19 ม.ค. 2021 เวลา 16:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หลายคนชอบมาถามผมว่า M-RENEW กับ T-ES-GGREEN แตกต่างกันอย่างไร วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังกันครับ
1
ก่อนอื่นต้องมาพูดถึงว่า
"ทำไมพลังงานทางเลือกในอดีตถึงมีคนให้ความสนใจน้อย"
2
เหตุผลหลักๆ คือ เรื่องของต้นทุน
1
ต้นทุนที่สูง ทั้งในด้านของ Infrastructure และด้านต้นทุนต่อหน่วยพลังงาน
ถ้าเป็นเมื่อก่อนหากบ้านใครอยากจะติด Solar Cells อาจจะต้องจ่ายหลายแสน
เพื่อให้ผลตอบแทนเป็นไฟฟ้าเพียงไม่กี่กิโลวัตต์ ทำให้ต้นทุนต่อ 1 หน่วยพลังงานสูงเอามากๆ
ถ้าต้องให้ใช้พลังงานทางเลือก คนทั่วไปคงจะเลือกใช้กับสถานที่ที่โครงสร้างพื้นฐานเข้าไม่ถึง อย่างเช่น บนดอยที่ห่างไกล เพราะต้นทุนจะถูกกว่าการวางโครงสร้างพื้นฐานเข้ามา
2
แต่ในปัจจุบัน แรงผลักดันที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ต้นทุนของพลังงานทางเลือกถูกลงมาก คือ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านจากเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานสมัยก่อน มาสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่
จากภาพจุดที่เราอยู่คือ สีส้ม การจะก้าวมาสู่จุดที่ 3 ที่จะเกิด Economy of Scale ได้ คงอีกไม่นานนี้ และเมื่อถึงจุดที่ 4 และ 5 ต้นทุนพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานทางเลือกจะถูกลงมาก และประชาชนอย่างเราๆ จะได้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น (คิดถึงเราเป็นเจ้าของโรงงานไฟฟ้าขนาดย่อม)
1
จากกราฟการ Forecast ต้นทุนพลังงานแต่ละชนิด เราจะเห็นว่าปัจจุบันเราสามารถทำให้ต้นทุนพลังงานทางเลือก มีราคาที่ถูกกว่าพลังงานสันดาป เช่น แก๊ส, ถ่านหิน หรือแม้กระทั่งพลังงานนิวเคลียร์ ไปเรียบร้อยแล้ว
หากลองมาดูต่อว่า ปัจจุบันนี้เราใช้พลังงานทางเลือกกันอยู่เท่าไร
จากกราฟจะเห็นว่า ตอนนี้เราใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ในการผลิตไฟฟ้าอยู่เพียง 9% ซึ่งคาดว่าจะเติบโตได้ถึง 48% ในปี 2050
หรือประมาณ 4 เท่าของปัจจุบัน หากหารเป็นตัวเลขง่ายๆ ธุรกิจเหล่านี้จะมีอัตราการเติบโตอยู่ประมาณ 14%
นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้ว อีกแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่กำลังอยู่ในกระแส และช่วยผลักดันให้พลังงานทางเลือกก้าวกระโดด คือ EV (Electronic Vehicle)
การเติบโตของ EV เริ่มกินส่วนแบ่งของรถยนต์ที่ใช้พลังงานสันดาป ทีละนิด
และที่สำคัญคือมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อยๆ
จากตัวเลข Forecast ลิงค์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในปี 2040 อัตราการเติบโตของรถ EV จะพุ่งขึ้นสูงถึง 58% เพิ่มจากปีที่แล้วที่เติบโตเพียง 2.7%
ทำให้ประเทศชั้นนำต่างๆ กำลังมองไปข้างหน้าว่า เรามีความพร้อมเชิงโครงสร้างที่จะรองรับกับ EV แล้วหรือยัง
นอกจากนั้น EV ยังนำพาเอาอุตสาหกรรมอื่นๆ เติบโตตามไปด้วย ไม่ว่าจะเช่น อุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์, Semiconductor, สถานีจ่ายไฟฟ้า ฯลฯ
====================================
เกริ่นมาซะยาว ขอเข้าเรื่องเลย
กองทุน M-RENEW (ตอนนี้มีแบบชนิด A และ D) ของ บลจ. MFEC
และกองทุน T-ES-GGREEN ของ บลจ. ธนชาติ
เปิดให้ซื้อ-ขายกองทุนได้แล้ว
โดยทั้งสองกองทุน ได้เลือกลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก
เป็นอีกไม่กี่กองทุนที่เน้นการลงทุนแบบ Thematic
====================================
กองทุน M-RENEW เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund
ลงทุนในกองแม่ชื่อ BGF Sustainable Energy Fund ซึ่งมีนโยบายในการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก เช่น renewable energy technology; renewable energy developers; alternative fuels; energy efficiency; enabling energy and infrastructure และจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับพลังงานสันดาปเลย
ผลงานของกองนี้เมื่อเปรียบเทียบกับกองอื่นๆ ในกลุ่ม MSCI ESG
สามารถสร้างผลงานอยู่ในระดับ Percentile ที่ 85.45%
1
โดยกองทุนลงทุนใน Sector และสัดส่วนดังต่อไปนี้
Clean Power 23.56%
ส่วนนี้จะลงทุนในบริษัทผลิตชิ้นส่วนโซลาเซลล์, กังหันลม และโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก
Automotive & Sustainable Mobility 22.24%
กองทุนจะเลือกลงทุนกับบริษัทรถโดยสารไฟฟ้า, บริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้กับ EV, บริษัทที่ผลิต Semiconductor ที่ใช้ในชิปของรถ EV เป็นต้น
Building & Consumer 19.73%
ภาคครัวเรือนเป็นส่วนสำคัญในปัญหาโลกร้อน จึงมีบริษัทที่ขายอุปกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทางเลือก และใช้พลังงานหมุนเวียน ในส่วนนี้กองทุนนี้ก็ลงทุนด้วย
ตัวอย่างบริษัทที่ลงทุน
NextEra energy - โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบโดย Market Capitalization ผลิตไฟฟ้าให้กับอเมริกาและแคนาดา
Enel - บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทางเลือก สัญชาติอิตาลี
1
SCHNEIDER ELECTRIC SE - บริษัททางฝั่งยุโรป ที่จัดหาเทคโนโลยีในด้านพลังงานทางเลือก ให้กับที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรม
1
Samsung SDI - บริษัทสัญชาติเกาหลีผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รายใหญ่ของโลก
Vestas - บริษัทสัญชาติเดนมาร์ค ผู้ผลิต จำหน่าย และติดตั้งกังหันลมให้กับประเทศต่างๆ กว่า 16 ประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา (ปี 2013 กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
1
จากนโยบายการลงทุนของกองทุน M-RENEW จะเห็นว่ามีการกระจายการลงทุนไปยัง Sector อื่นๆ รวมถึงไปยังประเทศต่างๆ อีกด้วย
1
Past Performance ของกองทุน
5 ปี = 22.32%
3 ปี = 21.11%
1 ปี = 50.15%
6 เดือน = 30.58%
=====================================
กองทุน T-ES-GGREEN เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund
ลงทุนในกองแม่ชื่อ Brookfield Global Renewables and Sustainable Infrastructure UCITS Fund ซึ่งมีนโยบายในการลงทุนด้านพลังงานสะอาด โดยเน้นหนักในกลุ่ม Utilities มากกว่า 70%
(Utilities หมายถึง บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงาน เช่น ไฟฟ้า, แก๊ส, น้ำ ฯลฯ)
เนื่องจากกองแม่เพิ่งเริ่ม Lunch เมื่อปลายปีที่แล้ว จึงทำให้เห็นผลงานเพียงแค่ระยะ 3 เดือนเท่านั้น
แต่กองทุนก็ได้พิสูจน์ด้วยผลตอบแทนกว่า 26.80% ในระยะเวลเพียง 3 เดือน
กองทุนลงทุนใน Sector และสัดส่วนดังต่อไปนี้
Utilities = 77.04%
Industrial = 9.99%
Technology = 6.91%
โดย 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ลงทุนใน อเมริกาและยุโรป
2
ตัวอย่างบริษัทที่ลงทุน
Renováveis - บริษัทของชาวเอสปันญอล เจ้าของโรงงานกระแสไฟฟ้าพลังงานลมอันดับ 4 ของโลก และยังมี Solar Farm, Wind Farm และพลังงานทางเลือกอื่นๆ
Ørsted A/S - บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในเดนมาร์ก
1
NextEra energy - บริษัทเดียวกันกับที่กองทุน M-RENEW ลงทุน
Neoen - บริษัทฝรั่งเศส ผู้ควบคุมดูแล Solar farm และ Wind farm ให้กับบริษัทพลังงานสะอาดกว่า 14 ประเทศทั่วโลก
2
======================================
ทั้งสองกองทุนมี Theme การลงทุนเหมือนกันคือ Renewable and Clean Energy
เพียงแต่ความแตกต่างของทั้งสองกองทุน คือ น้ำหนักที่ให้ในประเภทของธุรกิจ
โดย T-ES-GGREEN จะเลือกลงทุนใน Utilities ค่อนข้างมาก
ในขณะเดียวกัน M-RENEW จะลงทุนกระจายไปในอุตสาหกรรมที่หลากหลายกว่า
9
หากมองในระยะเริ่มต้นของพลังงานทางเลือก ก่อนที่จะไปสู่เทคโนโลยีในอนาคต
สิ่งสำคัญในตอนนี้ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ Infrastructure และโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า สถานีจำหน่ายไฟ เสียก่อน
เพราะหากไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็จะเกิดคำถามว่า แล้วเทคโนโลยีแห่งอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น EV จะไปต่อได้อย่างไร
2
การมี Utilities ติดพอร์ตเอาไว้ในตอนนี้ ก็เป็นทางเลือกที่ดี
สะท้อนจากผลตอบแทนในช่วงนี้ ซึ่ง T-ES-GGREEN สามารถทำได้ดีกว่า
แต่หากมองในอย่าง Conservative แนวโน้มการกระจายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
=======================================
นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหุ้นในปัจจุบัน คือ นโยบายของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐ ที่มีต่อพลังงานสะอาด
โดยหลักๆ คือ
1. การนำอเมริกากลับเข้าไปอยู่ใน Paris agreement ว่าด้วยเรื่องการลดสภาวะเรือนกระจก
2. ไบเดน จะให้อเมริกา ออกนโยบายลงทุนใน Clean Energy สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยรายละเอียดการลงทุนอยู่ใน https://joebiden.com/clean-energy/
3. นอกจากนั้นจะให้ครัวเรือนและอุตสาหกรรมต่างๆลด Carbon Footprint ลง
4. จะบีบให้โรงงานไฟฟ้าที่สร้างมลภาวะมีส่วนในการรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น
ถึงอย่างไรก็ตาม หากเลือกลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่ง หรือทั้งสองกองทุน
ควรติดตามนโยบายของโจ ไบเดน อย่างใกล้ชิด
เพราะตอนนี้นโยบายทางด้าน Clean Energy ยังไม่มีความชัดเจน
โฆษณา