานสูงๆ
จริงอยู่ว่า ในช่วงที่ความเครียดทางกายหรือทางใจสูงมากๆ เราจะไม่รู้สึกอยากกินอะไร เพราะในช่วงที่สัตว์กำลังโดนไล่ล่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการหนีเอาชีวิตรอดไม่ใช่หาของกิน
3
แต่เมื่ออันตรายหรือความเครียดสูงๆผ่านไปแล้ว เหลือแค่ความเครียดระดับต่ำๆ ร่างกายจะอยากให้เรากินเพื่อเป็นการทดแทนพลังงานที่เสียไปตอนเครียดมากๆ และเพื่อตุนพลังงานไว้สำหรับเหตุการณ์ร้ายในวันข้างหน้า
6
กลไกนี้พบได้ในสัตว์ทุกชนิดซึ่งก็รวมไปถึงมนุษย์ถ้ำเมื่อหลายแสนปีที่แล้วด้วย
แต่เมื่อสังคมของมนุษย์เราเปลี่ยนไป เรามาอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนใหญ่ เรามีสังคมที่ซับซ้อน เรามีกฎหมาย เศรษฐกิจ งาน เจ้านาย หุ้น ภาษี ฯลฯ ความเครียดของมนุษย์จึงไม่ได้มีแค่ อดอาหารหรือโดนผู้ล่าไล่ อีกต่อไป
และนั่นก็คือคำอธิบายว่า ทำไมเมื่อเรารู้สึก เครียด จิตตก เหงา เศร้า เราจึงมีแนวโน้มที่จะอยากกินอาหารที่แคลอรี่สูงๆ
ก็เลยนำไปสู่คำถามถัดไปคือ เวลาเราอยากกินอะไรขึ้นมา เราจะแยกได้ยังไงว่า นี่คือหิวจริงๆ หรือว่า กินเพราะเครียด เพราะเอาจริงๆ เวลากินเพราะเครียดหลายครั้งเราจะรู้สึกว่าท้องมันร้องเหมือนกัน
3.
ความอยากกินที่เกิดจากความหิวกับความเครียด มันพอจะมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้แยกกันได้อยู่บ้าง เช่น
ความหิวแบบปกติมันจะค่อยๆหิว แต่อยากกินเพราะอารมณ์ มักจะหิวเร็ว อยากกินขึ้นมาอย่างปุบปับและรุนแรง
ความหิวแบบปกติมักจะรู้สึกอยากกินอะไรหลายๆอย่าง นั่นก็อยากกิน นี่ก็อยากกิน แต่อยากกินเพราะอารมณ์มักจะรู้สึกอยากกินแค่อย่างเดียวข้ึนมามากๆ เช่น อยากกินมาม่า หรือ อยากกินเลย์ เป็นต้น
2
ความรู้สึกหลังกินก็จะต่างกัน ถ้ากินเพราะความหิวส่วนใหญ่หลังกินเราจะไม่ค่อยรู้สึกผิด แต่ถ้าอยากกินเพราะอารมณ์ หลังกินเราจะรู้สึกว่าไม่น่ากินเข้าไปเลย
พอจะเห็นความต่างแล้วนะครับ หรือถ้าใครมีลักษณะต่างอื่นๆที่พบจากประสบการณ์ตัวเองก็แชร์เพิ่มเติมมาในคอมเมนต์ได้นะครับ

คราวนี้พอเราเห็นความต่างแล้ว เรามาดูกันบ้างว่า มีวิธีอะไรที่พอจะช่วยแก้ไข้ภาวะนี้ได้บ้าง ?
4.
