24 ม.ค. 2021 เวลา 10:38 • ความคิดเห็น
🙏ขอขอบคุณ 20,000 follower
ถอด 10 บทเรียนงานเขียนตลอดระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณผู้ติดตามและเพื่อนนักเขียน รวมทั้งแอดมินเพจผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่ให้กำลังใจผมมาโดยตลอดระยะเวลาเกือบสองปี
ตั้งแต่ผู้ติดตามครบ 10,000 คนเป็นต้นมาผมก็ไม่เคยเขียนโพสต์ขอบคุณอีกเลย เพราะตั้งใจว่าจะเขียนเมื่อมีผู้ติดตามครบ 20,000 ทีเดียว
1
สิ่งที่ตั้งใจไว้ตอนแรกสำหรับโพสต์ขอบคุณในครั้งนี้ก็คือจะแนะนำตัวแบบละเอียดอีกครั้ง แต่มาคิด ๆ ดูแล้ว มันดูจะไม่มีประโยชน์อะไรกับคนอ่าน
เลยเปลี่ยนเป็น อยากจะขออนุญาตแบ่งปันประสบการณ์ที่ผมขอเรียกว่า บทเรียนงานเขียน ที่ได้เรียนรู้ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่ลงทะเบียนเข้ามาในแพลตฟอร์มจนถึงวันนี้ จะดีกว่า..
..
ทั้งหมดที่ท่านกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผมได้มาจากการทดสอบ ทดลอง ปรับแก้ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ในการทำเพจBlockพูดได้byข้าวน้อยฯ
และนี่คือ 10 บทเรียนที่ได้เรียนรู้มา...
1). เขียนดีแทบตาย ตกม้าตายเพราะตั้งชื่อ
1
บทเรียนแรก การมีเนื้อหาที่ดี แต่หน้าตาไม่ดีคือจบ
มีหลายครั้งที่ผมผิดพลาดในการตั้งชื่อบทความ หรือเลือกภาพขึ้นปกโพสต์ทั้งที่ผมคิดว่าเนื้อหาน่าสนใจมาก แต่เราดันตั้งชื่อเรื่องไม่ดีพอ ใช้ภาพที่เข้าใจยาก
บางครั้งตั้งชื่อสลับซับซ้อน เน้นคำคล้องจอง สละสลวย จนลืมไปว่า คนอ่านเขาจะเข้าใจด้วยไหมเนี่ย
3
การตั้งชื่อที่โดดเด่น ไม่จำเป็นต้องใช้คำแปลก ๆ หรือประโยคคำถามชวนสงสัยเสมอไป
บางครั้งหากเนื้อหาคือการต้องการบอกเล่าอะไรตรง ๆ เราก็ตั้งชื่อมันตรง ๆ ไปเลยก็ได้ ป้องกันคนอ่านสับสน
1
2). อย่ารบด้วยดาบที่คุณไม่มี
1
บทเรียนที่สอง การรบด้วยดาบที่ไม่มี
การรบด้วยดาบที่เราไม่มีก็คือ การเขียนในเรื่องที่เราไม่ถนัด ไม่มีความรู้
หรืออาจจะไม่ได้ชื่นชอบด้วยซ้ำ แต่เราเลือกที่จะเขียนเพราะคิดว่าคนอ่านจะชอบ เพื่อหวังเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม
หรือยอดกดไลก์ กดแชร์
2
การทำแบบนี้ นอกจากจะเสียตัวตนความเป็นเราแล้ว รับรองว่าเราไม่สามารถเค้นสิ่งที่ดีที่สุดออกมาได้จากงานเขียน เพราะนั่นมันไม่ใช่เรา
2
3). สั้น ยาว ไม่สำคัญ สำคัญที่มันใช่หรือเปล่า
2
บทเรียนที่สาม ความยาวของเนื้อหา
ผมเคยทดลองเขียนทั้งแบบยาว 30 บล๊อค ๆ ละ 8 -10 บรรทัด และเขียนสั้น ๆ เกิน 200 คำไปนิดเดียว
ผลคือ ไม่มีอะไรเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า แบบไหนคนจะชอบอ่านมากกว่ากัน
บางเรื่องต้องเกริ่นนำ ปูพื้นถึงที่มาที่ไป ก่อนจะชงเข้าเรื่องแล้วปิดสรุป แบบนี้บางทีมันก็ต้องเขียนยาว
ส่วนบางบทความที่เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว แบบนี้ไม่จำเป็นต้องยืดยาด จะบอกอะไรก็ว่าไปเลย
1
4). เขียนดี โพสต์ตอนไหนก็ดี
2
บทเรียนที่สี่ เวลาดีที่ควรโพสต์
ก่อนนี้ ผมเคยมีความคิดว่าเราควรโพสต์ช่วงเวลาที่มีคนอ่านเยอะ ๆ เช่นช่วงเที่ยง ช่วงค่ำๆ แต่หลังจากทดลองโพสต์มาทุกช่วงเวลาแล้ว พบว่า..
ไม่ว่าจะโพสต์ช่วงเวลาไหน ถ้างานคุณดี รับรองว่ามีคนอ่าน ต่อให้โพสต์ตี 2 ก็มีคนอ่าน เพราะจำนวนผู้ใช้งานมีจำนวนมาก โพสต์ตอนไหนก็ไม่มีผล
1
ทางที่ดี การโพสต์ในเวลาประจำที่เคยทำ จะสร้างความสะดวกในการติดตามของคนอ่านขาประจำของเพจ มากกว่า
5). อยากเก่ง เรียนรู้จากคนเก่ง
2
บทเรียนที่ห้า อย่าอายที่จะเรียนรู้จากคนเก่ง
ตอนผมเริ่มเขียนใหม่ ๆ ผมก็เขียนไปตามใจฉัน อยากวรรคแบบไหน อยากเคาะกี่บล๊อค อยากใส่รูป ใส่แคปชั่นอะไรก็ใส่ไป ไม่มีรูปแบบชัดเจน
1
จนผมเริ่มอ่านงานของเพจที่เขาเขียนเก่ง ๆ มากขึ้น มากขึ้น ผมเริ่มสังเกตุเห็นเทคนิค วิธีการและรูปแบบการนำเสนอที่เยี่ยมยุทธ์มากมาย
ทำให้ผมเริ่มปรับปรุงรูปแบบงานเขียนของตัวเองทีละนิด โดยเน้นการประยุกต์ให้เข้ากับสไตล์การเขียนของตัวเอง
1
อย่าอายที่จะบอกว่าตัวเองโง่ เพราะไม่มีใครฉลาดทุกเรื่อง ยกเว้นคนโง่
4
6). คนเราไม่มีทางที่ลายเซ็นต์จะเหมือนกัน
1
บทเรียนที่หก ลายเซ็นต์ใคร ลายเซ็นต์มัน
งานเขียนจะเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นคุณออกมา
ไม่ว่าคุณจะพยายามเหมือนใคร บอกเลยว่า คุณไม่มีวันเหมือนเขาได้
เพราะฉะนั้น อย่าพยายามเหมือนใคร
ให้เอาแค่เรียนรู้เอาแต่สิ่งดี ๆ มาพอ
1
เราต้องหาลายเซ็นต์ในงานเขียนของเราให้เจอ แล้วเราจะพบว่าลายเซ็นต์แบบนี้มีเราคนเดียว
1
7). อย่าหลงแสงสี
1
บทเรียนที่เจ็ด อย่าติดกระแสจนเกินไป
บางครั้งในช่วงที่กระแสข่าวมาแรง
จนทำให้พื้นที่หน้าหลักถูกกระแสข่าวกลบจนมิด อาจทำให้ใครหลายคนคิดว่าถ้าไม่แอบอิงกระแส คงต้องแย่แน่เลย
1
ผมได้เรียนรู้จากเรื่องนี้ว่า กระแสมาไว ไปไว ถ้าเราไม่ใช่คนที่ควรรายงาน เราก็ไม่ควรทำตัวเป็นผู้รายงาน เพราะไม่มีใครเขาฟังเราหรอก
8). อย่าตีกิน ด้วยการดูถูกคนอ่าน
5
บทเรียนที่แปด อย่าคิดว่าคนอ่านโง่
บางครั้งที่งานเขียนได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง จนเราหลงอัตตาตัวเอง
เริ่มไม่ละเอียดในคุณภาพงาน
ภาษาบ้าน ๆ เรียกว่า"ชุ่ย"
1
การรีบปั่นโพสต์ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง มันเหมือนการตีกิน เอาเปรียบคนอ่าน
สุดท้ายคนอ่านเขาจะดูออกว่า งานเขียนนี้ประณีตพอรึยัง หรือเป็นหมาเอามาย้อมเป็นแมวขาย
9). เก่งจริงต้องน้อมรับคำชี้แนะจากทุกคนได้
1
บทเรียนที่เก้า ก้มให้ต่ำ คำนับทุกคำชี้แนะ
3
สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราพัฒนางานเขียนได้ดีอย่างหนึ่งคือ คำติ ไม่ใช่
คำชม
1
การเขียนคำผิด การให้ข้อมูลที่ผิด
การอ้างถึงที่ผิด หรือข้อเห็นแย้งทุกอย่าง เราควรน้อมรับเอามาพิจารณา
ไม่ว่าจะมาจากเพื่อนนักเขียนหรือนักอ่าน ไม่ว่าเขาจะเด็กกว่าหรือแก่กว่า
1
10). ชื่อเรื่องเด่น ประเด็นดี วิธีโดน
ยังคงใช้ได้เสมอ
2
บทเรียนที่สิบ อย่าลืมหลักการ
หลักการเขียนเบื้องต้นที่ท่องจำกันมาเสมอ ๆ คือ
การตั้งชื่อเรื่องให้โดดเด่น
การจับประเด็นที่ยอดเยี่ยม
และการมีวิธีการนำเสนอที่โดนใจ
3
ไม่ว่าจะเขียนแนวไหน 3 หลักใหญ่นี้ยังคงนำไปปรับใช้ได้เสมอ
..
ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นบทเรียนโดยส่วนตัว ที่ผมได้เรียนรู้ผ่านการทำเพจมาเกือบสองปี
อาจมีถูก มีผิด ตรงหรือไม่ตรง ท่านสามารถนำไปพิจารณาดูอีกทีได้นะครับ
มาถึงตรงนี้ ผมไม่ถือว่าตัวเองประสบความสำเร็จอะไรนะครับ
ผมเป็นแค่เพจระดับกลาง ๆ เท่านั้น
ตัวเลขที่ได้มาทั้งจำนวนดาวและผู้ติดตาม
มันแปลความหมายได้เพียงแค่ว่า
เราคือเพจที่มีผู้อ่านเยอะ
ไม่ได้มีอะไรเป็นคำตอบได้ว่างานของเราดีกว่าใคร
1
ผมยังคิดเสมอว่าเราต้องพัฒนาต่อไปและต่อไป...
สำหรับเป้าหมายในปีนี้ของผมคือ
1. เพิ่มจำนวนผู้ติดตามให้ถึง 30 K
2. มีโพสต์ที่ติด Hall of fame
3. ทำซีรี่ย์ดี ๆ สักชุด
4. เขียนให้มีความสุขที่สุด
4
หลายคนที่เพิ่งรู้จักกัน อาจจะสงสัยเพจ Blockพูดได้ฯ เขียนเรื่องอะไร?
เพราะชื่อมันสื่อไม่ค่อยชัด...
1
เอาเป็นว่า หากคุณเข้ามาในเพจนี้คุณจะได้อ่านสองเรื่อง
หนึ่ง ☝️ ทุกเรื่องที่ผมอยากรู้
 
สอง ✌️ ทุกเรื่องที่ผมอยากบอก
1
ผมเขียนแค่สองเรื่องนี้แค่นั้น..😌
หากท่านใดเห็นว่า ประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมพอจะมีประโยชน์ สามารถทักเข้ามาสอบถามผ่านทางInboxได้เลยนะครับ ผมยินดีตอบทุกท่าน
1
สุดท้าย ผมอยากจะขอบคุณเพื่อนนักเขียนและนักอ่านทุกท่านที่สนับสนุนผมมาโดยตลอด อีกครั้ง
ขอให้ปีนี้เป็นปีที่ดี ของทุกท่านอีกปี
นะครับ
ขอบคุณอย่างสูง...
🙏...พี่ข้าว🌾
แอดมินเพจ Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา