8 ม.ค. 2021 เวลา 23:14 • สุขภาพ
🎈มีเชื้อโควิด ในน้ำนมแม่ไหม?🎈
😍ส่งกำลังใจให้ทีมแพทย์ และพยาบาล โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ สมุทรสาคร 😍
ที่ร่วมแรงร่วมใจกันดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด จากสามีที่ทำงานที่ตลาดทะเลไทย จนคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัยค่ะ
ภาพจาก Facebook ของ nopparat sutarapanakit
ภาพจาก FB ของ nopparat sutarapanakit
จากเรื่องราวที่แชร์กันในโซเชียลมีเดีย Facebook ของ nopparat sutarapanakit ว่า กว่าจะผ่านช่วงเวลาเตรียมพร้อมก่อนคลอด 2 สัปดาห์ รอให้ครรรภ์ใกล้ครบกำหนดมากที่สุด ทุกฝ่ายทุกคนเครียด คอยลุ้นว่าจะคลอดเมื่อไรในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าพอดี โชคดีที่แม่ไม่มีปอดอักเสบ
หาข้อสรุปว่าจะวางแนวทางรักษาทั้งแม่และลูก รวมทั้งแนวทางป้องกันเจ้าหน้าที่ทุกคนให้เสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไร
สรุปว่าให้ผ่าคลอด ตอนครรภ์ครบกำหนด37 สัปดาห์ เพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจ็บท้องคลอดกันใน ward Covid ซึ่งสถานที่ไม่อำนวยในการคลอดและเสี่ยงสำหรับเจ้าหน้าที่มากมายนับไม่ถ้วน
 
ทั้งทีมต้องไม่ให้มีข้อผิดพลาด เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจ และอยากให้ทั้งคุณแม่คุณลูกปลอดภัย
ควรให้แม่ที่เป็น COVID 19 ให้ลูกกินนมแม่หรือไม่?
การให้นมแม่เป็นผลดีต่อทั้งแม่และลูก ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID 19 มีความเป็นห่วงกันว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จะผ่านทางน้ำนมแม่ สู่ลูกที่เพิ่งคลอดหรือไม่ ?
มาดูหลักฐานว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร ที่การติดเชื้อ COVID 19 จะผ่านจากแม่สู่ลูกแรกเกิด
จากข้อมูลที่มีค่อนข้างจำกัด การศึกษาส่วนใหญ่ นำตัวอย่างน้ำนมแม่ที่เป็น COVID 19 มาตรวจไวรัส ผลเป็นลบ
ในการรายงานผู้ป่วยรายที่พบไวรัสในน้ำนมแม่ และทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอย COVID 19 ยังคงไม่ชัดเจนว่า โรคติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ หรือ จากการที่สัมผัสโดยตรงขณะคลอด
อีกสมมุติฐานหนึ่ง คือมีภูมิต้านทานไวรัสผ่านทางน้ำนมแม่ที่ผล COVID19 เป็นบวก และส่งผ่านภูมิต้านทานไปให้ลูก แต่ข้อมูลยังมีจำนวนน้อย
สรุป
จากหลักฐานที่มีจำนวนจำกัดในปัจจุบัน และ จากประโยชน์ของน้ำนมแม่ที่มีอย่างชัดเจน อาจจะสรุปได้ว่า
ถ้าสุขภาพของและลูกแรกเกิดอำนวย บุคลากรทางการแพทย์ควรเกื้อหนุน การให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าโดยตรง หรือ การนำน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมา นำมาให้ลูกดื่ม หลังจากได้มีการพูดคุยอย่างละเอียดกับแม่และครอบครัว ถึงความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก แม่ที่เป็น COVID19 1 ต้องมีความระมัดระวัง ป้องกันไม่ให้ละอองน้ำมูกน้ำลายของแม่ติดต่อไปยังลูกในขณะที่ลูกดูดนมแม่
Harshil Bhatt ได้เขียนสรุป ไว้ใน Should COVID-19 Mother Breastfeed her Newborn Child? A Literature Review on the Safety of Breastfeeding for Pregnant Women with COVID-19 ใน Curr Nutr Rep. 2021 Jan 4: 1-5
ดังนี้
Detection of SARS-CoV-2 in breast milk
สิ่งที่กลัวกันมากที่สุดในระยะแรกเกิด ช่วงที่มีการระบาดของ COVID 19 คือ กลัวว่าไวรัสนี้จะติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ได้หรือไม่ ยังไม่มีหลักฐานที่มากเพียงพอเกี่ยวกับการส่งผ่านไวรัส SARS-CoV-2 ทางน้ำนมแม่
ความรู้ส่วนใหญ่มาจากข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาเล็กๆ และ case report ( ตารางที่ 1 )
จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาแบบcohort ใหญ่ๆ หรือ case controlled study เพื่อประเมินการส่งผ่านโรค COVID19 ทางน้ำนมแม่
จากรายงานเรื่อง Breastfeeding and COVID 19 ที่ตีพิมพ์โดย WHO เมื่อ 23 June 2020 ซึ่งมี living systematic reviewโดย Centeno-Tablante et al แสดงให้เห็นว่า จากแม่ที่เป็น COVID 19 positive 46 คน ได้นำตัวอย่างน้ำนมแม่มาตรวจหา SARS-CoV-2 พบว่าเป็นผลลบใน 43 ตัวอย่าง มีเพียง 3 ตัวอย่างที่ให้ผลบวก