อย่างแรกสุด ต้องเข้าใจว่า การกินเพราะอารมณ์ มันไม่สามารถหยุดได้ด้วยความอิ่ม เพราะเวลากินด้วยอารมณ์ มันจะไม่ค่อยรู้สึกอิ่ม และหลายครั้ง ยิ่งกินยิ่งเครียดก็จะอยากกินอีก จนมันเกิดเป็นนิสัยว่าเมื่อเศร้าหรือเครียดจะหาอะไรกิน
1
อย่างที่ 2 คือ เมื่อต้นเหตุมันมาจากอารมณ์ เครียด เหงาหรือเศร้า ดังนั้นการแก้ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ นั่นก็คือ ต้องมีวิธีรับมือหรือจัดการกับอารมณ์ลบต่างๆ
ซึ่งวิธีการจัดการกับอารมณ์ลบก็มีมากมายครับ เป็นทักษะที่แม้ว่าจะไม่ค่อยมีสอนในโรงเรียนแต่เรียนรู้เองได้ไม่ยาก (google ดูก็ได้ครับ) มีหลายวิธีให้เลือกใช้ แต่ละคนอาจจะชอบไม่เหมือนกัน เช่น การออกกำลังกาย การฝึกจิตทำสมาธิ การเขียนบันทึก จด diary เป็นต้น
4
อย่างที่ 3 ก่อนจะกิน อาจจะลองสังเกตอารมณ์ตัวเองแล้วถามว่านี่เรารู้สึกเครียด เบื่อ เหงา หรือกังวลอะไรอยู่หรือเปล่า การเบรกแล้วพิจารณาสักนิดก่อนจะกินอาจจะช่วยให้เราเข้าใจเหตุผลการกินของเราได้ดีขึ้น
อย่างที่ 4 ถ้าจะกินจริงๆ อาจจะลองเปลี่ยนเป็นกินอาหารที่มีประโยชน์หรือแคลอรี่ต่ำอื่นๆทดแทน ตัวเลือกหนึ่งที่ส่วนตัวอยากจะแนะนำให้ลองคือ การกินป๊อปคอร์น
4
แต่ป๊อปคอร์นที่ว่าต้องเป็นแบบทำเอง (ราคาไม่แพง ทำง่าย เพียงแค่ใส่ไมโครเวฟ) ไม่ใส่เกลือหรือเนย หรือใส่น้อยที่สุดนะครับ เพราะนอกจากจะได้เคี้ยวอะไรกรอบๆที่แคลอรี่ต่ำแล้ว ยังได้ใยอาหารอีกด้วย
1
ถ้าติดนิสัยกินจุบจิบเวลาอารมณ์ไม่ดีมาก ก็พยายามให้รอบๆตัวมีของกินที่มีประโยชน์ เช่น เปิดตู้มาเจอแต่ถั่ววอลนัต เม็ดมะม่วงหิมะพานต์ เมล็ดทานตะวัน ก็ยังดีกว่ากินมันฝรั่งทอดกรอบ
อย่างที่ 5 คือ พยายามอย่าไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เกตตอนกำลังเครียด เศร้าหรือเซ็งๆ เพราะของที่เราซื้อกลับมามักจะเป็นของที่ไม่ค่อยดีกับสุขภาพ
อย่างที่ 6 คือ ถ้าอยากกินมากๆจนออกไปซื้อมาจนได้ ก็ให้ซื้อขนาดเล็กสุด อย่าซื้อขนาดใหญ่สุดคุ้ม เพราะจะไปขาดทุนกับสุขภาพ ซึ่งเป็นการขาดทุนที่หนัก เมื่อจะกินถ้าเป็นไปได้ อย่ากินจากถุง ให้เทบางส่วนใส่ภาชนะเล็กๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ต้องคิดเมื่อกินหมดถ้วยว่าจะไปเติมดีไหม บางครั้งเราอาจจะพบว่าเรารู้สึกพอใจแล้วโดยไม่ต้องเติมก็ได้
อย่างที่ 7 คือ เลี่ยงการกินในแบบที่ไม่รู้ตัว เช่น กินไปด้วยดูโทรศัพท์ไปด้วย เพราะการที่สมองเราจะรับรู้ว่าอิ่ม สัญญานไม่ได้มาจากทางเดินอาหารอย่างเดียว แต่มาจากการรับรู้ว่าเรากินไปเยอะแค่ไหนด้วย ถ้าเรากินไปทำอย่างอื่นไป สมองจะไม่รับรู้ว่ากินไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว สมควรจะอิ่มได้หรือยัง ผลคือ เรามีแนวโน้มจะกินเยอะกว่าปกติ
2
ทั้งหมดคร่าวๆ ก็ประมาณนี้นะครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์กับหลายๆคนรวมถึงตัวผมเองด้วย
เพราะเอาจริงๆ ถึงแม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้ รู้วิธีแก้ไข แต่บางครั้งก็ต้องการเตือนตัวเองเป็นระยะบ้างเหมือนกัน
ขอบคุณ Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน ที่ให้การสนับสนุนบทความนี้นะครับ
✅Ocylens คอนแทคเลนส์รายวันใส่สบายเพราะทำจากวัสดุพรีเมี่ยม Etafilcon A
🔥พิเศษสำหรับแฟนเพจหลงไปในประวัติศาสตร์ ซื้อ 1 แถม 1
เพียงใส่โค้ด OCY11 ในช่องหมายเหตุหน้าชำระเงิน 🔥
(1 สิทธิ์/ท่าน​ โค้ดมีจำนวนจำกัดนะครับ)สนใจคลิกที่ลิงก์
โฆษณา