12 ม.ค. 2021 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา การระบาดโควิด 19 รอบใหม่ กับฝันร้ายซ้ำซ้อน ของธุรกิจร้านอาหาร
การระบาดโควิด 19 รอบใหม่ที่เกิดขึ้น กับการระบาดรอบแรก เมื่อปีที่แล้ว
รอบไหนที่สร้างบาดแผลให้กับธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้า ได้มากกว่ากัน ?
เมื่อการระบาดรอบแรกปีที่แล้ว ร้านอาหารต้องปิดให้บริการนาน 2 เดือน
ทางออก ณ เวลานั้นคือ การขายแบบ Delivery
จากนั้นเมื่อศูนย์การค้ากลับมาเปิด ร้านอาหารก็ต้องจัดโต๊ะแบบเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง
และในเวลาไม่นาน ก็กลับคืนสู่การบริการแบบปกติ
2
แต่.. การระบาดใหม่ครั้งนี้ ไร้ซึ่งการล็อกดาวน์ปิดร้าน แต่เป็นการกำหนดเวลาให้ขายแบบนั่งทานที่ร้านได้ถึง 21.00 น. และต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น กำหนดจำนวนคนเข้าร้าน, เว้นระยะห่าง
ส่วนเวลาที่เหลือ ให้ขายแบบสั่งกลับบ้านเท่านั้น (Take Away)
1
ฟังดูร้านอาหารต่างๆ ก็น่าจะมีออกซิเจนหายใจ ไปได้ต่อในธุรกิจ
มองดูผิวเผินก็อาจจะเป็นเช่นนั้น..
หากมองให้ลึกก็จะรู้ว่า ร้านอาหารในศูนย์การค้า จนถึงร้านอื่นๆ
กำลังเผชิญกับสารพัดปัญหาที่อาจจะรุนแรงกว่าการระบาดของโควิด 19 รอบแรกเสียอีก
ณ วันนี้ นอกจากเราจะเห็นข่าวผ่านสื่อต่างๆ ถึงการปิดกิจการร้านอาหารหลายแห่งแล้วนั้น
เรายังเห็นภาพของร้านอาหารในศูนย์การค้า ที่ช่างเงียบเหงาเหลือเกิน..
1
ร้านอาหารกำลังเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง ในการระบาดรอบนี้
หลายคนอาจคิดว่าเมื่อคนไม่อยากออกมาทานอาหารนอกบ้าน
วิธี “แก้เกม” คือหันมาขายในช่องทาง Delivery ซึ่งเกือบทุกร้านก็ทำเหมือนกันหมด
แต่.. ก็ใช่ว่า ทุกร้านจะได้รับความนิยมในช่องทางนี้
เมื่อปฏิเสธไม่ได้ว่า มีอาหารอยู่หลายประเภทที่ต้องการ “ฟีลลิง” ในการทานที่ร้าน
ชาบู สายพาน เราก็อยากทานที่ร้าน เพราะเราเห็นอาหารให้เลือกมากมาย
ปิ้งย่าง, สุกี้ เราก็อยากทานกับเพื่อนหรือกับครอบครัว
ร้านอาหารทะเล, ภัคตาคาร, ก็มักจะเป็นมื้อพิเศษแห่งการสังสรรค์กับเพื่อน หรือ ครอบครัว
2
ที่สำคัญ มีเมนูอยู่หลายจาน ที่เรารู้สึกว่าการทานที่ร้าน มีรสชาติอร่อยกว่าสั่งทานที่บ้าน
1
แม้การระบาดของโควิด 19 ครั้งนี้
ร้านอาหารจะสามารถเปิดให้คนใช้บริการได้ปกติ แต่ก็มีข้อบังคับจำกัดคนเข้าร้าน และ เว้นระยะห่าง ถือเป็นการจำกัดรายได้ในแต่ละวัน ไปโดยอัตโนมัติ
แต่ที่มันดูเลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ แม้ร้านอาหารในศูนย์การค้า จะมีมาตรการคุ้มเข้มแล้ว
ก็มีลูกค้าจำนวนมาก ที่ยังคงระแวงการทานอาหารในร้าน
ว่าตัวเองจะปลอดภัยจากโควิด 19 มากน้อยแค่ไหน
2
ที่สำคัญการระบาดของโควิด 19 ในรอบนี้
หลายคนระมัดระวังการใช้จ่ายเงินของตัวเองมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด
1
นั่นแปลว่า การจะทานอาหารที่ร้านอาหารในศูนย์การค้า ซึ่งแต่ละมื้อมีราคาค่อนข้างสูงกว่าทานร้านข้างทางแถวบ้าน ก็น่าจะมีอัตราความถี่น้อยลงตามด้วย
เมื่อ รายได้น้อยลง อย่างน่าใจหาย ขณะที่ต้นทุนหลายอย่างเกือบเท่าเดิม
ทั้ง ค่าเช่าพื้นที่, ค่าจ้างพนักงาน, ค่าวัตถุดิบ, ค่าน้ำค่าไฟ และค่าอื่นๆ อีกสารพัด
เมื่อนำมาหักลบแล้ว รายได้จึงไม่สามารถหล่อเลี้ยงต้นทุนที่มีอยู่ได้
1
สุดท้ายแล้ว ร้านที่เผชิญกับปัญหานี้ ก็ต้องคิดต่อว่า จะเปิดร้านต่อไป แบบขาดทุนไปเรื่อยๆ
เพื่อรอให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลาย หรือ จะปิดกิจการชั่วคราว โดยลดพนักงาน และลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วขายแบบ Delivery เพียงอย่างเดียว
ก็ขึ้นอยู่กับว่าร้านอาหารแต่ละแห่ง จะเลือกทางไหน
เพราะวันนี้สิ่งที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ การระบาดครั้งนี้ ที่กินเวลามานาน 1 เดือนแล้ว
สถานการณ์จะกลับคืนสู่ปกติ เมื่อไร ซึ่งคาดว่าคงไม่ใช่เร็วๆ นี้ อย่างแน่นอน
3
สิ่งที่ทำได้ตอนนี้ คือ เจ้าของพื้นที่อย่างศูนย์การค้า อาจต้องลดค่าเช่าที่
ซัปพลายเออร์ อาจต้องยอมกำไรน้อยลง และขายวัตถุดิบให้ร้านอาหาร ในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม
เพื่อช่วยพยุงให้ร้านอาหารต่างๆ มีลมหายใจอยู่ต่อไป ถึงวันที่การระบาดโควิด 19 สิ้นสุดลง
2
เพราะสิ่งที่น่ากลัววันนี้ คงไม่ใช่คำสั่งภาครัฐ ว่าจะล็อกดาวน์ปิดร้านอาหาร
แต่.. มันคือ การที่ผู้บริโภคหลายคนเลือกจะ “ล็อกดาวน์” ตัวเองต่างหาก
ด้วยความกลัวการระบาดโควิด 19 จนไม่กล้าเข้าร้านอาหาร
จนถึง การระมัดระวังการใช้จ่ายเงินในกระเป๋าตัวเอง..
1
โฆษณา