จาก 3 ตัวอย่างที่เป็นผลบวก มีทารก 1 รายที่ตรวจไวรัสนี้เป็นผลบวก ซึ่งทางข้าวของเชื้อยังไม่สามารถบอกได้ว่า เข้าทางน้ำนมแม่ หรือ จากการสัมผัสใกล้ชิด
จาก Systematic review อีกรายงานหนึ่งโดย Elshafeey et al ตัวอย่างน้ำนมแม่ทั้ง 26 ตัวอย่าง ตรวจCOVID เป็นผลลบ
Systemic review โดย Martins-Filho PR et al พบว่า หญิง 24 ราย ที่มี PCR test สำหรับ SARS-CoV-2 เป็นผลบวก เมื่อนำน้ำนมแม่ไปตรวจหาไวรัส พบว่าผลเป็นลบ
นอกจากเป็นการศึกษาจำนวนคนไม่มากแล้ว ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ เช่น ในการศึกษาที่พบไวรัสในน้ำนมแม่ ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเก็บน้ำนมอย่างไร มีการศึกษา 2-3 การศึกษาที่ตรวจไวรัสติดต่อกันหลายวัน เช่น
 
-Grob R et al รายงานว่าน้ำนมแม่คนหนึ่งเป็นผลบวกติดต่อกัน 4 วัน ก่อนที่จะเป็นผลลบ
-Chambers et al รายงานว่า 1 ในตัวอย่างนมแม่64 ตัวอย่าง ผลตรวจเป็นบวก แต่ ผลตรวจเป็นลบ ใน 2 วันก่อนหน้านั้น และ 12 กับ 41 วันหลังจากนั้น
-Tam et al รายงานพบไวรัสในน้ำนมแม่ของหญิงคนหนึ่ง ในวันที่ 1 และ 10 และไม่พบใน 5 ตัวอย่างระหว่างวันดังกล่าว
การศึกษาอื่นๆไม่ได้ตรวจตัวอย่างน้ำนมหลายวันติดต่อกัน นั่นหหมายความว่า ถึงแม้ว่ามีไวรสออกมากับน้ำนมแม่ เราก็ไม่รู้ว่าไวรัสนั้นอยู่ในน้ำนมแม่เป็นเวลานานกี่วัน
นอกจากนี้ แม่ที่มีผลตรวจ COVID 19 เป็นบวก และมีลูกแรกเกิดที่ผลตรวจเป็นบวกด้วย เราก็ยังไม่ทราบว่าที่จริงแล้ว ทางผ่านเข้าของเชื้อสู่ลูกผ่านทางไหน : น้ำนมแม่ การติดจากละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายจากการสัมผัสใกล้ชิด ผ่านทางรก หรือผ่านสู่ทารกขณะคลอดออกมาทางช่องคลอด ดังนั้น ต้องมีการศึกษาต่อไปว่ามีการติดเชื้อผ่านทางน้ำนมแม่หรือไม่
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในน้ำนมแม่มี Antibodies ที่ช่วยปกป้องทารกจากการอักเสบติดเชื้อ ในกรณีของ COVID 19 ยังไม่ทราบแน่นอนว่ามีภูมิต้านทาน antibodies ผ่านสู่น้ำนมหรือไม่
มีรายงาน 2-3 ฉบับ ชี้ว่ามี Immunoglobulin G และ A ในน้ำนมแม่ ซึ่งอาจจจะมีภูมิคุ้มกันทารกแรเกิดจาก COID 19 ก็ได้
มีรายงานหนึ่ง เปิดเผยว่า พบ secretory Ig Aในน้ำนมแม่ 12 ใน 15 ตัวอย่าง จากแม่ที่เป็น COVID 19 positive ยังต้องมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไป ว่า จะมีผลป้องกันทารกจาก COVID 19 หรือไม่
คำแนะนำ สำหรับ แม่ที่เป็น COVID 19 และจะให้นมลูก
ในช่วงต้นๆของการระบาด ยังไม่มีการตกลงว่าจะแนะนำอย่างไร
ปัจจุบันนี้ WHO ให้คำแนะนำบนหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า แม่ที่เป็น COVID 19 หรือสงสัยว่าจะเป็น ควรให้นมแม่ต่อไป เพราะ ผลประโยชน์จากน้ำนมแม่ที่มีต่อแม่และลูก มีเหนือกว่า ความเสี่ยงของการส่งผ่านเชื้อ COVID 19 สู่ลูกแรกเกิด
แม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่จำเป็น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และแพร่เชื้อสู่ทารกแรกเกิด เพราะเชื้อยังติดต่อผ่านละอองน้ำมูกน้ำลายของแม่ได้
สำหรับแม่ที่ต้องแยกจากลูก เนื่องจากภาวะของแม่ หรือ แม่ที่อึดอัดที่จะทำตามมาตรการป้องกัน หรือไม่อยากให้ลูกดูดนมแม่จากเต้า แนะนำให้แม่บีบ หรือปั๊มน้ำนมแม่มาให้ลูก
แม่และครอบครัวควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการแพร่ของเชื้อ การป้องกันตนเองและลูก เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่อย่างปลอดภัยค่ะ
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
Should COVID-19 Mother Breastfeed her Newborn Child? A Literature Review on the Safety of Breastfeeding for Pregnant Women with COVID-19
Article information
Curr Nutr Rep. 2021 Jan 4 : 1–5.
doi: 10.1007/s13668-020-00343-z [Epub ahead of print]
PMCID: PMC7780073
PMID: 33394459
Harshil Bhatt
1,2
1Goshen Hospital, Goshen, IN USA
2Indiana University School of Medicine, South Bend, IN USA
Harshil Bhatt, Email: ‮moc.liamy@ttahblihsrah‬.
Corresponding author.
Accepted 2020 Dec 20.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา