6 ม.ค. 2021 เวลา 22:30 • สุขภาพ
เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร?
1
เมลาโทนินมีบทบาทต่อร่างกายอย่างไร?
เมลาโทนิน มีประโยชน์อย่างไร?
อาหาเสริม เมลาโทนิน มีผลข้างเคียงอย่างไร?
เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร?
อาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่พบได้ในหลายช่วงอายุ ทั้งวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ
นอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ!
คุณสามารถป้องกันปัญหานอนไม่หลับได้จากการปรับพฤติกรรม เช่น...
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ในช่วงเวลาเย็น หรือใกล้เวลาเข้านอน เป็นต้น
1
หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น...
การรับประทานยา หรือฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาปัญหานอนไม่หลับ อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง
1
โดยฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อให้ร่างกายเข้าสู่การนอนหลับ คือ “เมลาโทนิน”
1
เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร?
เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนที่ควบคุมรอบการนอนหลับ (Cycles of sleep)
2
โดย...
"ความมืด" จะทำให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสัญญาณให้ร่างกายเตรียมตัวนอนหลับ
2
ส่วน!
"แสงสว่าง" จะลดการผลิตเมลาโทนิน และเป็นสัญญาณให้ร่างกายเตรียมตัวตื่นนอน
2
#สาระจี๊ดจี๊ด
ร่างกายมนุษย์ชื่นชอบ และเหมาะสม
กับการ...
เข้านอน โดยอาศัยความมืด
และตื่นนอน โดยอาศัยความสว่าง
1
"ความมืด และแสงสว่าง เป็นความปรารถนาดีจากธรรมชาติแด่ร่างกายมนุษย์"
- Wasabi
1
สำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ...
อาจเพราะมีระดับเมลาโทนินในร่างกายน้อย!
"การเพิ่มปริมาณเมลาโทนิน ด้วยการกินอาหารเสริม จึงอาจช่วยการนอนหลับได้"
เมลาโทนินมีบทบาทต่อร่างกายอย่างไร?
นอกจากการนอนหลับแล้ว เมลาโทนินยังมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายดังต่อไปนี้...
• ป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
• ช่วยควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย และระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล
• มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เมลาโทนิน มีประโยชน์อย่างไร?
- บรรเทาอาการเจ็ทแลค
เจ็ทแลค (Jet Lag) อาการนี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถรับตัวกับการเปลี่ยนของเขตเวลา โดยมักเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ซึ่งจะก่อให้เกดอาการเช่น นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลียระหว่างวัน อาหารไม่ย่อย หรือรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งการใช้เมลาโทนินนั้น มีการศึกษาพบว่าสามารถช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้
- รักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา (Delayed Sleep Phase Syndrome)
1
นอนหลับผิดเวลา เป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับ ที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถนอนหลับได้ก่อนเวลา 2.00 น. และมักมีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า
โดยการใช้อาหารเสริมที่มีฮอร์โมนดังกล่าวร่วมกับการปรับสภาพแวดล้อมในการนอนให้เหมาะสม สามารถรักษาความผิดปกติดังกล่าว และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- รักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
โรคนอนไม่หลับเป็นความผิดปกติในการนอนหลับที่พบได้บ่อย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ แต่มีการศึกษาว่า การใช้เมลาโทนินในการรักษาปัญหาอาการนอนหลับสามารถช่วยให้นอนหลับได้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพในการนอนหลับ และระยะเวลาในการนอนหลับที่ดีมากขึ้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาในการนอนหลับเนื่องมาจากวัยที่สูงขึ้น การใช้เมลาโทนินก็สามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีมากขึ้นเช่นกัน
1
อาหารเสริม เมลาโทนิน มีผลข้างเคียงอย่างไร?
- อาจส่งผลต่อฮอร์โมนเมลาโทนินในร่างกาย
- ปวดหัว
- คลื่นไส้
- อาจทำให้ง่วงนอนตอนกลางวัน
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้หญิงตั้งครรภ์ เด็ก และคนมีโรคประจำตัว เช่น โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรทอ ภาวะเลือดออกผิดปกติ ไม่ควรใช้อาหารเสริมเมลาโทนิน
#สาระจี๊ดจี๊ด
อาหารเสริมเมลาโทนินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาลดภูมิคุ้มกัน ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา