26 ธ.ค. 2020 เวลา 17:18 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ที่เห็นอยู่ในรูปนี้คือกาวผสมอนุภาคแม่เหล็กที่สามารถเซ็ตตัวได้ภายใน 5 นาทีเมื่ออยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก
ซึ่งอีกไม่นานก็น่าจะมาแทนกาวอีพอกซี่ที่ใช้กันอยู่
กาวสีเทาที่กำลังทาอยู่นี้คือกาวอนุภาคแม่เหล็กจิ๋วที่พัฒนาขึ้นมาใหม่
ปัจจุบันกาวที่ใช้กันในอุตสาหกรรมหรือกาวที่เราใช้กันทั่วไปอย่างกาวร้อน การอีพอกซี่ นั้นจะใช้ อากาศ แสง หรือไม่ก็ความร้อนเพื่อทำให้ตัวเนื้อกาวนั้นเซ็ตตัวแข็งและเชื่อมประสานสิ้นงานตามที่ต้องการ
ซึ่งในกรณีใช้ความร้อนเพื่อการเซ็ตตัวของเนื้อกาว อย่างเช่นในกระบวนการผลิตรองเท้ากีฬานั้น ก็ต้องมีการอบชิ้นงานซึ่งก็ต้องใช้เตาอบซึ่งกินพลังงานและพื้นที่
1
การใช้กาวในอุตสาหกรรมการผลิต
แต่กาวชนิดใหม่ที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจาก Nanyang Technological University (NTU Singapore) นี้ไม่ต้องใช้ความร้อน อากาศ หรือแสงเพื่อการเซตตัว แต่ใช้สนามแม่เหล็กแทน
โดยกาวชนิดใหม่นี้ใช้เวลาเซตตัวเร็วเพียง 5 นาที และใช้พลังงานน้อยกว่ากาวชนิดที่ต้องอบความร้อนถึง 120 เท่า
ตัวเนื้อกาวนั้นจะมีสารอนุภาคแม่เหล็กขนาดจิ๋วซึ่งจะร้อนขึ้นและทำให้เนื้อกาวเซตตัวเมื่ออยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก
ซึ่งทำให้กาวชนิดใหม่นี้เหมาะที่จะใช้ในการเชื่อมวัสดุที่อ่อนไหวต่อความร้อนอย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคชนิดยืดหยุ่น หรือวัสดุไบโอพลาสติก
และตัวเนื้อกาวแม่เหล็กนี้ยังมีความแข็งแรงของเนื้อกาวเทียบเคียงได้กับกาวอีพอกซี่ในปัจจุบัน
รับแรงได้ไม่แพ้กาวอีพอกซี่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยระยะเวลาการเซ็ตตัวที่เร็วเกิดความร้อนน้อย ใช้พลังงานต่ำในการกระตุ้นให้เนื้อกาวเซ็ตตัว ทำให้กาวชนิดใหม่นี้จะสามารถช่วยยกระดับการผลิตในอุตสาหกรรมให้เปิดกว้างมากขึ้น
2
อย่างเช่น แทนที่จะต้องทากาวที่ชิ้นงานแล้วนำไปอบในเตาอบและรอให้กาวเซ็ตตัวแต่ด้วยกาวชนิดใหม่นี้เพียงแค่ทากาวแล้วนำชิ้นงานมาประกบรอไว้ และระหว่างที่วิ่งไปบนสายพานผ่านสนามแม่เหล็กกาวก็เซ็ตตัวเรียบร้อยพร้อมทำไปบรรจุลงกล่องหรือไม่ก็นำไปสู่ขั้นต่อการผลิตลำดับต่อไป
รับแรงได้ดี และยังใช้ทาเชื่อมวัสดุได้หลากหลายชนิดมากขึ้น
ก็นับว่าเป็นการพัฒนาที่น่าจะมามีส่วนช่วยให้การผลิตในอนาคตนั้นประหยัดพลังงานและรักษ์โลกมากขึ้นด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา